กลยุทธ์การลงทุนรายสัปดาห์ (8 ก.ย.63)

กลยุทธ์การลงทุนรายสัปดาห์ (8 ก.ย.63)

8-11 กันยายน: แนวโน้มทรงตัว/ลบเล็กน้อย และยังอ่อนแอกว่าหุ้นโลก

สรุปภาวะตลาดและมุมมองสัปดาห์นี้: ตลาดหุ้นไทยย่อลงเล็กน้อยในสัปดาห์ที่แล้ว เพราะถูกกดดันจากปัจจัยมหภาคภายในประเทศ อย่างเช่น i) กรณีที่นายปรีดี ดาวฉายลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแบบเหนือความคาดหมายหลังจากที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่งหมาด ๆ ii) แผนของรัฐบาลที่จะกลับมาเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวและผู้ป่ วยต่างชาติแบบมีเงื่อนไขมีความไม่แน่นอนมากขึ้นหลังจากที่สถานการณ์การติดเชื้อ COVID-19 ทั่วโลกแย่ลงและยอดผู้ติดเชื้อในเมียนมาร์เร่งตัวขึ้นอีกครั้ง สำหรับในสัปดาห์นี้ (8-11 กันยายน) เราคาดว่าดัชนี SET จะลงต่อจากปัจจัยลบดังต่อไปนี้  ปัจจัยแรก ประเทศไทยกลับมาเผชิญกับความเสี่ยงที่ COVID-19 จะกลับมาระบาดอีกครั้งหลังจากที่ในสัปดาห์ที่แล้วพบผู้ติดเชื้อชาวไทยหนึ่งราย และมีชาวเกาหลีสองรายที่มีผลตรวจเป็น
บวกหลังจากที่เดินทางกลับจากประเทศไทย   ปัจจัยที่สอง ราคาน้ำมันโลกลดลงอย่างมากในช่วงหลายวันที่ผ่านมาเนื่องจากเกิดกระแสความกังวลรอบใหม่เกี่ยวกับสถานการณ์การติดเชื้อ COVID-19 ซึ่งจะส่งผลลบในระยะสั้นต่อหุ้นกลุ่มพลังงานของไทย ปัจจัยที่สาม มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจไทยที่เพิ่งประกาศออกมาล่าสุดน่าจะส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยใน 2H63 น้อยมาก ทั้งนี้เนื่องจากการปรับ consensus EPS ในสัปดาห์ที่แล้วยังดูนิ่ง ๆ ในขณะที่สภาพคล่องทั้งในตลาดโลกและตลาดไทยยังคงเต็มตลาด  ดังนั้น เราจึงยังคงมองว่าดัชนี SET มี downside จำกัด ซึ่งเมื่ออิงจาก forward consensus EPS 12 เดือนข้างหน้าที่ 72.0 และแบบจำลองของเราที่อิงจากการอัดฉีดเม็ดเงิน QE จากทั่วโลก เราจึงประเมิน forward P/E ของตลาดหุ้นไทยเดือนนี้ที่ 17.5x โดยเรามองว่า downside ของดัชนี SET อยู่ที่ 1,260 จุด คิดเป็น earnings yield gap (EYG) 12 เดือน (เทียบกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี) ที่ 4.20%
ซึ่งใกล้เคียงกับ EYG เฉลี่ย 5 ปีย้อนหลังของตลาดไทย

ธีมการลงทุน ปัจจัย และกระแสข่าวสำคัญที่จะมีผลกับตลาดในสัปดาห์นี้:

(0) สภา congress ของสหรัฐจะเริ่มสมัยประชุมใหม่ในวันที่ 8 กันยายน โดยวาระเรื่องแพคเก็จเยียวยา COVID-19 รอบสองยังเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้น ๆ ในวันนี้ ทั้งสภาผู้แทน และวุฒิสภาของสหรัฐจะกลับมาประชุมกันอีกครั้งหลังปิดสมัยประชุมในช่วงฤดูร้อน โดยหนึ่งในวาระที่ได้รับความสำคัญอันดับต้น ๆ ในสมัยประชุมนี้คือมาตรการเยียวยา COVID-19 รอบสองซึ่งสภายังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงร่วมกันได้ในการประชุมเดือนสิงหาคม ทั้งนี้ ประเด็นสำคัญที่พรรค Democrats และ Republican มองต่างกันก็คือวิธีที่จะให้เงินอุดหนุนแก่ชาวอเมริกันที่ว่างงาน

(0/+) การตัดสินนโยบายการเงินของ ECB ในการประชุมวันที่ 10 กันยายน เราคาดว่าในการประชุมรอบนี้ ECB จะพิจารณาซื้อสินทรัพย์เพิ่มเติม ซึ่งรวมถึง Pandemic Emergency Purchase Plan (PEPP) เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ในยุโรปยังคงไม่นิ่ง และอาจจะมีการติดเชื้อยาวนาน
กว่าที่คาดไว้ก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ ก็ยังน่าติดตามว่า ECB จะมีการส่งสัญญาณการปรับนโยบายใด ๆหรือไม่ หลังจากที่ Fed ปรับนโยบายเพื่อเปิดทางให้เงินเฟ้ อสูงขึ้นเกินเป้ าชั่วคราวได้

(0/-) มีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเกิดการติดเชื้อ COVID-19 ภายในประเทศ เรามองว่าถ้าหากนักลงทุนน่าจะตอบรับในทางลบอย่างน้อยก็ในระยะสั้นต่อความเสี่ยงที่จะมีการติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศมากขึ้น หลังจาก i) มีรายงานข่าวว่ามีผู้ติดเชื้อชาวไทยหนึ่งรายในสัปดาห์ที่แล้ว และมีชาวเกาหลีสองรายที่มีผลตรวจเป็นบวกหลังจากที่เดินทางกลับจากประเทศไทย ii) สถานการณ์การติดเชื้อในเมียนมาร์รุนแรงมากขึ้น ซึ่งเป็นประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกับประเทศไทยยาวมาก

ธีมหุ้นที่เราสนใจ:

ถึงแม้ว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดใหม่ที่ออกมาจะมีมูลค่าไม่สูงนัก แต่หุ้นในกลุ่มที่เกี่ยวข้อง อย่างเช่น ท่องเที่ยว และการพาณิชย์ก็ยังคงน่าสนใจ เรามองว่าถ้า COVID-19 ไม่ระบาดระลอกสองในประเทศไทย ทั้งภาคการท่องเที่ยว การบริโภคภาคเอกชน และเศรษฐกิจไทยโดยรวมก็น่าจะผ่านช่วงที่เลวร้ายที่สุดไปแล้ว ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือ เราคาดว่าจะเห็นความคืบหน้าของการทดสอบวัคซีน และ มีการนำออกมาใช้ในช่วง 4Q63 และต้นปี 2564 ซึ่งจะเป็นสัญญาณบวกต่อหุ้นกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว และการบริโภค โดยในหุ้นกลุ่มดังกล่าว เราชอบ CENTEL*, MINT*, DOHOME* และ GLOBAL*