3 ขุนพลดิจิทัล เปิด 5 หลักคิด พลิกธุรกิจสู่ “โลกวิถีใหม่”

3 ขุนพลดิจิทัล เปิด 5 หลักคิด พลิกธุรกิจสู่ “โลกวิถีใหม่”

ธปท. จัดงาน Bangkok FinTech Fair 2020 ในรูปแบบออนไลน์ ผ่านประสบการณ์จาก 3 นักธุรกิจที่ปรับธุรกิจด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล พร้อมเผย 5 หลักคิดนำธุรกิจสู่โลกวิถีใหม่ และ “เดต้า-เศรษฐกิจสร้างสรรค์” เคล็ด(ไม่)ลับฝ่าโควิด

จากงาน Bangkok FinTech Fair 2020 ในรูปแบบออนไลน์   "พร้อมรับวิถีใหม่ SME ก้าวต่อไปด้วยดิจิทัล" โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)  ในหัวข้อ "เปลี่ยนเพื่อปรับรับ New Normal"  

ผ่านประสบการณ์จาก 3 นักธุรกิจที่ปรับธุรกิจด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล  ฐากร ปิยพันธ์  อดีตประธานกรรมการกรุงศรี คอนซูมเมอร์  , “อริยะ พนมยงค์ซีอีโอ และผู้ก่อตั้ง บริษัท Transformational  และอภิรัตน์  หอมชะเอม  Chief Digital Officer บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด

สำหรับหลักคิด 5 ส่วน ที่องค์กรทุกระดับต้องปรับรับ New Normal ที่พูดถึงกันนั้น คือ ส่วนอย่างแรก ต้องมีการปรับเปลี่ยนมุมมองแนวคิดและทัศนคติ (mindset) ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ New Normal ก่อน เพื่อนำไปสู่ ส่วนที่สองคือ การวางกลยุทธ์ทางธุรกิจที่สำคัญ ที่จะเป็นเข็มทิศสำคัญ นำพาองค์กรสามารถเดินต่อไปได้ถูกทาง

ต่อจากนั้นส่วนถัดมาต้องมีการขยับหรือแตกออกมาเป็น การกำหนดกระบวนธุรกิจ (Business Process) ที่ถูกต้องหรือเป็นบิซิเนสโมเดลใหม่ ด้วยส่วนต่อมาที่สำคัญในการขับเคลื่อนองค์กร คือ การพัฒนาทักษะของคนในองค์กรทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นการ Up-Skill หรือ การเสริมสร้างทักษะเดิมที่มีอยู่ ให้ยังสามารถใช้กับโลกยุคปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ Re -Skill คือการสร้างทักษะใหม่ๆ ที่ตอบรับกับโลกในปัจจุบันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความคิดสร้างสรรค์ ทักษะด้านดิจิทัล และการทำงานกับข้อมูลมหาศาล หรือ บิ๊กเดต้า ( Big Data)

โดยทุกส่วนที่กล่าวมาทั้งหมดในภาวะเช่นนี้ ต้องอยู่บนพื้นฐานของส่วนสุดท้ายที่สำคัญสุด คือ การมีข้อมูล (Data) ที่มีประสิทธิภาพและเอามาใช้จริง

สำหรับคล็ด (ไม่) ลับ ในการปรับธุรกิจให้อยู่รอด และเตรียมพร้อมรับ ความท้าทาย ในยุคดิจิทัล แบบ New Normalฐากร ปิยพันธ์”  อดีตประธานกรรมการ กรุงศรี คอนซูมเมอร์ ย้ำว่า วิกฤติโควิด เป็นบทพิสูจน์ และบททดสอบผู้บริหารธุรกิจตั้งสติจำเป็นต้องมีอย่างมาก ไม่ตระหนก วิกฤติรอบนี้เหมือนวิ่งมาราธอน  ต้องกำเงินสด ลดค่าใช้จ่ายยังเป็นสิ่งที่จำเป็น

