‘อาชีวะ’ ปรับมายด์เซ็ทใหม่ มุ่ง ‘วิจัย-นวัตกรรม’ ตอบอนาคต

‘อาชีวะ’ ปรับมายด์เซ็ทใหม่ มุ่ง ‘วิจัย-นวัตกรรม’ ตอบอนาคต

"อาชีวะพันธุ์ใหม่" ต้องมองเห็นภาพตัวเองทำงานกับอุปกรณ์ที่มีนวัตกรรมและเทคโนโลยี ไม่ใช่แค่เครื่องจักรในอุตสาหกรรมดั้งเดิม อีกทั้งมองเห็นการฝึกงานกับบริษัทมาตรฐานหรือบริษัทระดับโลก โดยเฉพาะที่มีความเกี่ยวเนื่องกับ 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จึงร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพขีดความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนาอาชีวศึกษา โดยมีเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะดำเนินการเร่งรัดพัฒนาการวิจัย สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม ให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นรูปธรรม

ก้าวทันเทคโนโลยีหุ่นยนต์

ปัทมา วีระวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวอ้างอิงถึงข้อมูลของ World Economic Forum ที่ทำรายงานเกี่ยวกับอนาคตของการทำงาน โดยพูดถึงการเข้ามาของหุ่นยนต์ เอไอ เทคโนโลยีเสมือนจริง VR/AR และเทคโนโลยีต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่และสามารถเปลี่ยนแปลงแนวทางการทำงานในอนาคต

160079910969

การเข้ามาแทนที่ของหุ่นยนต์ในด้านของการทำงานนั้น เป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงโดยประมาณการในปี 2565 เทคโนโลยีหุ่นยนต์จะถูกรับเข้าไปแทนที่แรงงานในหลายภาคของธุรกิจอย่างแพร่หลาย แต่ละธุรกิจก็มีโอกาสในการเปิดรับและเปลี่ยนแปลงสู่การใช้หุ่นยนต์ รวมถึงความต้องการของหุ่นยนต์ที่ใช้ในการทำงานที่แตกต่างกันไป

หุ่นยนต์ 4 ประเภทที่จะถูกนำมาใช้งานจริงมากที่สุดในภาคธุรกิจปี 2565 คือ 1.หุ่นยนต์ลักษณะภายนอกเหมือนหรือคล้ายคลึงมนุษย์ (Humanoid Robots) ภารธุรกิจเอกชนประมาณ 23% จะนำมาใช้ โดยเฉพาะธุรกิจบริการด้านการเงินและการลงทุน ซึ่งมีความต้องการใช้ประมาณ 35%

2.หุ่นยนต์ประจำที่ (Stationary Robots) หรือเรียกว่าหุ่นยนต์อัตโนมัติ (Automation Robot) ส่วนมากมีลักษณะเหมือนแขนกลแต่ทำงานได้หลากหลาย สามารถปรับรูปแบบการทำงานได้ และถูกออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับรูปแบบงานที่ต้องทำ เช่น แขนกลในโรงงาน หรือหุ่นยนต์ประกอบอาหาร ซึ่งมีการนำมาใช้ประมาณ 37% ธุรกิจแรกที่จะพบคือ อุตสาหกรรมยานยนต์ อากาศยาน และธุรกิจจัดการซัพพลายเชน ซึ่งจะถูกนำมาใช้ประมาณ 53%

3. หุ่นยนต์ทำงานบนอากาศและใต้น้ำ (Aerial and Underwater Robots) จะได้เห็นในลักษณะของโดรน เรือดำน้ำไร้คนขับ สามารถทำงานได้ตั้งแต่การเป็นเครื่องตรวจการ หุ่นยนต์สำรวจพื้นที่เสี่ยงและพื้นที่ที่มนุษย์เข้าไปได้ยาก ในปีนี้จะเห็นบริษัทต่างๆ นำหุ่นยนต์ประเภทนี้มาใช้ประมาณ 19% ธุรกิจแรกที่จะเริ่มนำมาใช้คือ อุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ ซึ่งมีประมาณ 52%

4.หุ่นยนต์เคลื่อนที่ (Non-Humanoid Land Robot) ไม่มีลักษณะเลียนแบบมนุษย์ ลักษณะภายนอกอาจเป็นเหมือนกล่องติดล้อขนาดใหญ่ หรือหุ่นยนต์ที่มีขาในการเคลื่อนไหว รูปร่างออกแบบมาเพื่อรองรับจุดประสงค์ในการทำงาน เช่น เสิร์ฟอาหาร ส่งของ โดยจะนำหุ่นยนต์ประเภทนี้มาใช้ประมาณ 33% อุตสาหกรรมที่เริ่มนำมาใช้คือ ยานยนต์ อากาศยานและธุรกิจจัดการซัพพลายเชนต่างๆ ซึ่งจะนำหุ่นยนต์ประเภทนี้มาใช้ประมาณ 42%

