‘บุรีรัมย์’ โมเดล ต้นแบบ ‘กัญชา’ เพื่อการแพทย์

‘บุรีรัมย์’ โมเดล ต้นแบบ ‘กัญชา’ เพื่อการแพทย์

อีกไม่นาน การใช้ “กัญชา” รักษาโรค จะไม่ต้องหลบๆ ซ่อนๆ อีกแล้ว เพราะพืชเสพติดชนิดนี้กำลังถูกพัฒนาเป็นพืชเศรษฐกิจแบบครบวงจร โดยมีโมเดลต้นแบบแห่งแรกและแห่งเดียวจากเมือง “บุรีรัมย์”

การเดินทางของตำราแพทย์สองขนานตลอดหลายปีที่ผ่านมา การต่อสู้ที่สำเร็จไปอีกขั้นของสมุนไพรไทยอย่าง ‘กัญชา’ พืชที่มักถูกมองเป็นสิ่งเสพติด ทว่านี่คือสมุนไพรรักษาโรคที่จะมาพลิกโฉมวงการแพทย์ไทย และก้าวไปสู่พืชเศรษฐกิจในไม่ช้า

ในงานครบรอบ 1 ปี ‘ก้าวกระโดด บุรีรัมย์โมเดล กัญชาทางการแพทย์และสมุนไพรเพื่อเศรษฐกิจ’ ที่จัดขึ้นเพื่อเป็นต้นแบบความสำเร็จในการเคลื่อนไหว กัญชาที่จะถูกใช้อย่างถูกกฎหมายในการแพทย์ทั้งแผนปัจจุบันและแผนไทย โดยมีโรงพยาบาลคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โรงพยาบาล 1 ใน 3 ของประเทศที่ได้รับอนุญาตในการผลิตยากัญชา เพื่อการแพทย์เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนครั้งนี้

  • ‘กัญชา’ทางเลือกรักษาโรค

ล่าสุดกระทรวงสาธารณสุขปลดล็อกกัญชาจากยาเสพติดให้โทษประเภท 5 กลุ่มแคนนาบิไดออล(CBD) บริสุทธิ์, ผลิตภัณฑ์ที่มี CBD เป็นส่วนประกอบหลัก และสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล(THC) ซึ่งออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทในสัดส่วนที่น้อยกว่าร้อยละ 0.2 เช่นเดียวกับหลายประเทศ เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการผลิตยาหรือสมุนไพร ซึ่ง CBD ไม่ทำให้เกิดอาการมึนเมา แต่ทำให้ฤทธิ์ของ THC ลดน้อยลง

จริงๆ แล้วผมไม่ชอบ CBD เลย เพราะมันใช้ยาก คนไข้ผมส่วนใหญ่อายุ 65 ไปถึง 103 ปี และไม่ได้เป็นโรคเดียว มีทั้งเบาหวาน ความดัน หัวใจ ใช้ยาเพียบ ฉะนั้นเมื่อใช้ CBD แบบมีชาติตระกูลขององค์การเภสัชที่ไม่ได้ผล ก็ส่งผลข้างเคียง เนื่องจากเข้าไปเพิ่มฤทธิ์ของยาแผนปัจจุบันและตัวมันเองก็ทำให้มีการอักเสบด้วยศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พูดถึงสารสำคัญในกัญชาที่ใช้ในการสกัดเป็นยารักษาโรค

160121945525

ใบกัญชาแห้ง

ขณะที่ ‘กัญชา’ จากภูมิปัญญาชาวบ้าน อย่างตำรับอาจารย์เดชา ที่พิสูจน์จากจำนวนคน 18,000 คนในโรงพยาบาลชุมชนที่ใช้น้ำมันกัญชา กลับมีคุณภาพชีวิตที่ดี ต่างประเทศให้การยอมรับว่าน้ำมันกัญชาดังกล่าวใช้แล้วเพิ่มคุณภาพชีวิตได้ ซึ่งในจำนวนนั้นราว 2,000 คน เป็นโรคมะเร็ง และกินข้าวได้ นอนหลับ อารมณ์ดี หายปวด และใช้ชีวิตได้ปกติ ข้อมูลนี้ได้จากการกรอกแบบฟอร์มก่อนใช้หลังใช้จากระบบ SAS

