'ยุทธพงศ์' ถล่มรัฐเอื้อเอกชนขยายสัญญาบีทีเอส 40 ปี ปม 'ปรีดี' ไขก๊อก

'ยุทธพงศ์' ถล่มรัฐเอื้อเอกชนขยายสัญญาบีทีเอส 40 ปี ปม 'ปรีดี' ไขก๊อก

"ยุทธพงศ์" ถล่มรัฐเอื้อเอกชนขยายสัญญาบีทีเอส 40 ปี ปม "ปรีดี ดาวฉาย" ไขก๊อก-จีทูจีเก๊จัดซื้อ "เรือดำน้ำ"

เมื่อวันที่ 9 ก.ย.63  การประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อซักถามข้อเท็จจริงหรือเสนอแนะปัญหาาต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในเรื่องวิกฤตทางทางาเศรษฐกิจและวิกฤตทางการเมือง โดยไม่ลงมติ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 152

สมาชิกยังคงสลับสับเปลี่ยนกันลุกขึ้นอภิปรายโดยมุ่งเน้นไปที่การแก้ปัญหาเศรษฐกิจและปัญหาปากท้องของรัฐบาล อาทิ นายนิคม บุญวิเศษ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคพลังปวงชนไทย อภิปรายถึงมาตรการเยียวยาของรัฐบาลโดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางที่ยังไม่ทั่วถึง ขณะที่ธุรกิจเอสเอ็มอีขนาดย่อยและขนาดกลางไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนตามที่มีการตั้งงบไว้ 5 แสนล้าน เพราะมีการตั้งเงื่อนไขว่าจะต้องเป็นกิจการที่เป็นหนี้ตั้งแต่เดือนธ.ค.62 แต่การแพร่ระบาดของโควิดในไทยเกิดขึ้นเมื่อเดือนก.พ.2563 จนทำให้หลายกิจการปิดตัวลง

ดังนั้น แนวทางการแก้ไขของทีมเศรษฐกิจกิจจึงต้องคิดใหม่ โดยใช้เงินส่วนที่เหลือประมาณ 4 แสนล้าน ตั้งกองทุนมาช่วยเหลือคนกลุ่มนี้ แทนที่จะแจกเงินคนละ 5,000 บาท ซึ่งถือเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่ควรไปแก้ปัญหาระยายาวโดยการช่วยเหลือผู้ประกอบการเพื่อให้เกิดการจ้างงาน

ขณะที่ การกระตุ้นเศรษฐกิจรัฐบาลควรยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน และสร้างความมั่นใจให้ได้ว่าไทยไม่มีปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิดเพื่อสร้างบรรยากาศการท่องเที่ยวและการจ้างงานในธุรกิจท่องเที่ยว

ด้านนายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย อภิปรายใน 2 ประเด็น 1.การไม่รักษาวินัยการเงินการคลัง ไม่รักษาความสมดุล มีการก่อหนี้เพิ่ม โดยคาดว่าสิ้นปี 2564 จะมีการขาดดุลของงบสูงถึง 58% ซึ่งไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแลวินัยการเงินการคลัง และ 2.การดำเนินการของรัฐบาลยังเป็นการดำเนินการที่ไม่ได้อยู่บนหลักนิติธรรม เริ่มที่กรณีการต่อสัญญารถไฟฟ้าสายสีเขียวซึ่งมีการออกคำสั่งมาตรา 44 เป็นไปเพื่อเอื้อประโยชน์ให้บริษัทเอกชนบริษัทหนึ่ง มีการยกเว้นพ.ร.บ.ร่วมทุน รวมถึงแก้ไขสัญญา ซึ่งถือว่าผิดหลักนิติธรรมเพราะสภาได้เคยมีมติแล้วว่าไม่ให้ขยายสัญญาออกไป 40 ปีแต่กลับมีความพยายามที่จะดำนินการดังกล่าว

ขณะเดียวกันกรณีนี้ ที่นายอุตตม สาวนายน อดีตรมว.คลัง จะลาออกเมื่อวันที่ 15 ก.ค.2563 ได้มีความเห็นท้วงติงในเรื่องดังกล่าว โดยขอให้เลื่อนการลงนามเพื่อตรวจสอบในข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แต่นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมช.คลัง กลับลงนามสวนความเห็นนายอุตตมส่งเรื่องให้ครม.เพื่อดำเนินการต่อสัญญาอีก 40 ปี

จากนั้นเมื่อนายปรีดี ดาวฉาย เข้ารับตำแหน่งรมว.คลัง ก็ได้มีความเห็นขอให้ถอนเรื่องดังกล่าวออกเพื่อพิจารณากฎหมายที่เกี่ยวข้อง แต่กลับมีผู้ที่พยายามดันเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมครม.จนกระทั่งนายปรีดีตัดสินใจลาออกในวันที่ 1 ก.ย.

จึงขอถามว่านายสันติ ในฐานะรักษาการรมว.คลัง เหตุใดจึงไม่มีการตรวจสอบความถูกต้องแต่กลับเซ็นขยายสัญญาทั้งที่เป็นเรื่องผลประโยชน์ของประเทศ เรื่องนี้ผมเคยมีคำถามไปยังกระทรวงการคลัง อัยการสุด เพื่อขอให้ทบทวนข้อเท็จจริงถึงผลประโยชน์ว่า จะทำให้รัฐเสียเปรียบรัฐบาลจะยังเดินหน้าต่อในเรื่องนี้หรือไม่ 2.ตนมีข้อซักถามไปถึงนายปรีดี  รัฐบาลได้มีการตรวจสอบข้อซักถามเหล่านั้นหรือไม่ 3.การใช้คำสั่งตามมาตรา 44 ทั้งที่ยังมีพ.ร.บ.ร่วมทุนทำได้อย่างไรได้คำนึงถึงหลักนิติธรรมหรือไม่ และ4.การดำเนินการที่เป็นไปในลักษณะเอื้อเจ้าสัวได้ยึดหลักกนิติธรรมหรือไม่

ถัดมาประเด็นการจัดซื้อ "เรือดำน้ำ" มีการดำเนินการไม่เป็นไปตามรูปแบบจีทูจีซึ่งเข้าข่ายผิดกฎหมายไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรม นอกจากนี้ตนขอเรียกร้องไปยังนายกฯในฐานะรมว.กลาโหมให้นำเอกสารจีทูจี(ฟูลพาวเวอร์) ทั้ง 2 ฝั่งมากแสดงเพื่อเป็นการยืนยันว่ามีการจัดซื้อรูปแบบดังกล่าวจริง

ขณะเดียวกันการจัดซื้อยังไม่มีการยึดข้อกฎหมายเพราะทางฝ่ายจีนก็ไม่ได้มีการแสดงหนังสือมอบอำนาจ ซึ่งอาจเข้าข่ายเป็นจีทูจีเก๊ โดยเฉพาะการลงนามกับบริษัท China Shipbuilding & Offshore International Co. Ltd กองทัพอ้างว่า ได้รับมอบอำนาจจากรัฐบาลจีน เหตุใดจึงปล่อยปะละเลยให้มีการลงนามกับบริษัทจีนแทนที่จะลงนามกับรัฐบาล