'19 ก.ย.49' รัฐประหารร่วมสมัย ปลุกพลังนักศึกษาไล่รัฐบาล

'19 ก.ย.49' รัฐประหารร่วมสมัย ปลุกพลังนักศึกษาไล่รัฐบาล

เวลาทางการเมืองเดินทางรวดเร็วอย่างเหลือเชื่อ เพราะกำลังจะครบ “14 ปี แห่งการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549” ปฏิเสธไม่ได้ว่า เหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นประวัติศาสตร์หน้าสำคัญที่สุดครั้งหนึ่งของการเมืองไทย

 

เหตุที่เป็นเช่นนั้น เนื่องจากไม่มีใครคาดคิดว่าการรัฐประหารในประเทศไทย ที่หายไปประมาณ 15 ปีนับตั้งแต่การก่อการของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) เมื่อปี 2534 หรือแม้แต่ด้วยความเข้มแข็งทางการเมืองที่รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ซึ่งมีเสียงในสภามากกว่า 300 เสียง ที่คงไม่มีปัจจัยใดๆ มาล้มรัฐบาลได้ แต่ทุกอย่างก็พลิกผัน เพราะกองทัพได้ลุกขึ้นมารัฐประหาร ด้วยข้ออ้างเรื่องการทุจริต รวมไปถึงการแทรกแซงองค์กรอิสระ 

การรัฐประหารของกองทัพเมื่อ 14 ปีที่แล้ว ภาพที่ออกมานั้น ได้รับเสียงชื่นชมและดอกไม้จากประชาชน เนื่องจากกองทัพได้เข้ามาแก้ไขสถานการณ์ทางการเมือง ป้องกันไม่ให้ประชาชนลุกขึ้นมาห้ำหั่นกันเอง

ความสวยงามของการรัฐประหาร 2549 ถูกสร้างขึ้นโดยเสียงชื่นชมของกลุ่มบุคคลทางการเมืองที่เป็นปฏิปักษ์กับรัฐบาลทักษิณ ก่อนที่บุคคลบางส่วนจะได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ยิ่งไปกว่านั้น บางคนก็ยังมีตำแหน่งส.ว.มาจนถึงปัจจุบัน

 

อย่างไรก็ตาม ความสวยงามที่เกิดขึ้น ย่อมมีเหรียญอีกด้านที่ต้องพูดถึงเช่นกัน กล่าวคือ การรัฐประหารในเวลานั้น ได้ก่อให้เกิดกลุ่ม ภาคประชาชนต่อต้านรัฐประหาร” ขึ้นมาเช่นกัน โดยเฉพาะกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปก.) ที่เป็นการรวมตัวกันของกลุ่มบุคคลที่เคยเคลื่อนไหว และแสดงความคิดเห็นต่อต้านการรัฐประหาร 

จากนั้น เมื่อองค์กรนี้มีความใหญ่โตมากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากความไม่พอใจการรัฐประหาร จึงนำมาสู่การยกระดับเป็นแนวร่วมประชาชนต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ซึ่งนปช.ก็ยังคงสภาพความเป็นองค์กรภาคประชาชนมาจนถึงปัจจุบัน

ดังนั้น 19 กันยายน จึงกลายเป็นวันสำคัญทางการเมืองของกลุ่มหัวก้าวหน้า ที่ต้องการสร้างสัญลักษณ์ว่า 19 กันยายน 2549 ไม่ได้เป็นการรัฐประหารด้วยดอกไม้ แต่เป็นการทำลายระบบประชาธิปไตยอย่างสิ้นเชิง

19 กันยายน 2563 เป็นอีกครั้ง ที่มีการพยายามสร้างให้เป็นสัญลักษณ์และสร้างความทรงจำใหม่ด้วยการประกาศชุมนุมของกลุ่ม ธรรมศาสตร์และการชุมนุม” เพื่อเป็นการชี้ให้เห็นว่าประชาชนไม่เห็นด้วยกับระบบการเมืองที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งมีต้นเหตุมาจากการรัฐประหาร 2549 และสืบทอดมาถึงปัจจุบัน

ในแง่มุมของ 19 กันยายน บนมิติสัญลักษณ์ทางการเมืองนั้น ‘รศ.ดร.ยุทธพร อิสรชัยอาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มีมุมมองว่า การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เป็นการรัฐประหารที่เกิดขึ้นอย่างร่วมสมัย 

หมายความว่า การรัฐประหารครั้งนั้นเกิดขึ้นในช่วงชีวิตของกลุ่มนักศึกษาในปัจจุบัน โดย ณ วันที่เกิดการรัฐประหารเมื่อปี 2549 นักศึกษาจำนวนไม่น้อยเริ่มรับรู้และได้เห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

“เรียกได้ว่ากลุ่มนักศึกษามีความ “อิน” กับการรัฐประหาร 2549 บนความคิดที่ว่า เป็นจุดเปลี่ยนของการเมืองไทย ที่มีผลมาถึงปัจจุบัน มานานมากกว่า 10 ปี ด้วยเหตุนี้เราจึงไม่เห็นว่ากลุ่มนักศึกษามีการพูดถึงการประหารครั้งอื่นเท่าใดนัก เช่น การรัฐประหาร 2534 เป็นเพราะเขาไม่ได้ร่วมสมัยกับการรัฐประหารครั้งนั้น ทั้งที่การรัฐประหาร 2534 ก็มีความสำคัญต่อการเมืองประเทศไทยไม่น้อยไปกว่าการรัฐประหารครั้งอื่นๆ”

รศ.ดร.ยุทธพร ระบุถึงทางออกของปัญหาทางการเมืองในเวลานี้ว่า ทุกฝ่ายต้องเน้นการเปิดเวทีพูดคุยร่วมกัน รวมไปถึงเร่งให้เกิดการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องสำคัญที่เป็นที่สนใจของประชาชน ดังนั้น ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง