BBL

BBL

การออกตราสารกึ่งทุนเพื่อเพิ่มกองทุนขั้นที่ 1 มีต้นทุนแฝงที่สูงมาก

Event

BBL ออกตราสารหนี้พิเศษ 750 ล้านดอลลาร์เพื่อเพิ่มเงินกองทุนขั้นที่ 1

lmpact

ออกตราสารหนี้ด้วยเรตติ้งที่ตํ่าลง

ตราสารหนี้ที่ออกใหม่มีลักษณะใกล้เคียงกับหุ้นกู้ชั่วนิรันดร์ (perpetual securities) โดยให้อัตราผลตอบแทน 5% และมีคุณสมบัติพิเศษ "loss absorption" ที่ว่าผู้ซื้อตราสารนี้นี้จะไม่ได้รับชำระ (writedown) เมื่อเงินกองทุนขึ้นที่ 1 ของธนาคารลดลงต่ำกว่า 5.15% ซึ่งคุณสมบัติพิเศษนี้ทำให้ Moody’s ให้เรตติ้งของตราสารชุดนี้แค่ Ba1 (ต่ำกว่าเรตติ้งของหุ้นกู้ด้อยสิทธิ์ของธนาคาร 2 ขั้น)

การออกตราสารก่อให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับสถานะเงินกองทุน

ธนาคารทุกแห่งกำลังอยู่ในขั้นของการทดสอบเพียงพอของทุน (stress test) ในช่วงที่สภาวะเศรษฐกิจไม่ปกติ และมีความเสี่ยงด้าน NPL สูง โดยในกรณีของ BBL เงินกองทุนขั้นที่ 1 ได้ลดลงอย่างมากในช่วง 2Q63 หลังจากที่รวมบัญชีจากการซื้อกิจการธนาคารอินโดนีเซีย Permata Bank (Indonesia) เข้ามาในงบรวมใน 2Q63 โดยในปัจจุบัน เงินกองทุนขั้นที่ 1 อยู่ที่ 14% (ลดลงจาก 17% เมื่อสิ้นปี 2563) ถึงแม้ว่าเงินกองทุนขั้นที่ 1 ของ BBL จะยังสูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำของ ธปท. ที่ 9% แต่ธนาคารก็ยังเลือกที่จะเตรียมเงินทุนเอาไว้ในระดับสูงกว่าปกติในสถานกาณณ์ปัจจุบัน ซึ่งหลังออกตราสารหนี้ชุดนี้แล้วจะทำให้เงินกองทุนขั้นที่ 1 ของ BBL เพิ่มขึ้นอีก 0.85% ซึ่งการออกตราสารพิเศษเพิ่มเงินกองทุนขั้นที่ 1 ในช่วงนี้ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับสถานะเงินกองทุน และความสามารถในการจ่ายเงินปันผลงวดปี FY2563 ของ BBL

...และมีความเสี่ยงเรื่องการจ่ายเงินปันผลในปีนี้

BBL ถือเป็นหุ้นที่จ่ายปันผลสูง โดยอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลอยู่ที่ประมาณ 4-5% แต่เนื่องจากธปท. สั่งให้ธนาคารต่างๆ งดจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล บวกกับความกังวลเกี่ยวกับสถานะเงินกองทุนเราจึงคิดว่า BBL อาจจะตัดสินใจงดจ่ายเงินปันผลงวดปี FY2563 เพื่อเก็บเงินกองทุนเอาไว้ ซึ่งหากธนาคารจ่ายเงินปันผล 7 บาทต่อหุ้นจะทำให้เงินกองทุนขั้นที่ 1 ลดลงประมาณ 0.4-0.5%

Risks

สัดส่วน NPL ที่สูงเกิน 6% ทำให้เกิดผลขาดทุนจากการดำเนินงาน ในขณะที่เราคาดว่าเงินกองทุนขั้นที่ 1 ที่ต่ำกว่า 11% จะทำให้ธนาคารงดจ่ายเงินปันผล