สาเหตุที่กัญชาในการแพทย์แผนปัจจุบันของไทยยังกระโดดไม่ขึ้น ขณะที่การแพทย์แผนไทยก้าวนำหน้าไปแล้ว หมอธีระวัฒน์ให้เหตุผลว่า เพราะการสื่อสารที่ผิดพลาด การสอนและการอบรมของหน่วยงานต่างๆ คนสอนที่ไม่รู้จักกัญชาดี ไม่เคยใช้ หรือไม่เคยลงไปดูคนที่ได้ประโยชน์จากกัญชาจริงๆ ซึ่งในโลกออนไลน์ข้อมูลเหล่านี้ไปไวมาก ดังนั้นเราต้องเริ่มการสอนใหม่ โดยสื่อสารออกไปว่ากัญชาและกัญชงคือยา ถ้าใช้ผิดจะมีอันตรายอย่างไร แต่ถ้าใช้ถูกก็มีประโยชน์และประหยัดค่ารักษา

160121945839

การสกัดน้ำมันกัญชา

160122078299

กัญชาถูกบดเป็นผงเพื่อทำยาแคปซูล

อีกหนึ่งข้อจำกัดคือการปลูก สกัด ครอบครอง จำหน่าย จะขนขวดน้ำมันกัญชาแต่ละครั้งต้องมีรถตำรวจนำ คลินิกกัญชาจะต้องมีตู้เซฟ จะต้องมี CCTV รอบด้าน การปลูกลงทุนไปกับการสร้างระบบคุ้มกันที่แน่นหนา หนำซ้ำเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม องค์การอาหารและยา(อย.) ออกประกาศให้แพทย์แผนปัจจุบันที่ผ่านการอบรมการใช้กัญชาในการแพทย์ได้ แต่เป็นตัวที่ขึ้นทะเบียนกับ อย.เท่านั้น

ซึ่งกัญชาไฮโซที่ อย.ขึ้นทะเบียนนั้นไม่ได้ผล ขณะที่กัญชาชุมชนใช้ได้ผล แต่แพทย์แผนปัจจุบันไม่สามารถให้ใช้ได้ ดังนั้น เมตตาโอสถ THC enriched, การรุณโอสถ CBD enriched preparation และน้ำมันกัญชาอาจารย์เดชา คือการก้าวกระโดดของกรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกหมอธีระวัฒน์ พูดถึงข้อจำกัดของกัญชาที่ทำให้การพัฒนาล่าช้า

ทั้งนี้หมอธีระวัฒน์แนะนำว่า สิ่งที่ต้องปรับเปลี่ยนคือ อย.ต้องมีความรู้เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะของชุมชนหรือ community grade ซึ่งกัญชาชุมชนสามารถอัพเกรดเป็นกัญชาไฮโซได้ไม่ยาก เพื่อให้คนได้เข้าถึงการใช้กัญชารักษาโรคอย่างทั่วถึง

ปัจจุบันมีสถาบันกัญชาทางการแพทย์เป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อปี 2562 เป็นหน่วยงานให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่ประชาชน เพื่อป้องกันผู้ฉวยโอกาสหาผลประโยชน์จากกัญชา และเป็นแกนกลางในการเชื่อมประชาชนกับกัญชาชุมชน พร้อมกับหน่วยงานต่างๆ และการวิจัยที่แท้จริงต้องเลือกคนที่ได้ประโยชน์สูงสุด คนไข้กลุ่มที่ใช้น้ำมันกัญชาแล้วดีขึ้นจะเป็นตัวแปรสำคัญที่เหมาะกับการนำมาวิจัยต่อ เพื่อหาว่าสิ่งที่เขาใช้นั้นประกอบไปด้วยอะไรบ้าง อะไรที่ผลิตขึ้นมาและทำให้ตัวเชื้อมะเร็งนั้นค่อยๆ หดลง

160121945246

ผงกัญชากำลังถูกบรรจุใส่แคปซูล

  • 'น้ำมันกัญชา'จากภูมิปัญญาชาวบ้าน

เดชา ศิริภัทร ผู้อำนวยการมูลนิธิข้าวขวัญ เล่าว่า สิ่งที่ทำให้สนใจกัญชามาจากความกลัว กลัวว่าตัวเองจะเป็นมะเร็ง เพราะคนในครอบครัวเป็นมะเร็งทุกคน แม้จะผ่านการทำคีโม แต่พวกเขาไม่รอด และก่อนที่วันนั้นจะมาถึง จึงหาทางสกัดกั้นหรือชะลอความเจ็บปวดจากภัยร้ายที่จะยึดครองร่างกาย ‘กัญชา’ จึงเป็นทางออกสำหรับเดชา และอาจเป็นหนึ่งทางเลือกที่มีโอกาสรอดและใช้เงินน้อยกว่าการรักษาด้วยการแพทย์แผนปัจจุบัน

