ยื่น 5 ข้อ เรียกร้อง 'นายกฯ' แนะเรียก รมว.อุตฯ ชี้แจง ครม.

ตัวแทนกลุ่มประชาสังคมปฏิรูปทรัพยากรและทองคำ เข้าร้องเรียนนายกฯ เหตุพบบริษัทดำเนินกิจการเหมืองทองคำผิดกฏหมาย พร้อมยื่น 5 ข้อเรียกร้อง แนะนายกฯเรียก รมว.อุตฯ ชี้แจงความกระจ่างต่อ ครม.

เมื่อวันที่ 8 ก.ย. 63 ตัวแทนกลุ่มประชาสังคมปฏิรูปทรัพยากรและทองคำ 20 คน จะเดินทางไปยื่นเรื่องต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้เร่งรีบดำเนินการเรียก นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าชี้แจงต่อนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี กรณีบริษัทเหมืองทองคำทำผิดกฎหมาย พ.ร.บ.แร่ 2510 มาตรา 43 มาตรา 57 และ มาตรา 138 ให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมต้องเพิกถอนประทานบัตร

ทั้งนี้จึงขอให้นายกรัฐมนตรีเร่งดำเนินการ5ข้อดังนี้

1 ขอให้ดำเนินการเพื่อให้ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ชี้แจงมายังท่านนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี สืบเนื่องจากกรณีบริษัท อัครารีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ขุดทำเหมืองในถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1301 และทางสาธารณประโยชน์เป็นการเอาไปซึ่งสินแร่ทองคำและเงิน การกระทำดังกล่าวเป็นการทำผิดกฎหมายพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 มาตรา 43 กรณีทำเหมืองทองคำนอกเขตประทานบัตร และกรณีเปลื่ยนแปลงแผนผังโครงการทำเหมืองอันเป็นการทำผิดกฎหมายพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 มาตรา 57 ซึ่งกรณีดังกล่าวเช่นว่านี้พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 มาตรา 138 ได้ให้อานาจหน้าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมต้องเพิกถอนประทานบัตร ซึ่งเมื่อถ้ามีการเพิกถอนประทานบัตรก็จะส่งผลทำให้บริษัท อัครารีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) สิ้นสิทธิที่เคยได้รับไปตามกฎหมายของประเทศไทย แล้วจะส่งผลทำให้ไม่มีประชาสังคมปฏิรูปทรัพยากรและทองคำ

อำนาจใดมาต่อรองกับประเทศไทยและจะไม่มีสิทธิ์ดึงประเทศไทยเข้าสู่อนุญาโตตุลาการในช่วงเวลาที่ผ่านมา ซึ่งตนและคณะได้ทำหนังสือบอกกล่าวไปยัง นายสุริยะ เพื่อให้ดำเนินการเพื่อเพิกถอนประทานบัตรตามอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และให้เร่งดำเนินการ เรียกค่าเสียหายในทางแพ่งจากบริษัท อัครารีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) เพื่อมาชดใช้คืนให้กับประเทศไทย แต่ปรากฏว่า นายสุริยะ กลับไม่ดำเนินการใดมาจนถึงขณะนี้และละเว้นไม่ดำเนินการ เพื่อเพิกถอนประทานบัตรจึงส่งผลให้บริษัท อัครารีซอร์สเซส จากัด (มหาชน) ยังคงมีสิทธิ์ต่อสู้กลับประเทศไทยในอนุญาโตตุลาการมาจนถึงขณะนี้ จึงขอให้นายกรัฐมนตรีเร่งดำเนินการให้ นายสุริยะ ชี้แจงข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่แท้จริงต่อนายกรัฐมนตรีและต่อคณะรัฐมนตรีให้ทราบด่วนที่สุด

