สธ.เผยพบสารกำจัดศัตรูพืช 'พาราควอต'ตกค้างในทารกแรกเกิด

สธ.เผยพบสารกำจัดศัตรูพืช 'พาราควอต'ตกค้างในทารกแรกเกิด

สธ.เผย 5 ปีคนป่วยจากสารกำจัดศัตรูพืช กว่า 4 หมื่นราย ช่วง8เดือนปี63ป่วยเกือบ 5 พันราย อีสานเสี่ยงสุด พบพาราควอตตกค้างในเด็กแรกเกิดพื้นที่ใช้สารเคมีสูง เมื่ออายุ 5 เดือนพัฒนาการล่าช้ากว่าปกติ

เมื่อวันที่ 31 ส.ค. เวลา 10.50 น. ที่อิมแพคฟอรัม เมืองทองธานี ในการแถลงข่าวแสดงจุดยืนยกเลิกการใช้สารเคมี 3 ชนิดในภาคเกษตร คือ พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซตของนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรงสาธารณสุข พร้อมด้วย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และอธิบดีทุกกรมในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เนื่องจากกรณีที่นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รีฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะเสนอคณะกรรมการวัตถุอันตราย ให้พิจารณาทบทวนมติการแบน 3 สารเคมีอันตราย


นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค(คร.) กล่าวว่า มีการติดตามและสำรวจข้อมูลใน 2 ลักษณะ คือ ข้อมูลที่เกิดจากการให้บริการที่สถานพยาบาลและข้อมูลจ่ากการสำรวจ โดยเมื่อดูข้อมูลที่เกิดจกาการให้บริการของสถานบริการสาธารณสุข พบว่า ในช่วงระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี 2558-2562 มีผู้ป่วยโรคพิษจากสารกำจัดศัตรูพืชทั้งหมด กว่า 41,941 ราย แยกเป็นปี 2558 จำนวน 9,620 ราย ปี 2559 จำนวน 9,018 ราย ปี 2560 จำนวน 10,686 ราย ปี2561 จำนวน 6,609 ราย และปี2562 จำนวน 6,008 ราย จะเห็นได้ว่าข้อมูลในปี 2561-2562 ที่จำนวนผู้ป่วยลดลงก็จะสัมพันธ์กับการที่เริ่มดำเนินการในเรื่องการรณรงค์การไม่ใช้สารเคมีอันตราย ทำให้การนำเข้าลดลงก็จะเห็นชัดว่าผู้ได้รับผลกระทบลดลง ดังนั้น หากมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องจำนวนผู้ได้รับผลกระทบก็จะลดลงตามลำดับ


ส่วนข้อมูลของปี 2563 ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-29 ส.ค. พบว่า มีผู้ป่วยรวมทั้งสิ้น 4,933 ราย และหากพิจารณาเป็นรายพื้นที่พบว่าเสี่ยงที่สุด คือ เขตสุขภาพที่ 9 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองลงมาเป็นเขตสุขภาพที่ 1 ภาคเหนือ และเขตสุขภาพที่ 11 ภาคใต้ตอนบน เมื่อมาพิจารณาอัตราป่วยในกลุ่มสารกำจัดแมลง รวมถึงคลอร์ไพรีฟอส ก็จะพบว่าผู้ป่วย 2,951 ราย โดย 3 จังหวัดแรกที่มีอัตราป่วยสูงสุดอยู่ที่ จ.แม่ฮ่องสอน นครราชสีมา และลำปาง ในกลุ่มสารกำจัดวัชพืช รวมพาราควอตและไกลโฟเซต มีผู้ป่วย 889 ราย ใน 3 จังหวัดแรก คือ จ.แม่ฮ่องสอน นครศรีธรรมราชและหนองบัวลำภู


นพ.สุวรรณชัย กล่าวอีกว่า เมื่อปี 2562 มีการสำรวจผ่านอสม.ออนไลน์ใน 2 เรื่อง คือ 1.การใช้สารเคมีของครัวเรือนและ2.ครัวเรือนที่มีการใช้สารเคมีมีคนในครัวเรือนมีการผิดปกติอย่าไงบ้าง ทำการสำรวจช่วงเดือนม.ค. และก.ค. จำนวนครั้งละ 2,646,260 ครัวเรือน พบครัวเรือนที่ยังใช้สารเคมีทางการเกษตร 677,522 ครัวเรือน คิดเป็น 25 % ในส่วนความผิดปกติของคนในครัวเรือนที่มีการใช้สารเคมี พบว่า มีสมาชิกในครัวเรือนที่มีอาการผิดปกติหรือเจ็บป่วยที่อาจจะเกิดจากการสัมผัสสารเคมีอันตราย 3 ชนิดอาจจะสัมผัสชนิดใดหรือหลายชนิด โดยมีอาการมือสั่นร่วมกับเดินเซ จำนวน 12,554 คน ชาปลายมือปลายเท้า 79,645 คน ผิวหนังอักเสบ 22,569 คน เนื้อเน่า 641 คน ฟอกไตเป็นประจำ 2,349 คน มะเร็งเม็ดเลือดขาว 370 คน มะเร็งต่อมน้ำเหลือง 922 คน และปัญญาอ่อน 1,132 คน ซึ่งข้อมูลทั้งหมดนี้จะให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเข้าไปดูแลเพิ่มเติมพร้อมทั้งลดความเสี่ยง

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ในการตรวจทางห้องปฏิบัติวิเคราะห์การตกค้าง 3 สารเคมีอันตราย คือ พาราควอต คลอร์ไพรีฟอส และไกลโฟเซตในผักและผลไม้ โดยดำเนินการตรวจหลายครั้ง เช่น ปี 2562 ตรวจใน 8 จังหวัด พบพาราควอตตกค้างในผักผลไม้ 23 % ในเดือนก.พ.2563 มีคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรส่ง 30 ตัวอย่าง พบคลอไพรีฟอส 26.7% ในเดือนมิ.ย.2563 มีการส่งตัวอย่างมาตรวจอีก พบว่า มีการตกค้างไกลโฟเซต 4 ตัวอย่าง และขยายเครือข่ายการตรวจไปใน 41 จังหวัด พบคลอร์ไพรีฟอส ตกค้าง 13 % ไกลโฟเซตตกค้าง 4 %


ล่าสุด จากการประชุมเชิงวิชาการสารเคมีตกค้างและผลกระทบในแม่และเด็ก โดยจากการศึกษาของอาจารย์มหาวิทยาลัยหลายคณธพบว่าในพื้นที่ที่ทมีการใช้สารเคมีมาก มีการพบปัสสาวะของแม่มีสารตกค้างเป็นออแกโนฟอสเฟสที่เป็นสารกำจัดแมลง และเด็กทรกในครรภ์เมื่อคลอดออกมา พบว่าขี้เทาหรืออุจจาระเด็กที่เพิ่งคลอดมีพาราควอตตกค้าง และเมื่อติดตามต่อไป 5 เดือนพบว่ามีพัฒนาการล่าช้ากว่าปกติ เป็นสิ่งที่ย้ำเตือนว่าตกค้างในสิ่งแวดล้อมสุดท้ายเข้าสู่ห่วงโว่อาหกรและเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ ก่อเป็นอัตราย”นพ.โอภาสกล่าว