คุณเป็น ‘นักลงทุน’ แบบไหน ไขข้อข้องใจ ทำไม ‘แบบทดสอบก่อนเริ่มลงทุน’ จึงจำเป็น?

คุณเป็น ‘นักลงทุน’ แบบไหน ไขข้อข้องใจ ทำไม ‘แบบทดสอบก่อนเริ่มลงทุน’ จึงจำเป็น?

รู้จักตัวเองก่อนการลงทุน กับแบบทดสอบความเสี่ยง

สำหรับใครที่เคยมีประสบการณ์การลงทุน ไม่ว่าจะเป็นการซื้อกองทุนหรือผลิตภัณฑ์การเงินอื่นๆ มาบ้างแล้ว ก็คงจะคุ้นเคยดีกับการทำแบบประเมินความเสี่ยงการลงทุน ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญที่ทุกคนต้องเคยผ่านกันมาแล้วทั้งนั้น โดยเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษาจะให้ผู้ลงทุนได้ทดสอบก่อนทำสัญญา

นักลงทุนมือใหม่บางคน อาจสงสัยว่า ทำไมเราต้องทำแบบสอบถามก่อนการลงทุน ?

ก่อนจะไปตอบคำถามนี้ เราต้องย้อนไปที่ธรรมชาติของการลงทุนกันก่อนว่า “ผลตอบแทน” และ “ความเสี่ยง” มักเป็นตัวแปรที่ส่งผลซึ่งกันและกัน ยิ่งเสี่ยงมากโอกาสจะได้รับผลตอบแทนสูงก็แปรผันตามกันไป เช่นเดียวกับความเสี่ยงต่ำที่ผลตอบแทนก็มักจะลดลงตามไปด้วย

นั่นหมายความว่า ถ้าคุณต้องการผลตอบแทนสูง ก็ต้องยอมรับความเสี่ยงที่จะขาดทุนสูงด้วยเช่นกัน และจึงเป็นที่มาของความจำเป็นที่เราจะต้องทำแบบประเมินความเสี่ยงก่อนการลงทุน

โดย แบบประเมินความเสี่ยง ที่เจ้าหน้าที่ให้เราทำนั้น จะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) ซึ่งมีสาระสำคัญ คือ บริษัทจัดการกองทุนต้องจัดให้มีคำแนะนำการลงทุนที่เหมาะสมตามวัตถุประสงค์และความต้องการของผู้ลงทุน โดยพิจารณาให้สอดคล้องกับระดับความเสี่ยงของกองทุนรวม

การทำแบบทดสอบความเสี่ยงก่อนการลงทุนจึงถือเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้ผู้ลงทุนได้รู้จักตัวเอง ได้เห็นเป้าหมายของการลงทุน ก่อนเลือกลงทุนในรูปแบบที่เหมาะสมกับตัวเอง

160041086419

ภาพจาก www.set.or.th

ทดสอบระดับความเสี่ยง

ส่วนใหญ่แล้ว แบบประเมินความเสี่ยงการลงทุนจะแบ่งออกได้เป็น 5-8 ระดับ ขึ้นอยู่กับผู้นำเสนอการลงทุนที่จะจัดระดับความเสี่ยงเข้ากับผลิตภัณฑ์ เริ่มตั้งแต่ระดับ ความเสี่ยงสูงมาก, ความเสี่ยงสูง, ความเสี่ยงปานกลาง, ความเสี่ยงปานกลางค่อนข้างต่ำ, ความเสี่ยงต่ำ (บางแบบทดสอบมีระดับความถี่มากกว่านี้ เช่น ความเสี่ยงต่ำมาก, ความเสี่ยงปานกลางค่อนข้างสูง)

การทดสอบนั้นจะมีเนื้อหาหลักๆ สะท้อนถึงแนวทางการลงทุนของผู้ทำ เป้าหมายของการลงทุน การมีรายได้เพื่อการใช้ชีวิตในวัยเกษียณ รวมถึงการรักษามูลค่าของเงินเอาไว้

ที่สำคัญคือคำถามในหมวดที่ว่า คุณรับความเสี่ยงได้ขนาดไหน?  รวมถึงคุณต้องการจะใช้เงินก้อนนี้เมื่อไหร่?  ซึ่งสะท้อนไปสู่แผนการลงทุน เช่น หากต้องการลงทุนเพื่อมีเงินเก็บไว้หลังอายุ 60 ปี ย่อมมีกลยุทธ์ลงทุนที่ต่างจากความต้องการที่จะมีเงินเอาไปลงทุนธุรกิจอื่นในอีก 10-15 ปี

