อสังหาฯ หวังผ่อนมาตรการแอลทีวี ดันตลาดบ้านแนวราบฮอต 

อสังหาฯ หวังผ่อนมาตรการแอลทีวี   ดันตลาดบ้านแนวราบฮอต 

สถานการณ์ภาคอสังหาริมทรัพย์ยังมีความเปราะบาง หลังจากตัวเลขไตรมาส 2 ปี 2563 กำไรของแต่ดีเวลลอปเปอร์ปรับตัวลดลงถ้วนหน้า

 จนทำให้ครึ่งปีแรกแม้จะมียอดขายเติบโต เพื่อเพิ่มเติมโครงการในมือเพื่อรอรับรู้รายได้( Backlog)ในอนาคตได้ แต่ก็ต้องแลกมากับการเฉือนกำไรตัวเองเพื่อระบาดสต็อกในมือดึงเงินสดมาเป็นสภาพคล่องไว้ให้ได้มากที่สุด

จากจำนวน 36 บริษัท ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ช่วงไตรมาส 2 ของปี 2563 มีรายได้รวม 72,822.65 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.39% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการกระตุ้นยอดโอน แบบลดราคาพิเศษ แต่เมื่อรวมรายได้รายได้ในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 ของทั้ง 36 บริษัท มีรายได้รวม 143,202.37 ล้านบาท ลดลง 19.27% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

โดยส่งผลทำให้กำไรสุทธิของทั้ง 36บริษัทลดลงในไตรมาส2ของปี25634,191.53ล้านบาท ลดลง54.34%เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน เมื่อรวมกำไรในช่วงครึ่งแรกของปี2563อยู่ที่10,714.80ล้านบาท ลดลง55.11%เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน

หากสถานการณ์ยังไม่ฟื้นตัวดีขึ้น ด้วยตัวเลขสต็อกคงค้างที่อยู่อาศัยสูง จากข้อมูลศูนย์ LPN Wisdom ยังคงค้างอยู่ในระบบ ณ ครึ่งปี 2563 จำนวน 216,576 ยูนิต คาดว่าสิ้นปี 2563 จะมีหน่วยคงค้างอยู่ที่ 225,000 ยูนิต ที่ต้องใช้เวลาในการระบายสต็อกประมาณ 39-42.4 เดือนหรือ ประมาณ 3-4 ปี ในอัตราการขายเฉลี่ย 5,300-5,550 ยูนิตต่อเดือน

ความยากลำบากในการดำเนินธุรกิจหลังผู้ประกอบการเปิดศึกสงครามหั่นราคาที่อยู่อาศัยก่อนหน้านี้แล้ว ทั้งการอยู่ฟรี 2 ปี ช่วยผ่อน ลดราคาถึง 50 % และการตลาดแบบแนวตลาดจำนวนไม่น้อย

โดยเริ่มมาโฟกัสตลาดที่ยังอยู่รอดและเป็นเลือกที่ปลอดภัย อย่างโครงการที่อยู่อาศัยแนวราบ ทั้งบ้านเดี่ยว ทาวโฮม และโฮมออฟฟิค แทนที่โครงการแนวสูง อย่างคอนโดมีเนียม ที่ไม่ตอบโจทย์วีถีชีวิตแบบใหม่ และขาดแรงซื้อจากกลุ่มต่างชาติ

ส่งผลทำให้ดีเวลลอปเปอร์รายเจ้ากันมาทำเปิดโครงการแนวราบในครึ่งปีหลัง 2563 กันมากขึ้น พร้อมทั้งส่งสัญญาณแรงจากสมาคมอสังหาฯจะพบนายกวานนี้ (8 ก.ย.) ซึ่งจะมีการเสนอผ่อนมาตรการคาดปลดล็อคการจำกัดวงเงินปล่อยสินเชื่อต่อสินทรัพย์ (LTV) ของแบงก์ชาติ, ปลดล็อคค่าธรรมเนียมโอน และจำนองโดยไม่จำกัดราคา เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงสินเชื่อที่อยู่อาศัย จากช่วงที่ผ่านมาการปฎิเสธสินเชื่อของสถาบันการเงินเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

รวมถึงการลดขนาดการขออนุญาตจัดสรรที่ดินขั้นต่ำสำหรับบ้านเดี่ยวและบ้านแฝดลงเป็น 40 ตารางวาและ 30 ตารางวาจากปัจจุบัน 50 ตารางวาและ 35 ตารางวา เพื่อลดราคาบ้านให้ถูกลง เพิ่มอำนาจซื้อ นอกจากนั้นยังของให้ปรับปรุงกฎเกณฑ์การทำ EIA และออกเกณฑ์ดึงต่างชาติเข้ามา ชี้อสังหาฯช่วยทำให้เงินหมุนเวียน

จากเดิมก่อนหน้านี้ทั้งภาครัฐและแบงก์ชาติได้ลดความเข้มงวด LTV และกระตุ้นยอดซื้ออสังหาฯ ลงมาบ้างแล้ว ด้วยการให้เฉพาะผู้กู้ร่วมไม่มีกรรมสิทธิ์ ไม่นับเป็นผู้กู้ การให้อัตราสินเชื่อ 10 % ให้กับสัญญาแรก ที่ราคาบ้านไม่เกิน 10 ล้านบาท เพื่อใช้ในการตกแต่งซ่อมแซมบ้าน ส่วนใครอยากมีบ้านหลังที่สองต้องมีประวัติกู้บ้านหลักแรกอย่างน้อย 2 ปี และคงเงินดาวน์ที่ 10 % แต่ยังไม่สามารถกระตุ้นกำลังซื้อได้

เจ้าตลาดคอนโดมีเนียม บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) หรือ AP ได้ประกาศจะรุกแนวรายชัดเจนจากการเปิดโครงการใหม่ในครึ่งปีหลังนี้ ถึง 27 โครงการแบ่งเป็น บ้านเดี่ยว 8 โครงการ, ทาวน์เฮ้าส์ 14 โครงการ และโครงการในต่างจังหวัด 5 โครงการ จึงทำให้มีการปรับเป้าการเปิดตัวโครงการ เพิ่มขึ้นเป็น 4.36 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ 3.5 หมื่นล้านบาท

เช่นเดียวกับ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) หรือ SPALI เน้นตลาดแนวราบเตรียมเปิดโครงการ 27 โครงการมูลค่า 9,000 ล้านบาท และลดโครงการคอนโดฯ เหลือ 3-4 โครงการจากเดิม 5 โครงการ ด้านบริษัทเอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SC เปิดโครงการแนวราบอีก 7 โครงการใหม่ มูลค่ากว่า 7,800 ล้านบาท

ดังนั้นในครึ่งปีหลังตลาดแนวราบจะคึกคักด้วยซัพพรายที่เพิ่มขึ้นเกือบทั้งอุตสาหกรรม แน่นอนว่าเป็นผลดีต่อผู้ที่ต้องการมีบ้าง เนื่องจากตลาดบ้านแนวราบเป็นตลาดที่มีความต้องการจริงไม่ได้ซื้อเพื่อลงทุนหรือเก็งกำไรเหมือนคอนโดฯ แต่สิ่งที่น่าวิตกมากกว่าคือการเข้าถึงสินเชื่อที่ยังเป็นปัญหาและเป็นจุดที่ผู้ประกอบการต้องการให้ผ่อนคลายลงมากกว่านี้