นายกฯถกเอกชน 16 ราย ดัน6เดือนดึงทุนลงอีอีซี

นายกฯถกเอกชน 16 ราย   ดัน6เดือนดึงทุนลงอีอีซี

วันนี้ (1ต.ค.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหมที่มีกำหนดการประชุมร่วมกับภาคเอกชนจาก16บริษัทที่มีส่วนในการผลักดันการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(EEC) พร้อมเยี่ยมชมท่าเรือแหลมฉบัง

สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน เปิดเผยว่าในฐานะรองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลการทำงานของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ)และกำกับดูแลการทำงานของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.)จะเดินทางร่วมคณะด้วย 

ดยการประชุมร่วมกับภาคเอกชนในครั้งนี้ถือเป็นโอกาสดีที่นายกรัฐมนตรีจะได้รับฟังความคืบหน้าของโครงการรวมทั้งรับฟังจากเอกชนที่มีการลงทุนในพื้นที่ว่าจะนำเสนอนโยบายอย่างไรในการผลักดันให้โครงการEECเดินไปข้างหน้าได้เพื่อให้ทุกอย่างเป็นไปตามเป้าหมาย ซึ่งการพัฒนาEECในปัจจุบันโครงการที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานต่างๆมีการเดินหน้าไปตามขั้นตอน โดยรัฐบาลมีการเร่งรัดตามกระบวนการผ่านคณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามความก้าวหน้าโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานที่สําคัญ ที่มีไพรินทร์ ชูโชติถาวร เป็นประธานมีการติดตามการลงทุนโครงการต่างๆอย่างต่อเนื่องรวมทั้งโครงการในEECด้วย 

สำหรับการผลักดันโครงการอีอีซีในระยะต่อไปต้องการเห็นความชัดเจนของการลงทุนของนักลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายและนักลงทุนในกลุ่มที่ต้องการผลักดันให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทยได้จริงเพราะปัจจุบันก็มีนโยบายและมาตรการในการส่งเสริมการลงทุนอยู่แล้วโดยต้องเร่งไปยังบีโอไอและกลุ่มเอกชนที่เป็นนักลงทุนกลุ่มนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่เชิญชวนนักลงทุนเข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้นดยอยากเห็นความชัดเจนเรื่องนี้ภายในระยะเวลา 6 เดือน 

“โครงการที่เป็นโครงการขนาดใหญ่ในEEC ตอนนี้ต้องสมมติ(assume)ว่าเกิดขึ้นจริงทั้งหมดแล้ว สิ่งที่อยากเห็นก็คือนักลงทุนทั้งคนไทยและต่างชาติเข้ามาลงทุนในพื้นที่จริงๆจึงจะหารือกับบีโอไอและเอกชนอย่าง WHA หรืออมตะว่าภายใน 6 เดือนต้องมีเอกชนเข้ามาลงทุนเท่าไหร่”

ส่วนภาครัฐโดยศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) และภาคสาธารณสุขก็ต้องมาดูว่าเรื่องแนวปฏิบัติกรณีที่นักลงทุนต่างชาติจะเข้ามาดูพื้นที่การลงทุนในไทยในช่วงโควิดยังระบาดนี้จะมีแนวทางอย่างไรก็ต้องไปคิดในเรื่องนี้และกำหนดให้ชัดเจน

160147871721

อนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กำหนดการเดินทางไปตรวจเยี่ยมโครงการอีอีซีของนายกรัฐมนตรีในวันนี้่คณะประกอบด้วยอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข,สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ,พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย,นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม,นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และนายดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี

โดยการจะเดินทางไปตรวจราชการจังหวัดชลบุรีเพื่อติดตามความก้าวหน้าการเชื่อมโยงท่าเรือแหลมฉบังกับนานาชาติ พร้อมสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนอีอีซีในยุคนิวนอร์มอลและในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีจะเป็นประธานในพิธีรับขบวนรถไฟฟ้าโมโนเรล ขบวนแรก โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) ซึ่งเป็นโครงการภายใต้นโยบาย PPP Fast Track ของรัฐบาลที่มุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมระบบรางของไทย

