กลยุทธ์การลงทุน (31 ส.ค.63)

กลยุทธ์การลงทุน (31 ส.ค.63)

แนวนโยบายใหม่ของ ธ.กลางสหรัฐฯ เป็นบวกต่อตลาดหุ้นในระยะยาว

Fed เผยนโยบายใหม่ที่จะเปิดโอกาสให้เงินเฟ้ อสูงเกิน 2% ชั่วคราวได้

เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม Fed ประกาศว่า i) จะเปลี่ยนกรอบนโยบายที่ใช้มานานจากที่ยึดอัตราเงินเฟ้อเป้าหมายที่ 2% YoY (หมายความว่า FED มีแนวโน้มจะขึ้นดอกเบี้ยเมื่อไหร่ก็ตามที่ core PCE สูงเกิน 2% YoY) มาเป็นการใช้ ‘เป้าหมายเงินเฟ้อเฉลี่ย’ ซึ่งจะใช้ค่าเฉลี่ยของเงินเฟ้อในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งเป็นเป้าหมาย ii) Fed จะเลิกยึดแนวคิดเรื่องความสัมพันธ์แบบผกผันระหว่างการว่างงานและเงินเฟ้อซึ่งมีชื่อเรียกในเชิงเศรษฐศาสตร์ว่า Philips Curve ทั้งนี้ เพื่อทำความเข้าใจการตัดสินใจของ Fed เราพบว่า core PCE ของสหรัฐขยับขึ้นมาถึงจุดสูงสุดที่ระดับ 2% YoY เมื่อเดือนมกราคม 2562 และต่อมาเมื่อเกิด
สงครามการค้าและ COVID-19 ระบาด ก็ค่อย ๆ ลดลงเหลือ 1.3% YoY ในเดือนกรกฎาคม 2563  ดังนั้น เงินเฟ้อของสหรัฐในปัจจุบันจึงต่ำกว่าเป้า 2% มาเป็นเวลา 1.5 ปีแล้ว ดังนั้นระยะเวลาดังกล่าวจึงอาจจะเป็นช่วงเวลาที่ Fed จะยอมทนให้เงินเฟ้อสูงเกิน 2% ได้เมื่อไหร่ก็ตามที่เงินเฟ้อขยับขึ้นไปสูงเกินเป้าในอนาคต นอกจากนี้ Fed ยังดูเหมือนจะยอมรับสภาพการจ้างงานเต็มที่ของสหรัฐได้ตราบที่เงินเฟ้อไม่เร่งตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว

ไม่กระทบกับการดำเนินนโยบายการเงินของสหรัฐในระยะสั้น แต่แนวทางใหม่จะเพิ่มความยืดหยุ่นให้ Fed สามารถ ‘รักษาระดับดอกเบี้ยใกล้ศูนย์’ ในอีกสองสามปี ข้างหน้าได้

เรามองว่ากรอบนโยบายใหม่ของ Fed จะไม่กระทบกับการดำเนินนโยบายในอีก 6-9 เดือนข้างหน้าเพราะก่อนการประกาศ ตลาดเงินก็คาดเอาไว้อยู่แล้วว่า Fed จะคงอัตราดอกเบี้ยเอาไว้ที่ระดับปัจจุบันไปอีกสองปี และเมื่ออิงจากแนวโน้มค่ากลางประมาณการของ Fed ก็พบว่า core PCE ของสหรัฐอาจจะอยู่ในช่วง 1.4-1.7% ในปี 2564 และ 1.6-1.8% ในปี 2565  ดังนั้น เราจึงมองว่าโอกาสที่ core PCE จะทะลุ 2% และยืนต่อเนื่องเป็นเวลานานค่อนข้างต่ำ ในขณะเดียวกัน นักเศรษฐศาสตร์ของเราก็มองว่ามีความเป็นได้ที่เงินเฟ้อสหรัฐในไตรมาส 2/64 จะทะลุเป้า 2% เนื่องจากฐานที่ต่ำมากของเศรษฐกิจและราคาน้ำมันใน 2Q63 ซึ่งในช่วงนั้น Fed อาจจะใช้ความยืดหยุ่นในการดำเนินนโยบายและคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเอาไว้เหมือนเดิมต่อไป