แต่ธุรกิจจะอยู่รอดหรือไม่รอด จะชนะหรือไม่ชนะ ต่อไปในแบบNew Nornal ได้หรือนั้น ยังเห็นว่าข้อมูลหรือ Data ” จะเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจ ถึงแม้ขณะนี้จะยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนหรือสร้างบิซิเนสโมเดลใหม่ได้ในต่อนี้ แต่แน่นอนว่า การนำเดต้า มาหาความต้องการส่วนลึกของลูกค้า เช่นลูกค้าคนนี้ต้องการอะไรหรือในเวลานี้ลูกค้าต้องการอะไร แล้วไปหาจุดนั้นให้เจอ เชื่อมั่นว่า ธุรกิจต้องเจอในสิ่งใหม่ในรูปแบบบิซิเนสโมเดลที่คาดอาจคาดไม่ถึงแน่นอน

อริยะ พนมยงค์ซีอีโอ และผู้ก่อตั้ง บริษัท Transformational   แนะนำว่า ในช่วงนี้เวลากดดันวิธีการเรียนรู้ดีที่สุด คือ ลงมือทำแล้วจะเรียนรู้เอง มีหลายเรื่องเราไม่เคยรู้  หรือไม่เคยทำมาก่อน แต่เราเรียนรู้ได้และเราต้องเรียนรู้ให้เร็ว

ในจังหวะที่ทุกคนน็อคๆ กันอยู่ หากใครลงมือทำก่อน ด้วยแนวคิดแบบเทคคอมพานี นำเทคโนโลยีมาสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจ ตรงจุดนี้ธุรกิจขนาดใหญ่ต้องเริ่มปูทางในอนาคตไว้ ส่วนผู้นำธุรกิจต้องเริ่มเป็นมนุษย์ตัวเลขเข้าไปดูเดต้าที่มีอยู่และหาอินไซด์ให้เจอทำก่อนลุยก่อน ถ้าวันนี้เราไม่เปิดความคิด ก็ไม่มีไอเดียใหม่เกิดขึ้นแน่นอน

นอกจากนี้ยังมองว่า  เรื่องของเดต้า เป็นเหมือนการออกกำลังหาย ธุรกิจต้องเริ่มฝึกกล้ามเนื้อส่วนนี้ให้มากขึ้น และการสร้างระบบเศรษกิจใหม่ที่เป็นดิจิทัลไรเซชั่นจะช่วยเพิ่มมูลค่าอย่างมหาศาลให้กับประเทศไทยในอนาคตด้วย

อภิรัตน์  หอมชะเอม”  Chief Digital Officer บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด  กล่าว่า อยากให้ใชโควิด เป็นเหมือน wake up call  หากเปรียบธุรกิจหลักของประเทศไทย คือ ภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม พอเกิดโควิดแล้วจะพบว่าทั้งสองอุตสาหกรรมนี้ โดนดิสรับมากที่สุด

ดังนั้น ประเทศไทย ก้าวผ่านสู่โลกยุคถัดไป หรือNew Nornal ได้ ด้วยการนำเทคโนโลยี มาเพิ่มประสิทธิภามากขึ้นและลดต้นทุนให้กับสองอุตสาหกรรมของประเทศ  พร้อมกับหา อุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่

หรือ S-Curve ใหม่ให้เจอโดยเร็วที่สุด เพื่อสร้างระบบเศรษฐกิจใหม่  ที่เป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ “ (Creative Economy) คือ การสร้างมูลค่าสินค้า หรือบริการที่เกิดจากความคิดของมนุษย์ ผนวกเข้ากับเทคโนโลยี  เชื่อว่าประเทศไทยไปถึงจุดนี้ได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยมี Wake up call ชื่อ โควิด เป็นตัวตั้ง

เพราะในช่วงโควิดที่ผ่านมา พิสูจน์แล้วว่า ทำให้หลายๆ อย่างที่เป็นไปไม่ได้ เป็นไปได้แล้ว เช่น work fromhome กลายเป็นเทรนด์ใหม่ที่องค์กรเห็นประโยชน์ ลดต้นทุนและพนักงานทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น