GPSC ปี 3 โชว์ผลงาน 5 สิ่งประดิษฐ์เยาวชน

GPSC ปี 3 โชว์ผลงาน 5 สิ่งประดิษฐ์เยาวชน

GPSC คัดเลือก 5 ผลงานนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์เยาวชนในเวที GPSC Young Social Innovator 2020 ซีซั่น3 เข้าชิงชนะเลิศคว้ารางวัลกว่า 2 แสนบาท หวังกระตุ้นเด็กไทยสร้างสรรค์นวัตกรรมที่มีคุณภาพ และใช้งานจริงในชุมชน

ก้าวสู่ปีที่3 สำหรับ " GPSC Young Social Innovator 2020"  เวทีของเยาวชนนักคิดนักสร้างสรรค์นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ ภายใต้การจัดโดยบริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด(มหาชน) หรือ GPSC เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนไทยระดับมัธยมศึกษา อาชีวศึกษาจากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศได้ร่วมส่งผลงานสร้างสรรค์นวัตกรรมที่มีคุณภาพ และใช้งานจริงในชุมชนได้

วันนี้ (20 ..2563)นายณรงค์ชัย วิสูตรชัย ผู้จัดการฝ่ายอาวุโสรัฐกิจสัมพันธ์และกิจการสาธารณะ บริษัทโกลบอล  เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC แกนนำนวัตกรรมธุรกิจไฟฟ้ากลุ่ม ปตท. เปิดเผยว่า GPSC ได้จัดกิจกรรมแข่งขันและประกาศผลการคัดเลือกโครงการ GPSC Young Social Innovator 2020 ปีที่ 3 โดยในปีนี้ได้รับความสนใจจากสถาบันการศึกษาและเยาวชนส่งผลงานโครงงานสิ่งประดิษฐ์ ภายใต้แนวคิดพลังงานทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน (Sustainable Energy, Natural resource and Environment)” จำนวนกว่า  300 ผลงาน จากทั่วประเทศ

160061164411

โดยมีผลงานที่ผ่านการคัดเลือกรอบแรก จำนวน 30 ทีม แบ่งเป็นภาคเหนือ 1 ผลงาน ภาคกลาง 13 ผลงาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 6 ผลงาน ภาคตะวันออก 4 ผลงาน และภาคใต้ 6 ผลงาน เพื่อที่จะเข้าสู่การคัดเลือกในรอบชิงชนะเลิศ 5 ทีมสุดท้าย ที่จะได้รับทุนสนับสนุนจากบริษัทฯ เพื่อนำไปต่อยอดการพัฒนาองค์ความรู้ และใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เป็นโครงการต้นแบบด้านการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น การพัฒนาพลังงานที่มีประสิทธิภาพ พร้อมใช้งานจริงในชุมชน

การจัดการแข่งขัน ภายใต้โครงการ GPSC YSI ถือเป็นโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อการวางรากฐานของเยาวชนทั้งในด้านการพัฒนาองค์ความรู้จากการใช้วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด และรู้คุณค่าของการใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ซึ่ง GPSC ได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับพันธกิจด้านการพัฒนาการศึกษาของเยาวชนในมิติต่างๆ เพื่อให้เยาวชนสามารถพัฒนาตนเอง ไปสู่การเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพในอนาคต  และเป็นกำลังสำคัญพัฒนาเศรษฐกิจทั้งในระดับชุมชนและระดับประเทศสู่การเติบโตอย่างเข้มแข็งนายณรงค์ชัย กล่าว

160061167763

โครงการดังกล่าวเป็นไปตามแนวทางและนโยบายของบริษัทฯ ในด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร (Corporate Social Responsibility: CSR) ในการส่งเสริมและสนับสนุนเด็กและเยาวชนของไทยให้เกิดการเรียนรู้ในการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่าที่จะนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนและรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ สำหรับผลงานที่ผ่านการคัดเลือกเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ จำนวน 5 ผลงาน ประกอบด้วย ทีม YOUNG SCIENCE SR 2 โรงเรียน สหราษฎร์รังสฤษดิ์ จังหวัดนครพนม ชื่อผลงาน เสปรย์กำจัดกลิ่นเท้า "เท้าหอม(Foot odor spray "ThaoHom") ทีม YOUNG SCIENCE SR โรงเรียน สหราษฎร์รังสฤษดิ์ จังหวัดนครพนม  ชื่อผลงาน กรดจากน้ำปลาส้มผสมซิงค์ออกไซด์ ลดกลิ่น ต้านเชื้อรา เพิ่มน้ำหนักยางพารา