เนื่องจากเงินเฟ้อสามารถขยับขึ้นเกินเป้าได้ สหรัฐก็น่าจะทำ QE นานขึ้นเพื่อคุมไม่ให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุยาวพุ่งขึ้นสูงเกินเหตุ ซึ่งประเด็นนี้เป็นลบกับค่าเงินดอลลาร์ และจะส่งผลดีต่อสินทรัพย์เสี่ยง

ตั้งแต่ปลายสัปดาห์ที่แล้ว อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวของสหรัฐก็เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญสะท้อนถึง upside ของเงินเฟ้อจากกรอบนโยบายใหม่ของ Fed แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากตราสารหนี้และพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐจะยังคงท่วมตลาดในอีกสองสามปีข้างหน้า เราจึงเชื่อว่าสหรัฐไม่สามารถทนให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญได้ ในขณะเดียวกันกราฟของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุสั้นก็น่าจะทรงตัว เนื่องจากแนวทางการคงดอกเบี้ยใกล้ศูนย์ ส่วนการที่ Fed จะรักษาเสถียรภาพของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุยาวก็อาจจะต้องทำ QE นานขึ้น เราเชื่อว่า Fed จะรักษาแนวทางการทำ QE แบบไม่จำกัดวงเงินและระยะเวลาเอาไว้ต่อไปในระยะสั้น ซึ่งจะส่งผลลบกับค่าเงินดอลลาร์ และเป็นบวกกับสินทรัพย์เสี่ยง และสินทรัพย์ที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ

New normal และมูลค่าหุ้นที่ทำสถิติสูงสุดใหม่ของหุ้นไทยจะยังคงอยู่ต่อไป เราจะเผยเป้าดัชนีปีนี้ใหม่หลังจากที่ปรับประมาณการ EPS เสร็จ

การที่ Fed เปลี่ยนกรอบนโยบายรอบนี้ไม่น่าจะส่งผลกระทบกับมุมมองตลาดหุ้นไทยของเรา และเป้าดัชนี SET ในปีนี้ เรายังคงมองว่ามูลค่าตลาดหุ้นไทยจะยังคงอยู่ในระดับสูงจากการทำ QE ของรัฐบาลกลางทั่วโลกซึ่งจะส่งผลให้ forward PE ขยับสูงขึ้น ซึ่งเมื่อพิจารณาจากแบบจำลองเชิงปริมาณของเราพบว่า P/E 12 เดือนข้างหน้าในปลายปี 2563 อาจจะอยู่ที่ 18.3x ซึ่งหากอิงจากconsensus EPS ปี 2564 ที่ 76.0 ดัชนีเป้าหมายที่อิงจาก consensus ของผลประกอบการจะอยู่ที่ 1,390 จุด ทั้งนี้ เราจะเปิดเผยเป้าดัชนี SET ปี 2563 ใหม่ของเราในเร็ว ๆ นี้ หลังจากที่เราปรับประมาณการกำไรของบริษัทในตลาดเสร็จเรียบร้อยในสัปดาห์หน้า เรามองว่าดัชนี SET มี downside จำกัด และตลาดหุ้นน่าจะแข็งแกร่งมากขึ้นในช่วงที่เหลือของปีนี้ เนื่องจาก i) จะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมเพื่อให้มั่นใจว่าเศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว ii) ได้แรงกระตุ้นจากการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวและผู้ป่วยต่างชาติแบบมีเงื่อนไข เมื่อดูเป็นรายกลุ่ม เราชอบหุ้นกลุ่มท่องเที่ยว การพาณิชย์ และหุ้นบางตัวในกลุ่มโรงพยาบาลโดยหุ้นเด่นที่เรามองได้แก่ MINT*, CENTEL*, CPALL*, GLOBAL*, DOHOME* และ BDMS*ส่วนหุ้น big-cap ในกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ที่เราชอบคือ PTT* และ PTTGC*