กลยุทธ์การลงทุน (3 ก.ย.63)

กลยุทธ์การลงทุน (3 ก.ย.63)

มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดใหม่ : ไม่มีนัยสำคัญกับ GDP แต่เป็นบวกต่อหุ้นเชื่อมโยงการบริโภค + ท่องเที่ยว

เพื่อบรรเทาความกังวลเกี่ยวกับการลาออกของ รมว.คลัง รัฐบาลจึงออก 3 มาตรการกระตุ้นระยะสั้น เมื่อวันที่ 2 กันยายน คณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบศ. เปิดเผยสามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น
โดยมาตรการแรกเป็นรายละเอียดเพิ่มเติมของมาตรการที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติไปเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม ซึ่งจะมีการขยายเงินอุดหนุนค่าที่พักโรงแรมในประเทศ 40% เป็น 10 คืนจากเดิม 5 คืน และเงินอุดหนุนค่ากินเที่ยวเป็น 900 บาท/วัน สำหรับการเดินทางท่องเที่ยวในวันธรรมดา (600 บาท/วันสำหรับช่วงสุด
สัปดาห์) และเพิ่มเงินอุดหนุนค่าตั๋วเครื่องบินในประเทศเป็น 2,000 บาท/ที่นั่ง มาตรการที่สอง เป็นมาตรการใหม่เพื่อกระตุ้นการบริโภคด้วยการแจกเงินให้ประชาชนที่อายุ 18 ปี ขึ้นไปจำนวน 15 ล้านคน คนละ 3,000 บาท ให้ใช้ภายใน 4Q63 (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในย่อหน้าต่อไป) มาตรการที่สาม เป็น
แคมเปญกระตุ้นการจ้างงานผู้ที่จบการศึกษาใหม่ โดยรัฐจะช่วยจ่ายเงินเดือน 50% ในช่วง 12 เดือนแรกของการจ้างงาน ซึ่งมาตรการนี้รัฐจะใช้งบ 2.4 หมื่นล้านบาทเพื่อสนับสนุนการจ้างงานใหม่ 260,000 ตำแหน่ง

มาตรการแจกเงิน 3,000 บาทให้ประชาชนเพื่อกระตุ้นการบริโภคคิดเป็ น 0.3% GDP ปี 2563

ตามมาตรการกระตุ้นการบริโภคชุดใหม่ รัฐบาลจะโอนเงินผ่านกระเป๋ าเงินอิเล็กทรอนิกส์ให้กับประชาชน 15 ล้านคนที่ลงทะเบียนกับ application ของรัฐ แต่อย่างไรก็ตาม มีการกำหนดให้ใช้จ่ายได้วันละ 100-250 บาท ซึ่งหมายความว่ารัฐมุ่งเน้นไปที่กำลังซื้อของผู้บริโภคระดับล่างของไทย เราคิดว่าขนาดของมาตรการนี้ไม่มีนัยสำคัญกับเศรษฐกิจไทย เพราะมีน้ำหนักแค่ 0.3% ของมูลค่า GDP ปีนี้เท่านั้น เรามองว่าการจับจ่ายใช้สอยสินค้าที่มีราคาไม่สูงจะส่งผลดีกับร้านสะดวกซื้ออย่างเช่น CPALL* และสร้างสภาวะที่เป็นบวกต่อ TACC ซึ่งขายเครื่องดื่มอยู่ในสาขาร้าน 7-11 ในขณะเดียวกัน เราคิดว่าธุรกิจโรงแรมที่มีธุรกิจ QSR อย่างเช่น CENTEL* ก็จะได้อานิสงส์จากมาตรการกระตุ้นชุดใหม่นี้ด้วย

นายกรัฐมนตรีส่งสัญญาณว่าจะ “ไม่รีบ” แต่งตั้งรัฐมนตรีคลังคนใหม่ ซึ่งสะท้อนปัญหาคลื่นใต้นํ้าในพรรคร่วมรัฐบาลได้ในระดับหนึ่ง

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา บอกกับผู้สื่อข่าวเมื่อวานนี้ว่านโยบายเศรษฐกิจจะยังเดินหน้าต่อไปแม้ว่ารัฐมนตรีคลังจะลาออกไป และยังบอกอีกว่าจะแต่งตัวรัฐมนตรีคนใหม่ในเวลาที่เหมาะสม ซึ่งจากคำพูดของนายกฯ และกระแสข่าวเรื่องความแตกแยกในพรรคร่วมรัฐบาลทที่มีพลังประชารัฐเป็นแกนนำ ทำให้เราคิดว่านายกฯ จะไม่รีบแต่งตั้งรัฐมนตรีคลังคนใหม่ ซึ่งการที่ประเทศไม่มีรัฐมนตรีคลังจะเป็นปัจจัยที่กดดันความเชื่อมั่นของนักลงทุนไปอีกระยะหนึ่ง

ยังคง downside ของดัชนี SET เอาไว้ที่ 1,260 จุด แนวโน้มบวกของสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลก และสภาพคล่องในประเทศที่เต็มตลาดจะช่วยพยุงหุ้นไทยเอาไว้

ในขณะที่มูลค่าหุ้นใน SET ตึงตัว และปัจจัยความไม่แน่นอนทางการเมืองจะกดดันภาวะตลาดหุ้นต่อไปในระยะสั้น แต่เรามองว่าดัชนี SET มี downside จำกัดเพราะแนวโน้มบวกของสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลก และสภาพคล่องในประเทศที่เต็มตลาด ซึ่งเมื่ออิงจาก consensus EPS ในอีก 12 เดือนข้างหน้าที่ 72.0 และ PER เดือนกันยายนที่อิงตามแบบจำลองของเราที่ 17.5x เราประเมินว่า downside ของดัชนีSET จะอยู่ที่ประมาณ 1,260