โพลล์ชี้ คนหาเช้ากินค่ำ เดือดร้อนที่สุด หากมีโควิดรอบ2

โพลล์ชี้ คนหาเช้ากินค่ำ เดือดร้อนที่สุด หากมีโควิดรอบ2

โพลล์ชี้ คนหาเช้ากินค่ำ-พ่อค้าแม่ค้า เดือดร้อนที่สุด หากมีโควิดรอบ 2

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” ร่วมกับคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ใครจะเดือดร้อน หากมีโควิด-19 รอบ 2” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 3–7 กันยายน 2563 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,315 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับกลุ่มในสังคมที่จะเดือดร้อน และมาตรการ/งบประมาณ การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ หากเกิดการระบาดของโควิด – 19 รอบที่ 2

การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 97.0

โพลล์ชี้ คนหาเช้ากินค่ำ เดือดร้อนที่สุด หากมีโควิดรอบ2

จากการสำรวจเมื่อถามประชาชนถึงกลุ่มที่จะเดือดร้อนมากที่สุด หากเกิดการระบาดของโควิด-19 รอบที่ 2 พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 43.12 ระบุว่าคนจนที่หาเช้ากินคํ่า , รองลงมาร้อยละ 14.68 ระบุว่าพ่อค้า–แม่ค้าทั่วไป ,ร้อยละ 9.66 ระบุว่ากลุ่มธุรกิจการท่องเที่ยว เช่น โรงแรม บริษัททัวร์ ไกด์ ร้านอาหาร เป็นต้น

ร้อยละ 8.59 ระบุว่า ผู้ที่ปัจจุบันยังคงตกงานอยู่ ,ร้อยละ 7.53 ระบุว่า กลุ่มผู้เปราะบางในสังคม เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ร้อยละ 5.02 ระบุว่า พนักงานบริษัท/พนักงานโรงงาน ,ร้อยละ 2.66 ระบุว่า นักเรียน/นักศึกษา ,ร้อยละ 2.59 ระบุว่า บุคลากร ทางการแพทย์/สาธารณสุข , ร้อยละ 2.51 ระบุว่า ผู้ประกอบอาชีพอิสระ , ร้อยละ 1.44 ระบุว่า เกษตรกร , ร้อยละ 1.29 ระบุว่า กลุ่มแรงงานต่างด้าว , ร้อยละ 0.76 ระบุว่า ข้าราชการ/เจ้าหน้าที่รัฐ และร้อยละ 0.15 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่ทราบ/ไม่สนใจ

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อมาตรการ/งบประมาณ การเยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบ หากเกิดการระบาดของโควิด – 19 รอบที่ 2 พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 33.54 ระบุว่า รัฐบาลจะไม่มีงบประมาณสำหรับมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ , รองลงมา ร้อยละ 30.80 ระบุว่า มาตรการ/งบประมาณการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจะเหมือนหรือเท่า ๆ เดิม

ร้อยละ 19.70 ระบุว่า มาตรการ/งบประมาณการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ จะน้อยลง ร้อยละ 13.16 ระบุว่า มาตรการ/งบประมาณการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจะมากขึ้น และร้อยละ 2.80 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่ทราบ/ไม่สนใจ .-สำนักข่าวไทย