ดราม่า 'ไอ้ไข่' วัดเจดีย์ ตกลงวัตถุมงคล 'จดลิขสิทธิ์' ได้จริงหรือ?

ดราม่า 'ไอ้ไข่' วัดเจดีย์ ตกลงวัตถุมงคล 'จดลิขสิทธิ์' ได้จริงหรือ?

ไขข้อข้องใจกรณี "ไอ้ไข่" วัดเจดีย์ จ.นครศรีธรรมราช จดลิขสิทธิ์แล้ว หลายคนสงสัยว่า ทำได้จริงหรือไม่ แล้วหากมีการ "ละเมิดลิขสิทธิ์" ผู้กระทำผิดจะถูกลงโทษอย่างไร

ท่ามกลางกระแส “ไอ้ไข่” วัดเจดีย์ .นครศรีธรรมราช รูปปั้นเด็กน้อยใส่แว่นดำ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่กำลังอยู่ในความสนใจของบรรดาคอ “หวย” และพ่อค้าแม่ขาย เพราะเชื่อกันว่า มีความขลังและให้เลขเด็ดแม่นๆ มาหลายงวด

โดยมีตำนานเกี่ยวกับไอ้ไข่จากหลายที่มา ซึ่งความนิยมและความเชื่อเหล่านี้กลายเป็นจุดขาย ที่ทำให้ไอ้ไข่ โผล่เป็นวัตถุมงคลที่วัดอื่นๆ ทั่วประเทศ จนวัดเจดีย์ ต้องหงายการ์ด “ลิขสิทธิ์” แสดงความเป็นเจ้าของ

เมื่อ “กรุงเทพธุรกิจออนไลน์” ตรวจสอบข้อมูลจากเว็บไซต์ "กรมทรัพย์สินทางปัญญา" พบว่า "วัดเจดีย์" ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ "ไอ้ไข่เด็กวัดเจดีย์" หลายรายการจริง โดยครอบคลุมทั้งรูปหล่อบูชา วรรณกรรม และผ้ายันต์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

หลายคนอาจสงสัยว่า “วัตถุมงคล” สามารถมีลิขสิทธิ์ ได้เหมือนสิ่งของทั่วไปหรือไม่ เมื่อเข้าไปดูข้อกฎหมายตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 พบว่า “ลิขสิทธิ์” เกิดขึ้นได้กับทุกสิ่งที่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด

  

160024391514

 

ลิขสิทธิ์จะเกิดขึ้นทันที เมื่อผู้สร้างสรรค์กระทำการใดๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่มโดยการใช้สติปัญญา ความรู้ ความสามารถ ความรู้และความอุตสาหะของตนเองในการสร้างขึ้น โดยไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น และเป็นไปตามที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครอง โดยไม่ต้องจดทะเบียน

 

ทั้งนี้ กฎหมายลิขสิทธิ์ จะให้ความคุ้มครองงานสร้างสรรค์ 9 ประเภทตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ งานวรรณกรรม (หนังสือ จุลสาร สิ่งพิมพ์ คำปราศรัย โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ฯลฯ) งานนาฏกรรม (ท่ารำ ท่าเต้น ฯลฯ) งานศิลปกรรม (จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ ภาพถ่าย ศิลปประยุกต์ ฯลฯ) งานดนตรีกรรม (ทำนอง ทำนองและเนื้อร้อง ฯลฯ) งานสิ่งบันทึกเสียง (เทป ซีดี ) งานโสตทัศนวัสดุ (วีซีดี ดีวีดี ที่มีภาพหรือมีทั้งภาพและเสียง) งานภาพยนตร์ งานแพร่เสียงแพร่ภาพ งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี วิทยาศาสตร์ หรือศิลปะ 

ในกรณีของ “ไอ้ไข่ วัดเจดีย์” ปรากฏเอกสารที่เรียกว่า “หนังสือรับรองการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์” เนื่องจากทางวัดมีการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาเป็นที่เรียบร้อยแล้วจริง ซึ่งอยู่ในประเภทหลัก "งานศิลปกรรม" และ "งานวรรณกรรม" ตามที่กฎหมายกำหนด 

