'ไฮบริด มัลติคลาวด์' อาวุธลับ ทรานส์ฟอร์มองค์กรสู่ดิจิทัล

'ไฮบริด มัลติคลาวด์' อาวุธลับ ทรานส์ฟอร์มองค์กรสู่ดิจิทัล

โควิด-19 ส่งผลให้เศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัว และเข้าสู่ภาวะถดถอย ภาคธุรกิจจำเป็นต้องปรับตัว

แนะเคล็ดลับ 3 ข้อสู่ดิจิทัลคลาวด์

นายชาง กล่าวต่อว่า องค์กรต่างๆ เดินหน้าสู่การใช้งานคลาวด์เพื่อเร่งให้เกิดการปรับเปลี่ยนองค์กรเข้าสู่ระบบดิจิทัล เทนเซ็นต์ คลาวด์มีข้อแนะนำ 3 ประการ สำหรับองค์กรที่ต้องการสร้าง “ดิจิทัล คลาวด์ แพลตฟอร์ม” ดังนี้ โครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ที่เพิ่มขยายหรือปรับลดได้ (Scalable Cloud Infrastructure) การวางโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ที่สามารถปรับขนาดได้ในอนาคตจะช่วยสร้างความยืดหยุ่นในการเพิ่มหรือลดจำนวนทรัพยากรตามความต้องการ ช่วยเร่งกระบวนการการปรับเปลี่ยนองค์กรให้เกิดความรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ เสถียรภาพ และความปลอดภัย

แพลตฟอร์มที่มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน (Agile Distribution Platform) ช่วยเพิ่มความคล่องตัวให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงระบบได้จากทุกที่ โดยองค์กรสามารถตรวจสอบและบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ระบบเอดจ์คอมพิวติ้งอัจฉริยะที่เชื่อมต่อกัน (Connected Edge Intelligence) ช่วยปรับปรุงระบบประมวลผลข้อมูลพร้อมสร้างเกราะกำบังด้านความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยในการเข้าสู่ข้อมูลภายในองค์กร

นายวิลเลียม ลี ผู้อำนวยการด้านวิจัย จากไอดีซี กล่าวว่า การสร้างแพลตฟอร์มดิจิทัลในแบบไฮบริด มัลติคลาวด์ จะช่วยให้องค์กรสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ๆ และขับเคลื่อนการสร้างรายได้ในรูปแบบใหม่ผ่านความร่วมมือ และการสร้างสรรค์ นำเสนอสิ่งใหม่ๆ ร่วมกับพันธมิตรในระบบนิเวศนั้นๆ 

สู่องค์กรดิจิทัลอย่างสมบูรณ์

ขณะที่องค์กรต่างๆ เริ่มทำงานบนสภาพแวดล้อมแบบระบบไฮบริด มัลติคลาวด์ ที่สามารถทำงานประสานกันระหว่างคลาวด์จากหลากหลายแห่ง ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่องค์กรจะต้องเลือกสรรผู้ให้บริการคลาวด์ที่มีความน่าเชื่อถือเพื่อมารองรับการทำธุรกิจในยุคดิจิทัล

“ผู้ให้บริการคลาวด์จำเป็นต้องเสริมสร้างศักยภาพของตนเอง เพื่อสนับสนุนกลยุทธ์ในการนำระบบไฮบริด มัลติคลาวด์มาใช้ ขณะเดียวกันลูกค้าก็จำเป็นต้องมองหาตัวเลือกที่ให้ความยืดหยุ่นจากระบบคลาวด์แบบกระจายตัว (Distributed Cloud) ที่เชื่อมต่อกันได้ ดังเช่นเทนเซ็นต์ คลาวด์ ที่มีทั้งพับลิกคลาวด์ ดาต้าเซ็นเตอร์ขององค์กร และเอดจ์คอมพิวติ้ง โดยความยืดหยุ่นที่เพิ่มขึ้น จำเป็นที่จะต้องมีการวางแผนควบคุม และจัดการปริมาณงานอย่างทั่วถึงทั้งกระบวนการทำงานด้านไอที เพื่อผลักดันให้เกิดการปรับเปลี่ยนองค์กรเข้าสู่ระบบดิจิทัลได้อย่างสมบูรณ์ และก้าวสู่การเป็นดิจิทัล เอ็นเตอร์ไพรส์ ยุคนิวนอร์มอลอย่างเต็มรูปแบบ” นายชาง ทิ้งท้าย