เติมทักษะวิชาการให้สายปฏิบัติ

ปัทมา กล่าวระหว่างการสัมมนาหัวข้อ “อาชีวะพันธุ์ใหม่ : การพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยและนวัตกรรม” ว่า การบ่มเพาะนักวิจัยในอดีตมีรูปแบบการทำงานในสถานศึกษาอยู่ในสังกัดของกองวิทยาลัยเทคนิค เป็นกิจกรรมเล็กๆ แต่เมื่อภายหลังมีการปฏิรูประบบราชการของกระทรวงศึกษาธิการ การผลักดันของหน่วยงานจึงเน้นการสร้างทักษะของการวิจัยพัฒนาด้านนวัตกรรมให้เกิดขึ้นในวงการของอาชีวศึกษา

สายอาชีวศึกษาจะมีความเชี่ยวชาญในภาคการปฏิบัติ แต่เมื่อจำเป็นต้องเขียนข้อเสนอโครงการต่างๆ อย่างโครงการสิ่งประดิษฐ์ในระบบของงานวิจัย ผู้เรียนกลับไม่สามารถทำได้ จึงเป็นการดีที่ได้ร่วมกับ วช.ในการบ่มเพาะองค์ความรู้ด้านการเขียนเสนอโครงการสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่ถูกต้อง

160079913247

พร้อมทั้งพัฒนาผลงานให้มีศักยภาพตรงตามความต้องการของกลุ่มผู้ใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง รวมถึงเทคนิคการพัฒนาผลงานสิ่งประดิษฐ์ให้ได้รับการส่งเสริม พัฒนาต่อยอดไปสู่การเพิ่มมูลค่าสิ่งประดิษฐ์ และสามารถต่อยอดสู่การพัฒนาศักยภาพให้สามารถขึ้นทะเบียนบัญชีสิ่งประดิษฐ์ได้

ขณะเดียวกันการนำ “ดิจิทัล” เข้ามาใช้กับวิถีอาชีพของอาชีวศึกษา จะเป็นการส่งเสริมองค์ความรู้เดิมที่เป็นเรื่องออฟไลน์ในส่วนของวิจัย พัฒนาและภาคการผลิต แต่หลังจากที่ทุกอย่างเข้าสู่ออนไลน์ จึงเกิดเป็น “Manufacturing” ดังนั้น สาขาที่อาชีวะจะต้องเร่งส่งเสริมคือ System Integration (SI) หรือการรวมระบบ คือกระบวนการด้านไอทีและวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ โดยการเชื่อมต่อฟังก์ชันต่างๆ ของระบบเข้าด้วยกัน ทำให้ระบบทั้งหมดสามารถทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบภายใต้คำสั่งที่คอนโทรล

160079915371

"วีลแชร์ควบคุมด้วยศีรษะ" คิดค้นเพื่อสังคม

“วีลแชร์ไฟฟ้าควบคุมด้วยศีรษะ” สิ่งประดิษฐ์สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ จากวิทยาลัยการอาชีพศรีสัชนาลัย เป็นวีลแชร์ไฟฟ้าที่สามารถใช้ศีรษะควบคุมการเคลื่อนที่ผ่านเซ็นเซอร์ “ไจโรสโคป” ที่มีขนาดเล็กและเบาติดตั้งไว้กับที่คาดผม ใช้เป็นตัวควบคุมการเคลื่อนที่

160079927146

โดยต่อเข้ากับอุปกรณ์ของรถวีแชร์และส่งสัญญาณไปควบคุมระบบขับเคลื่อนใ ห้วีลแชร์สามารถเคลื่อนที่ตามคำสั่งได้ด้วยตนเองเพียงก้มหน้าเล็กน้อย (ประมาณ 10 องศา) ทั้งยังขึ้นทางลาดชันได้ถึง 20 องศา สามารถใช้งานได้ระยะทาง 60 กิโลเมตรต่อการชาร์จ 1 ครั้ง

สิ่งประดิษฐ์นี้ตอบสนองวัตถุประสงค์ในการสร้างสรรค์เพื่อประโยชน์หลักให้ผู้พิการได้ใช้ชีวิตเหมือนปกติ อีกทั้งเป็นการเสริมสร้างรายได้ให้กับชุมชนท้องถิ่นในการพัฒนาร่วมกัน ซึ่งมีงบประมาณของนวัตกรรม 3 หมื่นบาท และปัจจุบันอยู่ระหว่างการทดสอบ จากนั้นจะต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์โดยเจาะกลุ่มนิชมาร์เก็ต ขณะเดียวกันวิทยาลัยฯ จะเป็นผู้ส่งผ่านให้กับมูลนิธิและโครงการต่างๆ ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 4 พันบาท