‘ไทย-ออสเตรเลีย’ พันธมิตรด้านน้ำ-พลังงาน

‘ไทย-ออสเตรเลีย’ พันธมิตรด้านน้ำ-พลังงาน

‘ไทย-ออสเตรเลีย’ประกาศเป็นพันธมิตรด้านน้ำ-พลังงาน โดยออสเตรเลียให้คำมั่นกับไทยว่าจะเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางน้ำและพลังงานให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ทั้งในปัจจุบันและอนาคต

การจัดการทรัพยากรน้ำและพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพถือเป็นเรื่องสำคัญระดับชาติสำหรับทั้งไทยและออสเตรเลีย โควิด-19 ทำให้หลายประเทศมีความเสี่ยงต่อปัญหาทางน้ำอยู่แล้ว เช่น อุทกภัย ภัยแล้ง และความไม่มั่นคงด้านพลังงาน มีปัญหาเพิ่มมากขึ้น คำตอบส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาเหล่านี้คือการจัดการทรัพยกรทางน้ำและพลังงานอันมีค่าของเราให้ดียิ่งขึ้น

ผมมีความยินดีที่ไทยและออสเตรเลียกำลังก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของความร่วมมือด้านน้ำและพลังงานเพื่อช่วยขับเคลื่อนการฟื้นตัวหลังจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในทั้งสองประเทศอย่างยั่งยืน

ทั้งไทยและออสเตรเลีย ได้เริ่มดำเนินการปฏิรูปน้ำร่วมกัน ประเทศไทยมีความก้าวหน้าอย่างมีนัยสำคัญ โดยการผ่านพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำในปี2561 และการใช้แผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี ของประเทศ ภายใต้คำแนะนำของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ลุ่มน้ำเจ้าพระยาถือเป็นพื้นฐานของความเจริญรุ่งเรืองของประเทศไทย

ไทยและออสเตรเลีย ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการสร้างระบบข้อมูลน้ำในระดับชาติและระดับนานาชาติผ่านสทนช.และสำนักงานอุตุนิยมวิทยาและสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติออสเตรเลีย ในอนาคต ความร่วมมือของเราอาจขยายไปถึงการแบ่งปันประสบการณ์เกี่ยวกับข้อจำกัดการผันน้ำอย่างยั่งยืน การจัดการด้านบัญชีน้ำ การควบคุมความต้องการน้ำ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ จะเป็นประโยชน์อย่างมากและช่วยสนับสนุนนผลผลิตของลุ่มน้ำเจ้าพระยาในอนาคตควบคู่ไปกับการแสวงหาวิธีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งน้ำเพื่อใช้ด้านการเกษตรและอุปโภคบริโภคในครัวเรือน

การแลกเปลี่ยนทางเทคนิคที่มีคุณค่าเหล่านี้ จะได้รับการรับรอง โดยการลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคี ด้านน้ำในช่วงหลังของปีนี้ ขณะที่พลังงานก็เป็นหัวข้อสำคัญในการเสริมสร้างความร่วมมือระดับทวิภาคีและระดับภูมิภาค การควบคุมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างระมัดระวังจะช่วยให้เราพัฒนาระบบพลังงานที่มีประสิทธิภาพ

ในทศวรรษที่ผ่านมา เราได้เห็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่น่าทึ่งมากมาย และเมื่อไม่นานมานี “อลัน ฟินเคล” หัวหน้าคณะ นักวิทยาศาสตร์แห่งชาติออสเตรเลียได้นำเสนอวิสัยทัศน์ที่น่าสนใจเกี่ยวกับ “โลกพลังงานไฟฟ้า” ซึ่งขับเคลื่อนโดยระบบไฟฟ้าที่มีเสถียรและมีประสิทธิภาพที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้และสร้างคาร์บอนปริมาณต่ำ ประเทศไทย ถือเป็นประเทศผู้นำอาเซียน ซึ่งให้ความสำคัญกับพลังงานหมุนเวียน ออสเตรเลีย จึงประสงค์ที่จะทำงานอย่างใกล้ชิดกับไทยเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงนี้ร่วมกัน

ตลาดไฟฟ้าแห่งชาติของออสเตรเลีย (Australia’s National Electricity Market) ดำเนินการโดยใช้ระบบไฟฟ้าที่เชื่อมต่อระหว่างกันที่ยาวที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ทอดยาวกว่า 5,000 กิโลเมตรทางตะวันออกของออสเตรเลีย โดยผู้ดำเนินการด้านตลาดพลังงานของออสเตรเลีย( Australian Energy Market Operator)หรือเออีเอ็มโอ ที่กำกับดูแลตลาดพลังงานของออสเตรเลีย ระบุว่า ภายในปี2585 ประมาณ 96% ของพลังงานทั้งหมดในตลาดไฟฟ้าของออสเตรเลียจะมาจากพลังงานหมุนเวียนทั้ง 4 ประเภทได้แก่ พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ และพลังงานสะสม

การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่กำลังจะเกิดขึ้น โดยพลังงานหมุนเวียนของออสเตรเลียเติบโตในอัตราต่อหัวเร็วกว่าค่าเฉลี่ยของโลกถึงสิบเท่า และเนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่เป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทย บทเรียนจากการที่ออสเตรเลียกำลังใช้ระบบการจ่ายพลังงานไฟฟ้าและระบบไมโคร กริด( Micro Grid) จึงมีความสัมพันธ์และอาจเป็นประโยชน์กับประเทศไทย