เสี่ยงแบบนี้ ลงทุนแบบไหน

พอรู้จักความเสี่ยงแล้ว เราก็สามารถพิจารณาได้ว่าการเลือกกองทุนแบบไหนถึงจะเหมาะกับเรา ได้แก่

ชอบความเสี่ยงต่ำ

กลยุทธ์การลงทุน – ตราสารหนี้ 100%

การลงทุนของคุณควรอยู่ในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุด เช่น ตราสารหนี้  หุ้นกู้ภาคเอกชน และสำคัญคือการคุ้มครองเงินต้นเต็มจำนวน  กลยุทธ์นี้แม้ผลตอบอาจไม่มากแต่ก็มีโอกาสที่จะขาดทุนน้อย มีผลตอบแทนสูงกว่าเมื่อเทียบกับการฝากออมทรัพย์

ความเสี่ยงปานกลาง

กลยุทธ์การลงทุน – ตราสารหนี้ 50% หุ้น 50%

คนกลุ่มนี้คือสายกลาง คือหาจุดสมดุลระหว่างตราสารทางการเงินและหุ้น ซึ่งเน้นการลดความเสี่ยงแบบเดียวกับกลุ่มแรก แต่มีการผสมผสานหุ้นเล็กน้อยเพื่อให้ได้ผลตอบแทนในช่วงที่สภาวะตลาดเป็นใจ มีความผันผวนเล็กน้อยแต่ความเสี่ยงยังคงต่ำ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเสถียรภาพของการลงทุนมุ่งหาผลตอบแทนและควบคุมความเสี่ยงในระยะยาว

หากลงทุนในหุ้น ก็เป็นแนวการลงทุนหุ้นปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental)  เหมาะกับผู้ที่ยังมีรายได้อยู่ แต่กำลังจะเกษียณหรือมีโอกาสต้องใช้งานในระยะเวลา 15-20 ปีขึ้นไป

ความเสี่ยงปานกลางค่อนข้างสูง

กลยุทธ์การลงทุน – หุ้น 70% ตราสารหนี้ 30%

เมื่ออยากได้ผลตอบแทนที่มากขึ้น คนกลุ่มนี้อาจมีการปรับพอร์ตบ่อยครั้ง เหมาะกับคนที่ยังมีกระแสเงินสด เช่นมีรายได้จากงานประจำ แต่ก็ยังลงทุนตามเทรนด์ขาขึ้นของตลาด อาจจะใช้ข้อมูลทางเศรษฐกิจมาช่วยในการวิเคราะห์เพื่อให้เข้าสู่เป้าหมายได้เร้วขึ้น และนอนว่านักลงทุนกลุ่มนี้ก็ต้องเผื่อใจไว้หากไมได้รับผลตอบแทนตามคาดในระยะเวลาอันสั้น

ความเสี่ยงสูง

กลยุทธ์การลงทุน – หุ้น 100%

สายแข็ง พร้อมรับทุกความเสี่ยงเช่นนี้ เหมาะสำหรับการลงทุน 100% รวมถึงกองทุนที่มีทรัพย์สินที่ซับซ้อน ทำความเข้าใจได้ยาก เช่น กองทุนรวมสินค้าโภคภัณฑ์ กองทุนรวมทองคำ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า

การลงทุนในกลุ่มนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีประสบการณ์สูง ฉ่ำฉองการลงทุน และน่าจะมีอายุไม่มากนัก และมีระยะเวลาการลงทุนที่ยาวนาน 20-30 ปีขึ้นไป

 

ทุกวันนี้การลงทุนมีหลายประเภท แม้กระทั่งกองทุนในแต่ละบริษัทหลักทรัพย์ยังมีจำนวนมากชนิดนับนิ้วไม่หมด ซึ่งถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่เชื่อมั่นในระบบ อย่างไรก็ดี หาก AI (Artificial Intelligence) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ ที่ช่วยวิเคราะห์ตลาด และช่วยลงทุน 

แพลตฟอร์ม Odini บริหารงานโดย บลน.โรโบเวลธ์ จำกัดก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ โดย Odini ให้บริการลงทุนแบบอัตโนมัติผ่าน 5 พอร์ตความเสี่ยง และผลตอบแทนที่เลือกได้ โดยเริ่มต้นผลตอบแทนเฉลี่ยที่ 4-12% ต่อปี เพื่อเป็นทางเลือกของการออมเงินระยะยาวกับการลงทุนที่ชนะเงินเฟ้อ และดอกเบี้ยเงินฝาก

สนใจเพิ่มเติม คลิกที่นี่

160041017937