"ที่ผมได้เป็นหมอจากการโดนแจ้งจับ เพราะตอนนั้นแจกน้ำมันกัญชา ทั้งๆ ที่ไม่ได้เป็นหมอ ก็เลยเข้าข่ายผิดกฎหมาย สุดท้ายประนอมให้ผมเป็นหมอแผนไทยเดชา พูดถึงการถูกจับกุมเมื่อปีที่ผ่านมา จนเกิดกระแส #SaveDecha

เดชา เริ่มค้นคว้าจนมาพบกับกัญชา ซึ่งจากคนธรรมดาที่ใช้จริง อย่าง ‘ริค ซิมสัน’ ชาวแคนาดาที่เป็นมะเร็งผิวหนัง จนทางโรงพยาบาลปฏิเสธการรักษา เขาแอบสกัดน้ำมันกัญชา RSO(Rick Simson Oil) กินแบบไม่รู้หลักการใดๆ แต่สุดท้ายรอด จนตั้งมูลนิธิช่วยคนได้เป็นพันคน

เขาใช้สารสกัด 2 ตัว คือ แนฟทา กับแอลกอฮอล์ ซึ่งแนฟทาดีกว่า แต่ในแคนาดาหายาก ผมก็เริ่มจากแนฟทาพอได้น้ำมันร้อยเปอร์เซ็นต์มา ก็ลองไปหาคนป่วยมะเร็งตับขั้นสุดท้ายและหมอบอกว่ามีชีวิตไม่ถึง 2 เดือน เอามารักษาแบบริค ซิมสัน แต่ครั้งนั้นไม่สำเร็จ ผมให้กิน 4 เม็ดถั่วเขียว ซึ่งเป็นปริมาณที่มี THC สูงไป

160121957068

160122055163

น้ำมันกัญชาสูตร CBD และ THC

ในจำนวนคนไข้เราหมื่นแปดพันคน เปอร์เซ็นต์การรอดชีวิต ตามที่คณะแพทย์ศาสตร์จุฬาฯบอกคือ 83 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งยาแผนไทยไม่ได้รักษาโดยตรง ร่างกายเราเป็นของวิเศษแต่ยาไม่ได้วิเศษ เพราะฉะนั้นโรคที่มันมีเชื้อโรค ร่างกายต้องรักษาตัวเอง ต้องฟื้นฟูตัวเอง และกัญชาที่กินเข้าไป ก็เพื่อไปสู่จุดที่ร่างกายซ่อมตัวเองได้

  • โมเดลกัญชาทางการแพทย์

1 ปีที่ผ่านมา โมเดลนี้มีต้นน้ำที่ดีอย่างวิสาหกิจเพลาเพลินเพื่อชุมชน และกลางน้ำกับปลายน้ำ คือ โรงพยาบาลคูเมือง ที่มีความพร้อมผลิตยาและใช้ในทางการแพทย์ จนได้รับการอนุมัติทั้งหมด 12 ตำรับ ซึ่งนำมาใช้กับคนไข้ รวมไปถึงการนำสมุนไพรอื่นไปใช้รักษาผู้ป่วย และเปิดคลินิกกัญชาครบทั้ง 23 โรงพยาบาลในจังหวัดบุรีรัมย์ นั่นทำให้มีความต้องการวัตถุดิบเป็นจำนวนมาก เกษตรกรและวิสาหกิจชุมชนจึงได้ปลูกทั้งกัญชาและสมุนไพรอื่น เพื่อนำมาผลิตยาและเกิดการสร้างงานสร้างรายได้ เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ

วิสาหกิจศูนย์กลางการพัฒนาสมุนไพรเพลาเพลินเพื่อชุมชน ร่วมกับชาวบ้าน เริ่มต้นทำการปลูกกัญชาในระบบปิด เพื่อใช้เป็นฟาร์มปลูกกัญชาที่ได้มาตรฐาน GAP ในการผลิตยาจากสมุนไพรในรูปแบบแผนปัจจุบันและแผนไทย เพื่อส่งให้โรงพยาบาลคูเมือง โดยตั้งเป้าจะผลิตยากัญชาส่งให้กับโรงพยาบาลในเขตสุขภาพที่ 9 นครชัยบุรินทร์ ได้แก่ นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์ กว่า 20 แห่ง ล่าสุดส่งมอบยาน้ำมันกัญชาหยอดใต้ลิ้น ที่มีสาร CBD ให้กับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) บุรีรัมย์ เพื่อกระจายให้กับโรงพยาบาลต่างๆ ในจังหวัด