ส่วนกำหนดการนายกรัฐมนตรีปฏิบัติภารกิจดังนี้ ช่วงเช้า นายกรัฐมนตรีและคณะจะเดินทางไปยังท่าเรือแหลมฉบัง จ.ชลบุรี เพื่อเป็นประธานการประชุมแนวทางการเชื่อมโยงท่าเรือแหลมฉบังกับนานาชาติ ณ สำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง โดยรับฟังรายงานสรุปโครงการท่าเรือบก (Dry Port) ท่าเรือแหลมฉบัง และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภายใต้เชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน พร้อมทั้งเป็นประธานการประชุมกับนักลงทุนไทยและต่างประเทศ ประกอบด้วยบริษัทชั้นนำ เช่น ปตท. จำกัด,บริษัท Mitsubishi Motor (Thailand) QMB Co., Ltd เป็นต้น เพื่อส่งเสริมการลงทุนใน EEC ในยุคนิวนอร์มอล 

“แนวทางการเชื่อมโยงท่าเรือแหลมฉบังกับนานาชาติ ซึ่งประกอบไปด้วยหลายโครงการ เช่นโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 การเชื่อมโยงอ่าวไทยและทะเลอันดามัน รวมทั้ง โครงการท่าเรือบก (Dry Port) โดยท่าเรือแหลมฉบัง ถือเป็นความก้าวหน้าในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสู่การขนส่งสินค้าด้วยระบบราง มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาคในกลุ่มประเทศ CLMV ”

จรีพร จารุกรสกุล ประธานคณะกรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)กล่าวว่าจะนำเสนอมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพิ่มเติมในบางด้าน เพื่อดึงดูดการลงทุนได้เร็วขึ้น เนื่องจากประเทศไทยพึ่งพารายได้จากการส่งออกและการลงทุนเป็นหลัก ในขณะที่การส่งออกประสบปัญหาจากโควิด-19 แต่หากเปิดให้นักลงทุนเข้ามาได้ ก็จะช่วยเศรษฐกิจไทยได้อีกมาก โดยเฉพาะในพื้นที่EECจะเป็นแรงดึงดูดการลงทุนสำคัญของประเทศ

รวมทั้งจะเสนอนายกรัฐมนตรีให้จัดหาช่องทางเพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างกลุ่มผู้ประกอบการนิคมอุตสาหกรรมกับรัฐบาล และได้ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด เนื่องจากกลุ่มนิคมอุตสาหกรรมยังไม่มีช่องทางความร่วมมือกับภาครัฐเหมือนกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) หรือหน่งยงานอื่น ๆมี

อัญชลี ชวนิชย์ นายกสมาคมนิคมอุตสาหกรรมไทยและพันธมิตร และอดีตผู้ว่าการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวว่า สิ่งเร่งด่วนที่จะเสนอรัฐบาลจะเป็นเรื่องการเปิดช่องทางให้นักลงทุนเหล่านี้เข้ามาเจรจาธุรกิจ การเซ็นต์สัญญาซื้อขายที่ดิน การทำนิติกรรมกับหน่วยงานราชการ การจดจัดตั้งบริษัท ซึ่งหากรัฐบาลกำหนดเงื่อนไข และ

ขั้นตอนการดำเนินการที่รัดกุมเอกชนก็พร้อมทำตามอย่างเข้มงวด

“นักลงทุนเหล่านี้จะเป็นผู้บริหารสูงสุดของบริษัทต่าง ๆ ที่ต้องลงมาดูพื้นที่ และเจรจาธุรกิจด้วยตัวเองใช้เวลามาไทยไม่เกิน 1-2 วัน การจะให้ผู้บริหารกลุ่มนี้ต้องผ่านขั้นตอนกักตัว 14 วัน ซึ่งการไปกลับระหว่างประเทศ ก็จะเสียเวลาเกือบ 1 เดือน ซึ่งผู้บริหารเหล่านี้ไม่สามารถเสียเวลาขนาดนั้นได้ จึงทำให้การลงทุนหยุดชะงัก”

นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ และช่างเทคนิคชาวต่างชาติ ที่ไม่สามารถเข้ามาติดตั้งเครื่องจักร หรือเซ็ตอัพโรงงาน ทำให้การลงทุนติดขัดไม่สามารถดำเนินงานได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ รวมทั้งยังมีโรงงานบางส่วนเกิดปัญหาเครื่องจักรเสีย ก็จำเป็นต้องนำเข้าช่วงเทคนิคผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้เข้ามาซ่อมบำรุงอย่างเร่งด่วนหากล่าช้าก็จะเกิดความเสี่ยหายต่อการดำเนินธุรกิจ ดังนั้นรัฐบาลควรจะมีมาตรการพิเศษ เพื่อให้ชาวต่างชาติกลุ่มนี้เข้ามาในประเทศไทยได้อย่างสะดวกและรวดเร็วด้วย