'อังคณา'ชี้คดี'ทรมานอุ้มหาย'ต้องไร้อายุความ ถือเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ

'อังคณา'ชี้คดี'ทรมานอุ้มหาย'ต้องไร้อายุความ ถือเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ

"โคทม" เผย "กม.ป้องกันการทรมานอุ้มหาย" กำหนดโทษจนท. ชี้ รัฐอ้างความสงบ ลิดรอนสิทธิบุคคลไม่ได้ "อังคณา" เผย เหยื่อ มักถูกทำให้เชื่อเป็นคนไม่ดี ถือเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ คดีต้องไม่มีอายุความ ชี้ รบ.ไม่เป็นปชต. ไม่สามารถออกกม.ด้านสิทธิมนุษย์ที่ดีได้

ที่ห้องประชุมคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ชั้น 4 อาคารคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ คณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฏรจัดงานสัมมนา "รัฐสภากับการพัฒนาระบบกฎหมาย อำนวยความยุติธรรม และพิทักษ์สิทธิมนุษยชน"

ทั้งนี้มีการบรรยายพิเศษ "คณะกรรมาธิการการกฎหมายฯ กับความหวังในการอำนวยความยุติธรรม และพิทักษ์สิทธิมนุษยชน" โดย นายโคทม อารียา ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการฯ

จากนั้นมีการเสวนา "ร่าง ...ป้องกันการอุ้มหาย ความก้าวหน้าครั้งใหม่ของสิทธิมนุษยชนไทย" โดย นางสาวสิตานันท์ สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ ญาตินายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ ผู้ถูกบังคับให้สูญหาย นางสาวอังคณา นีละไพจิตร อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม และนายรังสิมันต์ โรม โฆษกคณะกรรมาธิการฯ

ทั้งนี้ นายโคทม กล่าวว่า เมื่อปี 50 รัฐให้สัตยาบรรณรับรองกติกาสากลว่าด้วยการป้องกันการทรมาน ต่อมาอีก 5 ปีรัฐไทยก็ลงนามกติการะหว่างประเทศ ว่าด้วย การป้องกันการอุ้มหาย ซึ่งรัฐไทย จะต้องมาออกกฎหมายภายในให้สอดคล้อง จึงเป็นร่างกฎหมายป้องกันการทรมานและอุ้มหายดังกล่าว ผ่าน สนช.ในยุค คสช. กระทั่ง กมธ.กฎหมายปัจจุบัน นำมาปรับปรุงให้ดีขึ้นและนำเข้าสู่สภาพิจารณาต่อไป มีการกำหนดการเยียวยาเหยื่อ, การกำหนดหรือลงโทษผู้กระทำผิด โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่รัฐ และมีการระบุถึงหลักฐานที่ได้มาโดยไม่ชอบของเจ้าพนักงานไม่ถือเป็นหลักฐานทางคดีได้ด้วยนั้น อยากขอให้ประชาชนตื่นตัว ติดตามความคืบหน้า เพื่อการมีส่วนร่วม ซึ่งรัฐธรรมนูญปัจจุบันกำหนดไว้

นายโคทม กล่าวถึงกรณีทรมานและอุ้มหายในประเทศ รวมถึงการผลักดันกฎหมายป้องกันเรื่องนี้นั้น คนส่วนใหญ่ไม่รู้สึกหรือตระหนัก เพราะคิดว่าไม่ถึงตัวเขา แต่วันใดที่โดนกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมรังแกแล้วจะรู้สึก ดังนั้น การปกป้องสิทธิ์ของคนๆเดียวไม่ให้ถูกรังแก ถือเป็นการปกป้องหลักยุติธรรมและคนในสังคมไม่ให้ถูกรังแกหรือเลือกปฏิบัติด้วย

นายโคทม ยืนยันว่า กฎหมายไม่ได้ยุติธรรมเสมอไป ดังนั้น กฎหมายต้องอยู่ใต้หลักยุติธรรมโดยยกหลักคิดของ "จอห์น รอลว์ส" นักปรัชญาการเมืองและทฤษฎีว่าด้วยความยุติธรรม ชาวอเมริกัน ที่นิยามความยุติธรรมว่า 1.คือ โอกาสเท่าเทียมกันของคนทุกคนไม่ว่าจนหรือรวย2.ความยุติธรรม ต้องช่วยผู้ด้อยโอกาสในจำนวนที่มากที่สุดให้ได้โอกาสมากขึ้น และ 3.ยังต้องมีหลักสิทธิมนุษยชนด้วย

ดังนั้น อำนาจรัฐจะอ้างคุณค่านามธรรม ทั้งความมั่นคง ความสงบต่างๆ มาลิดรอนสิทธิ์ปัจเจกบุคคลไม่ได้ รวมทั้งจะอ้างว่า หากเป็นคนดี ไม่ได้ทำผิด ไม่ต้องกลัวนั้น ก็ฟังไม่ขึ้น

ขณะที่นางอังคณา  กล่าวว่า หากเอกชนอุ้มหาย ทรมาน หรือกระทำต่อเอกชนด้วยกันเอง ภาครัฐมีหน้าที่คุ้มครอง แต่ถ้าผู้กระทำผิดคืออำนาจรัฐ เป็นเรื่องที่ยากมากในการที่จะนำคนผิดมาลงโทษ และจากประสบการณ์ในประเทศไทย คนที่ถูกอุ้มหายมักจะถูกทำให้เชื่อว่าเป็นคนไม่ดีเป็นทนายโจร เกี่ยวข้องกับยาเสพติดหรือต่อต้านรัฐ เมื่อคนไม่ดีถูกทำให้หายไปสังคมก็ไม่ต้องใส่ใจ และความทุกข์ทรมานของญาติผู้ตกเป็นเหยื่อ ยังไม่เท่ากับความเงียบของสังคม จึงขอบคุณชุมชนที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ด้วย

