สธ. แถลงยืนยัน 'นักฟุตบอลไทยลีก' ติดเชื้อโควิด-19

สธ. แถลงยืนยัน 'นักฟุตบอลไทยลีก' ติดเชื้อโควิด-19

สธ. แถลงยืนยัน "นักฟุตบอลไทยลีก" ติดเชื้อโควิด-19 แบบไม่มีอาการ

แถลงข่าว "กรณีพบนักฟุตบอล ติดเชื้อโควิด 19 จากการตรวจคัดกรองก่อนไทยลีก โดย นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผอ.กองโรคติดต่อทั่วไป และ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ร่วมกับสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมป์ ได้ลงนาม MOU ความร่วมมือในการคัดกรองนักกีฬาไทยลีกส์ และผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการตรวจหาเชื้อก่อโรคโควิด-19 ด้วยวิธี RCTCR ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐาน
 
อย่างที่ทราบว่าจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ทั่วโลกไประยะหนึ่ง หลายเรื่องเรามีความรู้มากขึ้น กิจกรรมที่เคยหยุดก็กลับมาจัดใหม่ โดยเฉพาะฟุตบอล อย่างพรีเมียร์ลีกกำลังจะเปิด เราก็ดูประสบการณ์จากเค้า เวลาเค้าจะเปิดแข่ง สิ่งหนึ่งที่เค้าทำคือ การตรวจคัดกรอง ซึ่งการตรวจคัดกรองมีข้อดีคือ ถ้าตรวจเจอเชื้อ ก็แปลว่าคนนั้นติดเชื้อและมีโอกาสจะแพร่เชื้อ นี่คือหลักการ
 
ดังนั้นจึงได้มีการหารือกับสมาคมฟุตบอลฯว่า ในกรรมวิธีการตรวจ เราจะตรวจอย่างไรเพื่อให้แน่ใจมากที่สุด จนมาเป็นข้อสรุป ดังนี้ 1.ก่อนที่ไทยลีกส์จะเปิดเจะ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จะตรวจผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ซึ่งในรอบนี้ที่จะคิกออฟเปิดสนาม 12 กันยายน 2563 ทั้งลีก 1 และ 2 จะมีผู้ตัดสิน 114 คน ประเมินผู้ตัดสิน 31 คน ผู้ควบคุมการแข่งขัน 31 คน และทีมฟุตบอลอีก 28 ทีม
 
2.การตรวจครั้งเดียวมีประโยชน์ แต่ถ้าจะให้มีประโยชน์มากที่สุด คงต้องตรวจเป็นระยะ จึงตกลงกันว่าอย่างน้อยที่สุดตรวจก่อนเริ่มแข่งและปิดฤดูกาล และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จะตรวจระหว่างตรงกลางให้
 
โดยผลการตรวจรอบแรกที่ดำเนินการไปทั้งหมด 1,115 คน ไม่พบเชื้อ 1,114 คน โดยวิธี RTBCR และพบเชื้อ 1 คน เป็นนักฟุตบอลทีมบุรีรัมย์ยูไนเต็ด ชาวอุซเบกิสถาน เพศชาย อายุ 29 ปี ดังนั้นวิธีปฏิบัติตามกฎหมาย เมื่อพบเชื้อแล้วกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ต้องแจ้งผลไปที่เจ้าพนักงานตาม พ.ร.บ.ควบคุมโรคติดต่อ เพื่อไปดำเนินการสอบสวนควบคุมโรคต่อไป และแจ้งผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดจัดการเรื่องนี้ต่อไป
159982161474
159982556592
159982162833
นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กล่าวว่า เมื่ออธิบดีได้รับรายงาน ได้มอบหมายให้ทีมสอบสวนโรค ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งสำนักงานสาธารณสุขสมุทรปราการ สำนักงานสาธารณสุขบุรีรัมย์ และหน่วยงานในพื้นที่ ดำเนินการสอบสวนเร่งด่วนตั้งแต่เมื่อเช้า
 