160122022531

ต้นกัญชาถูกปลูกในระบบปิด ของวิสาหกิจเพลาเพลินเพื่อชุมชน

ปณิดา ครองสนั่น นักปฏิบัติการเทคโนโลยีการเกษตรประจำเพลาเพลิน บุรีรัมย์ เล่าว่า เธอทำหน้าที่ดูแลพืชพันธุ์ไม้และเป็นที่ปรึกษาช่วยดูแลการปลูกกัญชา ซึ่งทำมาก่อนหน้าที่จะมีวิสาหกิจชุมชน เมื่อวิสาหกิจจะทำเอง อาจจะไม่มีความรู้ในเรื่องการปลูกพืชผักหรือกัญชา หน้าที่นั้นจึงตกเป็นของปณิดาโดยปริยาย

เราจบด้านเกษตรอินทรีย์ เน้นในเรื่องการทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักทำจุลินทรีย์ และมีโอกาสไปอบรมกับทีมอาจารย์ข้างนอกด้วย สิ่งที่เธอถ่ายทอดให้กับชุมชนคือความรู้ในการทำน้ำหมักจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ใช้ฆ่าแมลง ยังมีน้ำหมักจุลินทรีย์กัญชาด้วย และเมื่อชุมชนมาปลูกผักกับวิสาหกิจ เราจะเป็นคนดูแลทุกขั้นตอน ทั้งคอยดูแลผักที่ปลูก ให้ความรู้เชิงชีวภาพ แนะนำการแก้ปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องโรคของแมลงศัตรูพืช

ในหลักการปลูกกัญชา ปณิดาออกตัวว่า อาจไม่รู้ลึกซึ้ง แต่จากประสบการณ์ครั้งที่แล้ว ปัญหาที่เจอคือศัตรูพืช ซึ่ง ถ้าติดเชื้อแล้ว ทุกอย่างสูญเปล่า และต้องควบคุมความชื้นไม่ให้สูงไป ไม่เช่นนั้นดอกจะเกิดเชื้อรา และไม่สามารถนำไปสกัดน้ำมันได้ อุณหภูมิในห้องปลูก ควรอยู่ที่ 27 องศาเซลเซียส และเรื่องของดินและน้ำก็สำคัญมากในการปลูก จะต้องตรวจสอบก่อน ไม่ให้มีค่าโลหะหนักในดิน

ที่นี่ปลูกดอกไม้เมืองหนาวอยู่แล้ว นำเข้าพันธุ์จากต่างประเทศ พร้อมกับดินพีสมอสที่ใช้ในการปลูก ถ้าจะไปหาดินใหม่ กว่าจะศึกษาวิจัยเสร็จคงนาน ก็เลยลองใช้ดินนี้ ซึ่งตรวจแล้วไม่พบค่าโลหะหนัก ในเฟสแรกปลูกเพื่อหาสารสำคัญ พอเฟส 2 ผลิตเป็นตัวยาและน้ำมันกัญชาแจกจ่ายให้ผู้ป่วย โดยมีพันธุ์หางกระรอกที่ให้ THC และCBD สูง ชาล็อตแองเจิล ปลูกไม่เกิน 4 เดือนก็เก็บได้แล้ว

160122102890

ในฐานะที่เป็นเกษตรกรมองเห็นโอกาสในการพัฒนากัญชาไทยว่า ต้องมีการสนับสนุนจากหลายภาคส่วนของสังคม เพื่อให้กัญชาใช้ในผู้ป่วยที่มีทางเลือกในการรักษาไม่มากนัก และวิสาหกิจสามารถปลูกได้มากขึ้น ร่วมมือกับโรงพยาบาลเพื่อส่งมาสกัดที่เดียวกัน เพื่อให้ได้ยาที่ได้มาตรฐาน ซึ่งจะทำให้ต้นทุนในการผลิตต่ำลง

ถ้าวิสาหกิจอื่นๆ ได้ปลูกด้วย พวกเขาก็จะมีรายได้ ซึ่งน่าจะอยู่ในความควบคุมดูแลความปลอดภัย คือ ไม่ต้องนำเข้าจากเมืองนอก แต่สนับสนุนให้ประเทศไทยมีผลิตภัณฑ์กัญชาสร้างเครือข่ายเพื่อที่จะให้มันพัฒนาไปได้ แต่ก็ต้องมองไปถึงคนใช้ด้วย

ปัจจุบันบุรีรัมย์ กลายเป็นต้นแบบในการเปลี่ยนสมุนไพรบ้านๆ สู่กัญชาเพื่อการแพทย์ และต่อยอดไปถึงพืชเศรษฐกิจ อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางเมืองหลวงของกัญชา และอนาคตจะก้าวสู่ความเป็น Cannabis Medical Hub ศูนย์กลางกัญชาเพื่อการแพทย์ของประเทศ