มีทั้งหมด 11 รายการ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ดังนี้

  •  ประเภท : วรรณกรรม ลักษณะงาน: งานนิพนธ์ 

เรื่อง "ไอ้ไข่เด็กวัดเจดีย์" เลขทะเบียน .043459

  •  ประเภท: ศิลปกรรม ลักษณะงาน: จิตรกรรม 

1. ผ้ายันต์ ไอ้ไข่เด็กวัดเจดีย์ แบบที่ 1 เลขทะเบียน 1.015552

2. ผ้ายันต์ ไอ้ไข่เด็กวัดเจดีย์ แบบที่ 2 เลขทะเบียน 1.015553      

3. ผ้ายันต์ ไอ้ไข่เด็กวัดเจดีย์ แบบที่ 3 เลขทะเบียน 1.015554

4. ผ้ายันต์ ไอ้ไข่เด็กวัดเจดีย์ แบบที่ 4 เลขทะเบียน 1.015555      

  •  ประเภท: ศิลปกรรม ลักษณะงาน: ประติมากรรม 

1. รูปหล่อบูชา ไอ้ไข่เด็กวัดเจดีย์เลขทะเบียน 2.004146

2. รูปหล่อบูชา ไอ้ไข่เด็กวัดเจดีย์เลขทะเบียน 2.004147

3. รูปหล่อลอยองค์ ไอ้ไข่เด็กวัดเจดีย์ ปี 2546 เลขทะเบียน 2.004148

4. เหรียญอาร์ม พระครูเจติยาภิรักษ์และไอ้ไข่เด็กวัดเจดีย์ ปี 2546 เลขทะเบียน 2.004149

5. เหรียญวงรี ไอ้ไข่เด็กวัดเจดีย์ ปี 2526 แบบที่ 1 เลขทะเบียน 2.004150

6. เหรียญวงรี ไอ้ไข่เด็กวัดเจดีย์ ปี 2546 แบบที่ 2 เลขทะเบียน ศ2.004151

ข้อมูลในข้างต้นทำให้สรุปได้ว่า “ไอ้ไข่” เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ อย่างไรก็ตาม การแจ้งข้อมูลนี้เป็นเพียงการแจ้งต่อหน่วยงานราชการว่า วัดเจดีย์ เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ไอ้ไข่ ในผลงานต่างๆ ที่แจ้งไว้ แต่ยังมิได้รับรองว่าผู้แจ้งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์แต่อย่างใด ดังนั้น หากมีข้อโต้แย้งหรือข้อพิพาทเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์จะต้องอาศัยการวินิจฉัยจากศาลซึ่งต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเป็นรายกรณีไป

160024546745

ที่มา: กรมทรัพย์สินทางปัญญา

  •  “วัด” จดทะเบียนลิขสิทธิ์ได้หรือไม่ 

คุณสมบัติของผู้สร้างสรรค์ตามกฎหมายเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ ในกรณีนิติบุคคล ต้องเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทย ซึ่งตาม ...คณะสงฆ์ฯ (มาตรา 31) กำหนดไว้ว่า วัดมีสองอย่าง คือ วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา และสำนักสงฆ์ และให้วัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล

ซึ่งเพจด้านกฎหมาย lawinspiration ได้เผยแพร่ข้อมุลไว้ว่า จากฐานข้อมูลของสำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติ ระบุว่า วัดเจดีย์ ตั้งวัดวันที่ 7 ตุลาคม 2517 และได้รับวิสุงคามสีมา วันที่ 7 พฤษภาคม 2557 โดยระหว่างที่วัดยังไม่ได้รับ วิสุงคามสีมา สถานะของวัดจะเป็นสำนักสงฆ์ ซึ่งถือว่าเป็นนิติบุคคลตามความหมายใน ... เช่นกัน ทำให้ "วัดเจดีย์" มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทย และสามารถยื่นจดแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ได้ 

  •  ละเมิดลิขสิทธิ์ “ไอ้ไข่” จะโดนอะไรบ้าง 

หากวัดเจดีย์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ไอ้ไข่จริง การละเมิดลิขสิทธิ์มีโทษทางอาญาทั้งจำคุกและโทษปรับแล้วแต่กรณี ซึ่งเจ้าของลิขสิทธิ์ยังมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายในทางแพ่งด้วย โทษทางอาญา เช่น การทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 200,000 บาท และหากทำเพื่อการค้าต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 4 ปี หรือปรับตั้งแต่ 100,000 บาทถึง 800,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ที่มา: lawinspiration ipthailand copyright.ipthailand กรมทรัพย์สินทางปัญญา