โดยผลการสอบสวนพบว่า ผู้ติดเชื้อรายนี้เป็นเพศชาย อายุ 29 ปี อาชีพนักฟุตบอล มาจากประเทศอุซเบกิสถาน ได้รับอนุญาตเข้าประเทศไทย เนื่องจากมีใบอนุญาตทำงานและได้ปฏบัติตามเงื่อนไขที่ ศบค.กำหนด ได้แก่ การตรวจหาเชื้อก่อนการเดินทางภายใน 72 ชั่วโมง รายนี้ได้ตรวจก่อนการเดินทางประมาณ 48 ชั่วโมง เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2563 ซึ่งผลการตรวจที่ประเทศอุซเบกิสถานไม่พบเชื้อ ดังนั้นไปที่สนามบิน ตรวจคัดกรองก่อนขึ้นเครื่องพบว่าไม่มีไข้ และได้รับอนุญาตให้เดินทางมาถึงประเทศไทยเช้าวันที่ 13 สิงหาคม 2563 โดยวันดังกล่าวได้รับการตรวจคัดกรองจากเจ้าหน้าที่กรมโรคติดต่อ ที่ประจำสนามบินสุวรรรณภูมิ ไม่พบไม่มีไข้ และได้รับการส่งตัวไปสถานที่กักกันที่รัฐกำหนด ในกรณีนี้คือที่โรงแรมอนันทรา ริเวอร์ไซต์ เพราะว่าเสียค่าใช้จ่ายเอง ระหว่างการกักกัน วันที่ 13-27 สิงหาคม 2563 ปกติดี ไม่มีอาการป่วย ไม่มีไข้ ได้รับการตรวจหาเชื้อก่อโรคโควิด-19 ผลการตรวจไม่พบเชื้อทั้งสองครั้ง
 
เมื่อครบการกักกัน ผลเป็นลบไม่พบเชื้อ ทางสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ได้ส่งรถตู้พร้อมคนขับ 1 คน มารับ เดินทางตรงจากโรงแรมไปที่บุรีรัมย์โดยไม่มีการหยุดพัก ซึ่งระหว่างการเดินทางก็สวมหน้ากาอนามัย เมื่อถึงจังหวัดบุรีรัมย์ก็เข้าพักที่สถานที่ที่ทางสโมสรจัดหา
 
โดยกิจวัตรประจำวัน ช่วงวันที่ 28 สิงหาคม-9 กันยายน 2563 ช่วงเช้าอยู่บ้าน มักตื่นสาย ตอนกลางวันเพื่อนนักเตะชาวต่างชาติ 3 คน รับประทานอาหารด้วยกัน ซึ่งเป็นเพื่อนที่อยู่ใกล้ชิด ในช่วงเย็นเพื่อกลุ่มเดิมไปฝึกซ้อมที่สนาม ใช้เวลาในห้องแต่งตัวไม่น้อยกว่า 30 นาที ช่วงนี้จะไม่ได้สวมหน้ากากอนามัย หลังจากนั้นออกไปฝึกซ้อมอีก 1 ชั่วโมง
 
การเดินทางหลังจากฝึกซ้อมเสร็จจะใช้รถยนต์ส่วนตัว เมื่อวนที่ 8 กันยายน 2563 ได้รับการตรวจหาเชื้อตามแนวทางที่สมาคมฟุตบอลและกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ดำเนินการ พบเชื้อในนักฟุตบอล แต่เพื่อที่ตรวจในวันเดียวกันและสต๊าฟอีก 41 คน ไม่พบเชื้อ
 
กิจกรรมอื่นที่เกี่ยวข้อง ในวันที่ 30 สิงหาคม 2563 มีนัดอุ่นเครื่องกับทีมราชบุรีฯ และวันที่ 5 กันยายน 2563 แข่งกับทีมขอยแก่น ที่สนามช้างอารีน่า ในวันที่ 10 กันยายน 2563 มีการเดินทางมามีแคมป์ที่ อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ โดยสายการบินแอร์เอเชีย เที่ยวบิน FD3521 เวลา 13.50 น. ออกเดินทาง เดินทางมาสนามบินดอนเมือง ผู้โดยสารทุกคนสวมหน้ากาก ไม่ได้รับประทานอาหาร เมื่อมาถึงมีรถบัส 2 คันมารับ มาสถานที่เก็บตัว เมื่อผลแล็บออก นักเตะถูกแยกตัวออกไปเมื่อวานนี้ตอนเย็น
 
ส่วนที่ดำเนินการแล้ว ในส่วนของกรมควบคุมโรคได้ดำเนินการเก็บตรวจอย่างซ้ำในวันนี้ในกลุ่มผู้ใกล้ชิด จะมีนักฟุตบอล 22 ราย สต๊าฟ 21 ราย รวมทั้งสิน 43 ราย เพื่อตรวจหาสารพันธุกรรม SARS-CoV-2 และ serology ส่วนการดำเนินการต่อไป จะเป็นการสอบสวนผู้สัมผัสเพิ่มเติม เช่น ผุ้โดยสารในเครื่องบิน เพื่อนักเตะ และสต๊าฟ ผู้สัมผัสในแคมป์เก็บตัว รวมทั้งผู้สัมผัสสถานที่ผู้ติดเชื้อไปและร้านอาหาร ทีมฟุตบอลราชบุรี และขอนแก่น

