เปิดแผนปฏิรูปพลังงาน ฟังความเห็นปิโตรเคมีระยะ 4

เปิดแผนปฏิรูปพลังงาน ฟังความเห็นปิโตรเคมีระยะ 4

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ร่วมกับคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ 13 ด้านจัดการประชุมประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อการปรับปรุงแผนการปฏิรูปประเทศ โดยคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ร่วมกับคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ 13 ด้านจัดการประชุมประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อการปรับปรุงแผนการปฏิรูปประเทศ โดยคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านพลังงานรับฟังความเห็นวันที่ 3 ก.ย.2563 ซึ่งมีการเสนอแผนการพัฒนาปิโตรเลียมระยะที่ 4 ด้วย

ร่างแผนการปฏิรูปประเทศด้านพลังงานฉบับปรับปรุงที่จะนำไปรับฟังความเห็นครั้งนี้ จะดำเนินการให้เสร็จภายในเดือน ธ.ค.นี้ ก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) และใช้เป็นแผนปฏิรูปประเทศช่วงปี 2564-2565

สำหรับการพัฒนาปิโตรเคมีระยะที่ 4 จะเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มจากทรัพยากรปิโตรเลียมในการพัฒนาเศรษฐกิจ ยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันของอุตสาหกรรมของไทย และสร้างรายได้ให้กับประชาชน พร้อมกับรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายแห่งอนาคต

การพัฒนาปิโตรเคมีระยะที่ 4 เป็นการดำเนินการต่อจากแผนพัฒนาปิโตรเคมีระยะที่ 1-3 (2523-2561) โดยข้อเสนอแนวทางดาเนินการปฏิรูปภาครัฐควรทำแผนพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีระยะที่ 4 ให้กับประเทศเพื่อให้เกิดการใช้ต่อยอดการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่มีอยู่พร้อมรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายในอนาคต แบ่งเป็น 3 แนวทาง คือ

1.การพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปพลาสติกและเคมีภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อเป็นการยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันของอุตสาหกรรมแปรรูปพลาสติกและเคมีภัณฑ์ของไทย พร้อมเสริมความเข้มแข็งของผู้ประกอบการแปรรูปพลาสติกและเคมีภัณฑ์เอสเอ็มอีให้ขยายไปสู่ตลาดใหม่ เช่น CLMV

ทั้งนี้ จะกำหนดให้เป็นนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมายในอนาคตที่มุ่งการใช้ชิ้นส่วนในประเทศมากที่สุด รวมทั้งผลักดันให้เกิดผู้ประกอบการแปรรูปพลาสติกและเคมีภัณฑ์รายใหญ่ รองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายผ่านมาตรการสนับสนุน เช่น การจับคู่ทางธุรกิจระหว่างอุตสาหกรรมเป้าหมายกับผู้แปรรูป

รวมทั้งควรมีการให้สิทธิประโยชน์ในการลงทุนแปรรูปพลาสติกและเคมีภัณฑ์ เช่น การนำเข้าเครื่องจักร การว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ เพื่อทดแทนการนาเข้าและรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยควรกำหนดสิทธิประโยชน์ในอุตสาหกรรมแปรรูปพลาสติกและเคมีภัณฑ์ให้เทียบเท่าสิทธิประโยชน์ของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ผลักดันเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) สำหรับพลาสติก และสนับสนุน ส่งเสริมและจัดให้มีหน่วยงานรับผิดชอบในการบริหารจัดการและคัดเเยกขยะอย่างถูกวิธี

159896681749

2.การพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีระยะที่ 4 พื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก เพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดกับฐานการผลิตปิโตรเคมีในพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกที่มีภาคเอกชนร่วมลงทุนการพัฒนาครบวงจร โดยคาดว่าการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีระยะที่ 4 ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกจะใช้เงินลงทุน 2-3แสนล้านบาท