160061171266

ทีม young's box โรงเรียน คีรีมาศพิทยาคม จังหวัดสุโขทัย ชื่อผลงาน กล่องยืดอายุผลไม้ ทีม SPT magic project โรงเรียน สตรีพัทลุง จังหวัดพัทลุง ชื่อผลงาน นวัตกรรมกันกระแทกและชะลอการสุกจากเส้นใยกาบกล้วย และทีมKKW NANO – Z โรงเรียน ขอนแก่นวิทยายน จังหวัดขอนแก่น ชื่อผลงาน นวัตกรรมการจัดการคราบน้ำมันเหลือทิ้งจากภาคครัวเรือนโดยใช้ฟองน้ำยางพาราผสมธูปฤาษีและสารนาโนคาร์บอนแบล็คเพื่อนำมาประยุกต์ใช้เป็นถ่านเชื้อเพลิงจากเปลือกทุเรียนผสมธูปฤาษีและสารนาโนคาร์บอนแบล็ค

อย่างไรก็ตาม ทั้ง 5 ทีม ได้กำหนดจัดการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศโครงการ YSI ซีซั่น 3 ในช่วงต้นปี 2564 ซึ่งทีมชนะเลิศจะได้รับถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีประกาศนียบัตรและทุนการศึกษา จำนวน 50,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง รองชนะเลิศอันดับสอง และรางวัลชมเชย 2 รางวัล จะได้รับโล่รางวัล ประกาศนียบัตรและทุนการศึกษาจำนวน 30,000 บาท 20,000 บาท และ10,000 บาท ตามลำดับ

..กัลยรัตน์ มะตนาด ..วิรศวา ใจเป็ง และน..ณัฎฐธิดา ไชยา น้องๆ จากทีม YOUNG SCIENCE SR 2 โรงเรียนสหราษฎร์รังสฤษดิ์ จังหวัดนครพนม ชื่อผลงาน เสปรย์กำจัดกลิ่นเท้า เท้าหอม ช่วยกันเล่าว่า ในชุมชนของตนเองมีการนำข้าวเปลือกไปแช่น้ำ และเคยเห็นชาวบ้านนำน้ำแช่ข้าวเปลือกไปล้างคอกสัตว์เพื่อดับกลิ่น จึงมองว่าหากน้ำแช่ข้าวเปลือกดับกลิ่นคอกสัตว์ได้ก็น่าจะดัดแปลงไปทำผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้ โดยเริ่มจากการนำมาดับกลิ่นเท้า ซึ่งเมื่อได้นำมาสู่โครงงาน และได้ทดลองในห้องปฎิบัติการ พบว่า น้ำแช่ข้าวเปลือกจะมีประสิทธิภาพดีขึ้น สามารถกำจัดกลิ่นได้ยาวนานกว่า5ชั่วโมง ต้องมีการเติมสาร และทำให้ค่าPHเป็นกลาง เพื่อจะได้ไม่ทำลายผิวเท้าด้วย

160061174262

"ใช้เวลากว่า5เดือนในการทำสเปรย์กลิ่นเท้าจากน้ำแช่ข้าวเปลือก ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าให้น้ำแช่ข้าวเปลือกในชุมชนและเป็นผลงานที่ใช้ได้จริง เพราะตอนนี้ พวกเราได้ผลิตสเปรย์ดับกลิ่นเท้าแล้ว3กลิ่น คือกลิ่นที่มอยเจอร์ไรเซอร์เพิ่มความชุ่มชื้น กลิ่นดับที่เหมาะสำหรับการดับกลิ่นเท้าอีก2กลิ่น ถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากผลงานของนักเรียน และวันนี้เมื่อได้เข้าร่วมส่งผลงานกับทางGPSC ที่ก่อนหน้านี้มีรุ่นพี่ส่งผลงานเข้าร่วมจำนวนมาก พวกเราจึงได้เข้าร่วมและเมื่อได้รับการสนับสนุนต่อยอด ทำให้พวกเราได้มีทุนไปพัฒนาผลิตภัณฑ์อื่นๆที่เกี่ยวกับเส้นผมหรืออื่นๆ ต่อไป ดังนั้นโครงการ GPSC เป็นเวทีที่จะช่วยต่อยอดให้เยาวชนได้จุดประกายความคิดจากโครงงานของตนเอง และเปิดโอกาสได้นำองค์ความรู้มาสร้างสรรค์ช่วยเหลือ แก้ปัญหาในชุมชน ร่วมพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์จากสิ่งเหลือใช้ในชุมชนด้วย"3สาวช่วยกันเล่า

นอกจากการมอบรางวัลให้แก่น้องๆ เยาวชนในซีซั่น3นี้แล้ว ทางGPSC ยังได้ส่งตัวแทนทีมเยาวชนที่ได้รับรางวัลชนะเลิศและรองชนะเลิศจากเวที GPSC Young Social Innovator 2019 จำนวน 3ทีมเข้าประกวดโครงงานด้านนวัตกรรมในเวที2020 The 6th World Invention Contest (WiC) กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี โดย GPSC Young Social Innovator 2019  ได้รับรางวัล 2 เหรียญทอง 1เหรียญเงิน และยังได้รับรางวัลพิเศษ 3รางวัล นับเป็นความสำเร็จในการพัฒนาเยาวชนไทยที่สามารถคว้ารางวัลในเวทีนานาชาติได้

160061176953