KBANK - ถือ

KBANK - ถือ

ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ

เรากลับมาดูแลหุ้น KBANK ด้วยคำแนะนำ ถือ โดยให้ราคาเป้าหมายปี 2021 ที่ 103 บาท เราชอบกลยุทธ์ด้าน digital banking ของ KBANK ซึ่งน่าจะทำให้สินเชื่อของธนาคารโตได้ดีกว่าคู่แข่ง แต่อย่างไรก็ตาม หนี้เสียที่เพิ่มขึ้นยังคงเป็นประเด็นกังวลหลักของ KBANK หลังจากที่มาตรการพักชำระหนี้สิ้นสุดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสินเชื่อส่วนใหญ่ของธนาคารเป็นสินเชื่อ SMEs ทั้งนี้ จากความเสี่ยงที่หนี้เสียจะเร่งตัวขึ้น และ ROE ที่ลดลง เราจึงเชื่อว่าหุ้น KBANK น่าจะมี discount และแนะนำให้นักลงทุนรอดูสถานการณ์ไปก่อน

 

สินเชื่อเติบโตอย่างแข็งแกร่งจากมาตรการผ่อนผันทางการเงิน

เราคาดว่าสินเชื่อของ KBANK จะโตถึง 9% ในปีนี้ จากมาตรการผ่อนผันทางการเงินสำหรับ SMEs นอกจากนี้ เรายังคาดว่าสินเชื่อของ KBANK จะโตได้ดีกว่าคู่แข่งในปีต่อ ๆ ไป จากกลยุทธ์ digital transformation แต่อย่างไรก็ตาม NIM ยังคงมีแนวโน้มอ่อนแอหลังจากที่ ธปท. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงถึง 75bps ในปีนี้มาอยู่ระดับต่ำเป็นประวัติการณ์ที่ 0.50% ขณะที่ KBANK ปรับลด MRR ลงมาแล้ว 53bps และ MLR 90bps แต่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ลงมาแค่ 25bp เท่านั้น

 

ประเด็นสำคัญอยู่ที่การดูแลจัดการการเพิ่มขึ้นของหนี้เสียให้เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป

ความกังวลหลักของ KBANK หนีไม่พ้นเรื่องของหนี้เสียที่จะเร่งตัวขึ้นใน 2H63 หลังจากที่มีลูกหนี้ประมาณ 40% ของพอร์ตสินเชื่อยื่นขอเข้าร่วมโครงการผ่อนผันหนี้ ซึ่งมาตรการพักชำระหนี้จะสิ้นสุดระหว่างเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2020 เราจึงมองเห็นความเสี่ยงที่สัดส่วน NPL ของ KBANK จะเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพอร์ตสินเชื่อของธนาคารเน้นที่สินเชื่อ SME เป๊นหลักความเสี่ยงจึงสูงกว่า ทั้งนี้เราคาดว่าสัดส่วน NPL ของธนาคารจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเป็น 4.5% ในสิ้นปีนี้ แต่หากสัดส่วน NPL พุ่งขึ้นเกิน 6.1% ก่อนสิ้นปีนี้ก็อาจจะทำให้ KBANK ต้องตั้งสำรองสูงกว่าที่คาดไว้มาก และหากสัดส่วน NPL พุ่งเกิน 13.1% ในปีนี้ก็อาจมีความเสี่ยงที่จะทำให้ธนาคารต้องเพิ่มทุน

 

ยังมีความเสี่ยงอีกหลายประเด็นแม้ว่าราคาหุ้นจะมี upside อีก

เนื่องจากเราคาดว่า ROE จะลดลงอย่างต่อเนื่องเหลือแค่ 4% ในปี 2020 และทรงตัวอยู่ในระดีบต่ำที่ 5% ในปี 2021-22 เราจึงคิดว่าราคาหุ้น KBANK สมควรจะมี discount โดยคิดเป็น P/BV ที่ 0.5x ในปี 2021 เราจึงประเมินราคาเป้าหมายไว้ที่ 103 บาท ถึงแม้ว่าราคาหุ้นในปัจจุบันจะยังมี upside ในระดับที่น่าสนใจ แต่เราก็มองว่ายังมีความเสี่ยงอีกหลายประเด็น และความไม่แน่นอนเรื่อง NPLs ใน 2H20 ก็ยังสูง ดังนั้น เราจึงแนะนำให้นักลงทุนรอดูแนวโน้มหนี้เสียในช่วง 4Q20-1Q21 ไปก่อน ดังนั้น เราจึงกลับมาดูแลหุ้น KBANK อีกครั้งด้วยคำแนะนำ ถือ ด้านผลประกอบการใน 3Q20 เราประเมินที่ 3.7 พัน