ทั้งนี้ ให้มีการลงทุนอุตสาหกรรมปิโตรเคมีต้นน้าโดยลงทุนสร้างโรงงานปิโตรเคมีขั้นต้น ซึ่งเทียบเคียงกาลังการผลิตขนาดใหญ่ในโลก (World Scale) และเกิด Economy of Scale รองรับการลงทุนอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นกลางและขั้นปลายที่จะผลิตปิโตรเคมีชนิดพิเศษ และผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง โดยให้สิทธิประโยชน์การลงทุนเทียบเท่าสิทธิประโยชน์ใน สกพอ. เพื่อให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมได้เร็ว

รวมทั้งสนับสนุนอุตสาหกรรมโรงกลั่นในการปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อให้สามารถผลิตวัตถุดิบ (Naptha, LPG) ให้กับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเพิ่มขึ้น และทบทวนการจัดสรรสัดส่วนการปล่อยมลพิษทางอากาศในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม โดยเฉพาะการจัดสรรที่ไม่ได้มีการดาเนินโครงการและใช้จริง เพื่อนามาจัดสรรใหม่ให้โครงการที่จะดาเนินงานจริงนามาใช้และสร้างประโยชน์ รวมทั้งการขยายโครงสร้างพื้นฐาน ดังนี้ ประกอบด้วย

ผังเมือง : มีความชัดเจนของผังเมือง จ.ระยอง และนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด พร้อมเตรียมพื้นที่ที่บริหารจัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานรองรับ

ท่าเรือ : มีความชัดเจนในการต่อสัมปทานท่าเรือบริเวณมาบตาพุด

ระบบถนน : ลดความแออัดโดยการขยายและเชื่อมต่อถนนระหว่างนิคมอุตสาหกรรมไปท่าเรือแหลมฉบัง

ระบบราง : เชื่อมต่อท่าเรือน้ำลึกที่สาคัญ ระบบถนน ด้วยระบบรถไฟทางคู่ในการขนส่งผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีและขยายระบบรถไฟทางคู่ไปประเทศเพื่อนบ้านโดยผ่านพื้นที่ตั้งโรงงาน

ระบบน้ำ : จัดหาและพัฒนาแหล่ง น้าดิบ ให้เพียงพอต่อการขยายตัวของเมืองใหม่แหล่งท่องเที่ยว และภาคอุตสาหกรรมในอีอีซีและให้มีต้นทุนที่แข่งขันได้

ระบบไฟฟ้า : ต้องมีเสถียรภาพและราคาที่แข่งขันได้ รวมทั้งส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าในรูปแบบ Cogeneration

3.การกำหนดพื้นที่ใหม่สาหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีระยะยาว เพื่อส่งเสริมการกระจายรายได้ไปสู่ภูมิภาคอื่นเพิ่มเติมนอกเหนือจากพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก จึงควรมีการกาหนดพื้นที่พัฒนาที่มีศักยภาพเพิ่มเติม ซึ่งในอดีตรัฐได้เคยมีการศึกษาการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีใน Southern Seaboard

ทั้งนี้ เสนอให้ทำแผนพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีระยะที่ 4 ในพื้นที่ภาคใต้ในรูปแบบ “พื้นที่พัฒนาเชิงยุทธศาสตร์” เพื่อบูรณาการการพัฒนาความเป็นอยู่และรายได้คนในพื้นที่ทั้งด้านสังคม สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม และการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยให้มีหน่วยงานรัฐรับผิดชอบการจัดทำแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในพื้นที่ภาคใต้

สำหรับแนวทางการดำเนินการในปี 2563 สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) รายงานผลการศึกษาปิโตรเคมี ปี 2564 มีกรอบแผนการพัฒนาปิโตรเคมีระยะที่ 4 ในระยะยาวในอีอีซีภายในปี 2564 รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐเสนอแนวทาง มาตรการภาษีหรือไม่ใช่ภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนปิโตรเคมีระยะที่ 4 ต่อ ครม. ปี 2565 หน่วยงานผู้รับผิดชอบดำเนินการนโยบายมาตรการการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีระยะที่ 4