'เทนเซ็นต์’ ถอดบทเรียนโควิด ‘ดิจิทัล’ เปลี่ยนโฉม 'การศึกษา'

'เทนเซ็นต์’ ถอดบทเรียนโควิด ‘ดิจิทัล’ เปลี่ยนโฉม 'การศึกษา'

การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้เผยให้เห็นถึงบทบาทที่สำคัญของเทคโนโลยี ที่ได้ทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หนึ่งในนั้นคือ “ภาคการศึกษา”

เรียนรู้แบบ ‘ไฮบริด’

ฐิติพงศ์ พิสิฐวุฒินันท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สกิลเลน สะท้อนความคิดในแนวเดียวกันว่า การแพร่ระบาดของโรคได้เน้นให้คิดถึงความจำเป็นในการปฏิรูปภาคการศึกษา เห็นโปรแกรมการเรียนรู้แบบออนไลน์ที่รวมเอาโซลูชั่นเทคโนโลยีที่สามารถปรับแต่งได้ตามความเหมาะสม เพื่อให้ได้การศึกษาที่มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพสูง เพื่อรองรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต

“การศึกษาที่ผสานรูปแบบการเรียนรู้ด้วยโซลูชั่นไอซีที ทำให้การเรียนการสอนถูกย้ายฐานไปยังแพลตฟอร์มออนไลน์ ประสานช่องว่างของการเรียนรู้ในช่วงของการแพร่ระบาดของโรค นอกเหนือไปจากความมั่นใจได้ถึงความต่อเนื่องของบทเรียนแล้ว โซลูชั่นเหล่านี้ยังช่วยอำนวยความสะดวกให้คุณครูและนักเรียนในการโต้ตอบแบบเรียลไทม์ ในขณะเดียวกันที่ช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้ สำรวจ และมีความสร้างสรรค์ในระยะยาว”

จิงเว่ย ซัน ผู้จัดการอาวุโสเทนเซ็นต์ กล่าวว่า ไอซีทีจะสร้างโอกาสอย่างมากมาย และเปิดโอกาสให้กับการเรียนรู้ใหม่ๆ ทั้งภายในและภายนอกของระบบการศึกษา รวมถึงการฝึกอบรมอย่างเป็นทางการ

ทั้งนี้ ไม่ใช่เพียงแค่เทคโนโลยีในการทดแทนการศึกษาแบบออฟไลน์เท่านั้น แต่เมื่อระบบระบบโรงเรียนเปิดทำการ เทคโนโลยีจะเข้ามาช่วยสร้างสมดุลให้กับหน่วยงานกำกับดูแล และสถาบันการศึกษา ระหว่างความจำเป็นในการจัดการเกี่ยวกับสุขภาพและความปลอดภัย ทั้งช่วยให้นักเรียนสามารถเจาะลึกเข้าถึงสภาพการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพได้มากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ดี เงื่อนไขอาจแตกต่างกันไปในระหว่างระบบของโรงเรียน เนื่องจากการปรับใช้โซลูชั่นควรได้รับการออกแบบให้เหมาะสมกับความต้องการที่แตกต่างกันไปสำหรับกลุ่มนักเรียนและรูปแบบของการสอน

เปิดทางเข้าถึง-ไร้พรมแดน

ฮัสซัน อาเดล เชซซาด ผู้เชี่ยวชาญโครงการ UNESCO-ICHEI เสริมว่า สถาบันการศึกษาต่างๆ ควรเริ่มระบุถึงความจำเป็นและขีดความสามารถที่จะเริ่มต้นแผนการศึกษาได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีความพร้อมของการศึกษาที่ดีกว่าหลังการแพร่ระบาดของโรค และเตรียมพร้อมสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉินในอนาคต

เขาตั้งข้อสังเกตว่า การแพร่ระบาดของโรคนั้น ไม่เพียงแต่จะเร่งการพัฒนาการเรียนการสอนทางออนไลน์เท่านั้น แต่ยังแสดงให้โลกเห็นถึงความเป็นไปได้ที่หลากหลายของวิธีการใช้งานจากเทคโนโลยี เพื่อให้เข้าถึงผู้เรียนในวงกว้าง ครอบคลุมพรมแดนสากล สถานะทางเศรษฐกิจและกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ

ส่วนคุณครูเองก็ยังตระหนักรู้ถึงพลังของเครื่องมือไอซีที ในการตรวจสอบและประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน และผสานรวมเครื่องมือต่างๆ เข้ากับการออกแบบกิจกรรมของการเรียนรู้  การศึกษาออนไลน์จะยังไม่ไปไหน และจะค่อย ๆ กลายเป็นส่วนหนึ่งของบรรทัดฐานการเรียนรู้ในที่สุด