นอกจากนี้ ยังมีความเป็นไปได้ในการน้ำไฮโดรเจนมาใช้เป็นเครื่องมือในการนำพลังงานสะอาดจากทวีปหนึ่งไปยังอีกทวีปหนึ่ง โดยสามารถนำไฮโดรเจนมาเป็นพลังงานทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับรถบรรทุก รถไฟ และเรือที่เดินทางระยะไกล ซึ่งเป็น เรื่องที่น่าสนใจของภาคการขนส่งในทั้งสองประเทศ

โดยรวมแล้ว ประเทศของเรามีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงมากมายในภาคพลังงานและมีศักยภาพที่ดีในการท างานร่วมกันอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น ออสเตรเลียตั้งอยู่ในทวีปที่มีลักษณะเป็นเกาะทำให้ไม่มีพรมแดนติดต่อกับประเทศใดๆ แหล่งทรัพยากรธรรมชาติของเรา อาทิ แม่น้ำสายต่างๆไม่ได้เชื่อมต่อกับประเทศอื่นๆ

เราตระหนักดีว่า การบริหารจัดการแหล่งน้ำและพลังงานอย่างเท่าเทียม เพื่อรองรับกับความต้องการของชุมชน อุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่เรื่องที่ง่าย ไทยและประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบากมากกว่า หนึ่งในตัวอย่างที่เห็นคือ แม่น้ำโขงที่ไหลผ่านเส้นพรมแดนของหลายประเทศ เช่นเดียวกับแม่น้ำหลักสายอื่นๆในภูมิภาค

แม่น้ำผูกโยงผู้คนที่อาศัยอยู่ตลอดริมฝั่งเข้าไว้ด้วยกัน และใครก็ตามที่สามารถควบคุมการไหลของแม่น้ำก็สามารถที่จะทั้งช่วยเหลือหรือทำร้ายประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ชายฝั่งแม่น้ำได้ ซึ่งนั่นจึงทำให้ความร่วมมือข้ามพรมแดน ความโปร่งใส และการแบ่งปันข้อมูลเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากยิ่งขึ้น

แม่น้ำโขงเปรียบเสมือนเส้นเลือดหลักที่หล่อเลี้ยงชุมชนที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ ไม่เพียงเป็นแหล่งน้ำจืดและที่อยู่อาศัยของปลา เป็นเส้นทางขนส่งสินค้าและผู้คน หรือแหล่งผลิตและจ่ายพลังงานเท่านั้น หากแต่แม่น้ำสายนี้ ยังมีคุณค่าทางวัฒนธรรมที่ลึกซึ งและยาวนาน อีกทั้งได้รับการเคารพนับถือจากชุมชนต่างๆริมฝั่งโขง และถูกยกให้เป็น “มารดา” ของพวกเขา ความอยู่รอดของผู้คนขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำ

รายงานจากองค์กรอิสระหลายฉบับเมื่อเร็วๆนี้ ชี้ให้เห็นว่าแม่น้ำสายนี้ กำลังตกอยู่ในภาวะวิกฤต ออสเตรเลียขอยืนหยัดเคียงข้างไทยในฐานะพันธมิตรที่จะช่วยบริหารจัดการระบบแม่น้ำโขงที่กำลังมีความเปราะบางมากขึ้นเรื่อยๆ โดยใช้ประสบการณ์ในการจัดการแม่น้ำที่ผ่านมา นี่จึงเป็นเหตุผลที่ออสเตรเลียเข้าร่วมเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นองค์กรร่วมมือข้ามพรมแดนระหว่างรัฐบาลเพียงแห่งเดียวที่จัดตั้งขึ้นตามสนธิสัญญาและมีอำนาจในการจัดการระบบแม่น้ำอย่างเท่าเทียมกัน นี่ยังเป็นเหตุผลที่ทำให้ออสเตรเลียให้การสนับสนุนไทยอย่างยิ่งในการฟื้นฟูยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี- เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) ซึ่งเป็นกรอบความร่วมมือของ 5 ประเทศลุ่มแม่น้้าโขงซึ่งเป็นสมาชิกอาเซียน

นอกจากนี้ ออสเตรเลีย ยังเป็นประเทศแรกที่ได้เข้าเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาของ ACMECS ในเดือนมิ.ย.ปี 2562 ทั้งยังเป็นเหตุผลที่ออสเตรเลียได้ทำงานร่วมกับประเทศในลุ่มน้ำโขงอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ทศวรรษที่1990 เพื่อพัฒนาความมั่นคงทางน้ำ อาหาร พลังงาน และสิ่งแวดล้อมทั่วอนุภูมิภาค

เมื่อเร็วๆ นี โครงการความร่วมมือดังกล่าวได้เริ่มดำเนินงานระยะใหม่ ด้วยกรอบงบประมาณ 50 ล้านดอลลาร์ ครอบคลุมระยะเวลา 8 ปีข้างหน้า ออสเตรเลียขอยืนหยัดเคียงข้างไทยในฐานะหุ้นส่วนที่ไว้ใจได้ เราทั้งสองเผชิญกับความท้าทายที่เหมือนกัน เราขอให้คำมั่นที่จะ เสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางน้ำและพลังงานให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ทั้งในปัจจุบันและอนาคตข้างหน้า