2 ขอให้อาศัยความตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 มาตรา 138 ดำเนินการเพิกถอนประทานบัตรของบริษัท อัครารีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) เพื่อให้สิ้นสิทธิ์ที่เคยได้รับไปจากประเทศไทยและดำเนินการชี้แจงไปยังอนุญาโตตุลาการว่าบริษัท อัครารีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ได้ละเมิดข้อตกลงอันเป็นการทำผิดเงื่อนไขสัญญาท้ายประทานบัตร จึงเป็นการทำผิดกฎหมายของประเทศไทย มาแล้วตั้งแต่ต้น ก่อนหน้าที่ประเทศไทยจะถูกดึงเข้าสู่อนุญาโตตุลาการ

3 ขอให้เร่งดำเนินการพิจารณาถอดถอน นายสุริยะ ให้พ้นจากตาแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เนื่องจากมีพฤติกรรมละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศไทย

4. ขอให้เร่งดำเนินการพิจารณาทบทวนเพื่อรับรองร่างพระราชบัญญัติควบคุมแร่ทองคำและควบคุมการทำเหมืองแร่ทองคำ พ.ศ.ฉบับที่กลุ่มประชาสังคมปฏิรูปทรัพยากรและทองคำและ ประชาชน กว่า 1หมื่นรายชื่อ เคยเสนอมายังนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 ส.ค. 60 เพื่อให้ดำเนินการออกเป็นกฎหมายพิเศษในการปกป้องคุ้มครองทองคำให้เป็นทรัพย์สินเพื่อความมั่นคงของประเทศไทย ซึ่งในขณะนั้นอธิบดีกรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ได้ใช้อำนาจหน้าที่ชี้แจงเป็นเท็จมายังนายกรัฐมนตรีเพื่อไม่ให้รับรองร่างกฎหมายฉบับดังกล่าว โดยอ้างว่าซ้ำซ้อนกับพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2560 ซึ่งใน ข้อเท็จจริงกฎหมายทั้งสองฉบับไม่มีบทบัญญัติใดซ้ำซ้อนและไม่สามารถใช้ทดแทนกันได้ ซึ่งการชี้แจงอันเป็นเท็จดังกล่าว ประชาชนได้ร้องทุกข์กล่าวโทษดำเนินคดีกับ นายวิษณุ ทับเที่ยง อธิบดีกรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ไว้แล้วในขณะนี้

จึงขอให้นายกรัฐมนตรีเร่งดำเนินการทบทวน เพื่อรับรองร่างฉบับดังกล่าวให้ได้เดินหน้า เข้าสู่การพิจารณาในสภาเพื่อบังคับใช้เป็นกฎหมายสาคัญของประเทศไทยต่อไป และระหว่างการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติควบคุมแร่ ทองคำ และควบคุมการทำเหมืองแร่ทองคำ ขอให้ดำเนินการออกพระราชกำหนดทองคำ เพื่อคุ้มครองทองคำมหาศาลไว้ให้เป็นทรัพย์สินเพื่อความมั่นคงของประเทศไทยโดยห้ามมิให้บุคคลใดสินแร่ทองคำในประเทศไทยไปเป็นทรัพย์สินส่วนตนได้อีกต่อไป

5 ขอให้ตั้ง นายวิชา มาหาคุณ เพื่อสอบสวน 5 คดี ที่พนักงานอัยการและพนักงาน สอบสวนสั่งไม่ฟ้องคดีและสั่งฟ้องคดีโดยมิชอบ อันเป็นพฤติการณ์ใช้ดุลยพินิจโดยบิดผันข้อกฎหมายสั่งคดี โดยใช้ดุลยพินิจตามอำเภอใจมีเจตนาพิเศษที่จะช่วยเหลือผู้ต้องหาให้ไม่ต้องได้รับโทษในคดีอาญาซึ่ง ผู้ต้องหาคือบริษัท อัครารีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) กับพวก โดยเอกสารหลักฐาน ตนได้เคยยื่นมายังนายกรัฐมนตรีแล้วก่อนหน้านี้และจะนำเข้าชี้แจงต่อ คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงโดยละเอียดอีกครั้งหนึ่งทั้ง 5 คดี