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ถ้าดูตามระยะเวลาของนักฟุตบอลคนนี้ จะมีประเด็นว่าเค้าติดจาดที่ใด โอกาสที่จะติดมี 2 ที่แน่ๆ คือ 1.ติดมาตั้งแต่ก่อนเดินทางเข้าประเทศไทย หรือ 2.ติดภายในประเทศไทย สำหรับในประเทศไทยเราสามารถควบคุมได้ค่อนข้างดี เราจะเห็นว่าเคสที่พบจริงๆ แทบจะไม่มี ถ้าบอกว่าติดตั้งแต่ก่อนเข้ามาประเทศไทย มีความเป็นไปไหม?

 

มีข้อมูลอันหนึ่งว่า ที่เราพูดกันเสมอว่าระยะฟักตัวของคนไข้เท่าไหร่ตั้งแต่เริ่มรับเชื้อจนมีอาการ หรือตรวจพบเชื้อ ส่วนใหญ่อยู่ที่ 2-7 วัน เป็นเปอร์เซ็นต์ที่เยอะ และมีส่วนน้อยพบที่หลัง 2-7 วัน ถ้าถามว่าระยะฟักตัวยาวนานกว่า 14 วันได้ไหม ตอบว่าได้ โดยระยะฟักตัว 14 วัน จะพบได้ 95% และอีกจำนวนหนึ่งค่อยๆ แสดงอาการหลัง 14 วันก็ได้

 

ยกตัวอย่างทำไมบางประเทศบอกว่าให้อยู่ในสถานที่กักกัน บางประเทศยึด 14 วัน บางประเทศ 21 วัน อย่างเช่นจีนในระยะหลังใช้ 21 วัน และหากถามว่าเมื่อถึง 21 วันแล้วจะ 100% หรือไม่ ก็ยังไม่ 100% เพราะฉะนั้นเมื่อถึง 21 วันแล้ว อาจพบไม่ถึง 1% ถ้ามาดูในไทม์ไลน์ของคนไข้คนนี้ ถ้าบอกว่าเค้าติดมาจากประเทศอุซเบกิสถาน การตรวจครั้งแรกเมื่อเดินทางมาถึงประเทศไทยแล้ว จะประมาณวันที่ 15-16 สิงหาคม 2563 ไม่พบ และมาตรวจครั้งที่สองเมื่อวันที่ 25-26 สิงหาคม 2563 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ 15-16 วันที่จากอุซเบกิสถาน ก็ยังไม่พบ แล้วเป็นไปได้ไหมถ้าเค้าตรวจพบหลังจากนี้ ก็บมีความเป็นไปได้ เราไม่ได้ตรวจวันที่ 28 สิงหาคม-8 กันยายน 2563 ซึ่งอาจจะพบก่อนหน้านั้นก็ได้ ซึ่งเค้าอาจจะติดเชื้อมาจากอุซเบกิสถาน

 

ถ้าดูโดยหลักการ ถ้าเค้าติดมาจากประเทศของเค้า ก็เป็นไปได้ ส่วนการติดในประเทศ เราก็ไล่หาต้นตอว่าเค้าจะติดจากใคร เพราะอยู่ในสถานที่กักกัน แล้วตอนที่อยู่ในสนามฟุตบอลก็มีวงจำกัด ที่เราพน้อมที่จะไปตีวงได้ ถ้าเชื้อมีก่อนหน้านั้น เราน่าจะตรวจพบจากคนที่อยู่ในสถานที่นั้นในก่อนหน้านั้นที่เป็นพาหะ ดังนั้นในความเห็นของผมคิดว่าเค้าน่าจะติดมาจาต้นทาง

 

โดยการตรวจเจอในเชิงรุกแบบนี้ ถือว่าเราโชคดีมากที่ตรวจเจอก่อน แล้วจะได้มีมาตรการต่างๆ ในการป้องกัน ประเด็นต่อมาถามว่าเราควอรันทีน 14 วันพอไหม โดยความเห็นส่วนตัว เราถือเอาประชากรกลุ่มใหญ่ที่เรากันได้ในเปอร์เซ็นต์ที่สูงแล้ว ถ้าเอาให้ใกล้ 100% ให้ขยับไปที่ 21 วัน ค่าใช้จ่ายจะเยอะมาก โดยหลังจาก 14 วันแล้ว เราจะบอกให้ผู้ที่มาจากต่างประเทศทุกคนให้ควอรันทีนที่บ้านอีก 14 วัน