นางอังคณา เชื่อว่า ทุกอย่างมีการวางแผนอย่างเป็นระบบ ไม่ใช่อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจซึ่งถือเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ไม่สามารถนิรโทษกรรมได้ จะต้องไม่มีอายุความ และนำขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอาญาระหว่างประเทศ ส่วนการเอาเงินฟาดหัว ไม่มีประโยชน์ ไม่ได้ทำให้การละเมิดสิทธิมนุษยชนแบบนี้ยุติลง แต่คือการดูถูก โดยเห็นว่า การเยียวยาที่สำคัญที่สุด คือการคืนความยุติธรรมและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และการนำคนผิดมาลงโทษ

นางอังคณา กล่าวว่า ถ้ารัฐไทยออกกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้มาอ่อนจนเอาผิดใครไม่ได้ ก็อย่าออกเลย รอรัฐบาลที่เป็นประชาธิปไตยมาออกกฎหมายดีกว่า เพราะตนเชื่อว่า รัฐบาลที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ไม่เคารพสิทธิเสรีภาพของประชาชน ไม่สามารถออกกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิมนุษย์ชนที่ดีได้  เพราะสิ่งสำคัญคือ เจตจำนงทางการเมืองของผู้มีอำนาจ

..พรเพ็ญ กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาของเจ้าหน้าที่รัฐ ควรมีกฎหมายควบคุม กำกับดูแลเพราะพบว่าคนที่ทำผิดลอยนวลอยู่ โดยภาคประชาสังคมทำงานอย่างหนักเรื่องการอุ้มหายทรมาน ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิมากที่สุดเพราะทำให้หายไปจากครอบครัว ทำให้กระบวนการยุติธรรมหายไปด้วยและสุดท้ายไม่สามารถพาบุคคลสูญหายกลับสู่สังคมได้ ซึ่ง ...ฉบับนี้มีสิ่งสำคัญมาก โดยกำหนดเสนอให้ทั้ง 2 ข้อหา คือ การอุ้มหาย ทรมาน ไม่มีอายุความ ซึ่งการอุ้มหายมักเกี่ยวโยงกับการทรมาน ซึ่งอาจเปลี่ยนเป็นเสียชีวิตระหว่างการควบคุมตัว

ทั้งนี้ อยากให้สภาเร่งออก ...ฉบับนี้ เพราะในตอนนี้รัฐบาลมี ...ที่มีชื่อเดียวกันทำให้ซับซ้อนเพราะให้กฤษฎีกาแก้ไขเรื่อยๆ ตนจึงอยากให้รัฐเร่งรัดกฤษฎีกาให้ตรวจสอบโดยเร็วและให้เสนอ ...นี้เข้าสภาให้ทันในวันที่ 1..63 ซึ่งเป็นวันเปิดการประชุมรัฐสภา

อย่างไรก็ตาม ..สิตานันท์ กล่าวว่า จวบจนวันนี้นับเป็นเวลาเกือบ 4 เดือน ตนได้พยายามดำเนินการอย่างเต็มที่ แต่ไม่มีการตอบรับจากรัฐบาลแต่อย่างใด จากที่ปรากฏเห็นได้ว่ารัฐบาลให้ความสำคัญกับการอุ้มหายเป็นอันดับรอง แต่ในความเป็นคนไทยด้วยกันก็ควรได้รับความคุ้มครองและเร่งสืบสวนข้อเท็จจริงเพื่อหาสาเหตุอย่างจริงจัง เพราะรูปธรรมที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งเลื่อนลอย ซึ่งตนไม่อาจทราบได้ว่าผู้กระทำมีเจตนาอันใด แต่เหตุที่ทำให้นายวันเฉลิมต้องลี้ภัยต่างแดนนั้นมาจากการแสดงความเห็นทางการเมืองที่แตกต่าง ทำให้ถูกคุกคามมาโดยตลอด

ตนจึงตั้งข้อสังเกตุว่าการพยายามทำให้สูญหายครั้งนี้มาจากความต้องการของบุคคลเดียวกันหรือไม่ แม้จะยังไม่มีคำตอบ แต่สภาวะปัจจุบันก็ปรากฏว่าเสรีภาพการแสดงออกทางความคิดถูกกดทับและปิดกั้น ไม่จำกัดแต่เฉพาะผู้ลี้ภัย หากยังรวมถึงแกนนำกลุ่มเคลื่อนไหวตลอดถึงเยาวชน ที่ในเวลานี้ถูกหน่วยงานและเจ้าหน้าที่รัฐคุกคาม ตนจึงอยากวอนให้รัฐบาลหันหน้าเข้าคุยกับประชาชน

..สิตานันท์ กล่าวอีกว่า ร่างพรบ.ป้องกันอุ้มหาย มีความสำคัญและจำเป็นมาก หากเป็นไปได้ตนขอให้ทุกคนเข้าใจ วอนฝากถึงรัฐบาลว่า สิ่งที่ญาติผู้เสียหายโดนกระทำ ไม่อาจทำให้ลบเลือนไปได้ และอยากให้เหตุการณ์เหล่านี้หมดไปจากประเทศไทย อยากให้รัฐบาลกล้าที่จะรับฟังข้อเรียกร้องจากเยาวชนบ้าง ตนมั่นใจว่าต้นเหตุของผู้ลี้ภัยคือการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง