กสศ.สร้างครูรัก(ษ์)ถิ่นสู่ครูยุค 4.0

กสศ.สร้างครูรัก(ษ์)ถิ่นสู่ครูยุค 4.0

กสศ. ลงนาม10 สถาบันผลิตและพัฒนาครูโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น รุ่นที่ 2 “ร่วมมือ ร่วมใจ สร้างครูรุ่นใหม่หัวใจรัก(ษ์)ถิ่น” ให้เป็นครูยุค 4.0 ที่เป็นทั้งครูและผู้นำชุมชน ทำงานเชิงรุกลงพื้นที่ในบริบทสภาพจริง ย้ำมหาวิทยาลัยค้นหา คัดกรองเชิงลึกถึงชุมชน

วันนี้ (28 สิงหาคม 2563) นายสุภกร บัวสาย ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) รศ.ดร.ดารณี อุทัยรัตนกิจ ประธานอนุกรรมการกำกับทิศทางโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น กสศ. และ ผศ.ดร.พิศมัย รัตนโรจน์สกุล ผู้จัดการโครงการฯ ร่วมลงนามความร่วมมือกับ10 สถาบันผลิตและพัฒนาครูในโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น รุ่นที่ 2 ด้วยแนวคิด “ร่วมมือ ร่วมใจ สร้างครูรุ่นใหม่หัวใจรัก(ษ์)ถิ่น” ใน โครงการสร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับนักเรียนในพื้นที่ห่างไกลเป็นครูรุ่นใหม่ เพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนของชุมชน

รศ.ดร.ดารณี กล่าวว่า โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น รุ่นที่ 2 กสศ. ได้คัดเลือกสถาบันการผลิตครูที่เชื่อมั่นว่ามีศักยภาพ เหมาะสมที่จะผลิตครูตามเป้าหมายได้ทั้งสิ้น 10 สถาบัน ซึ่ง กสศ. มีเกณฑ์คัดเลือกที่ชัดเจน คือ ต้องเป็นสถาบันที่อยู่ในภูมิภาคที่เด็กสามารถมาเรียนได้ ไม่ห่างไกล และต้องเข้าใจภูมิหลังและบริบทของชุมชม

159860819519

นอกจากนี้ ในรุ่นที่ 2 กสศ. มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการลงพื้นที่ไปดูบริบทและสภาพจริงของทุกมหาวิทยาลัยที่ผ่านการพิจารณามากขึ้น โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิจากทุกภูมิภาคเข้ามาร่วมพิจารณาทุกสถาบันเพื่อความเป็นธรรม มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างสถาบันทั้งที่ได้รับคัดเลือก และไม่ได้รับคัดเลือก เพื่อให้สถาบันที่ไม่ผ่านเข้าร่วมโครงการในปีนี้ได้รู้ข้อบกพร่องและพัฒนาตนเองในปีถัดไป

“เกณฑ์การพิจารณาสถาบันที่ผ่านเข้าร่วมโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น รุ่นที่ 2 กสศ. ให้น้ำหนักลงไปที่การดูสภาพจริงเพิ่มขึ้นจากโครงการที่มหาวิทยาลัยเขียนส่งเข้ามาให้พิจารณา ทำให้เจอปัญหาบางสถาบันเขียนโครงการดีมาก พอลงไปดูสภาพจริงไม่เป็นไปตามแบบโครงการ เราเห็นความไม่สอดคล้อง ความไม่ทำงานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างผู้บริหารมหาวิทยาลัยกับอาจารย์คณะที่จะดำเนินการ บางแห่งเขียนโครงการมาไม่โดดเด่น แต่ลงไปดูแล้วโดดเด่น เพราะฉะนั้นสภาพจริงจึงมีความสำคัญกว่า”รศ.ดร.ดารณี กล่าว

ปีนี้ กสศ. ได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิทั้งอาจารย์มหาวิทยาลัย อดีตผู้อำนวยการเขต ศึกษานิเทศก์ อดีตผู้อำนวยการท้องถิ่นมาช่วยกันลงพื้นที่ไปประเมินและพิจารณา คณะกรรมการต้องดูตั้งแต่ความพร้อมของหลักสูตรและสถานที่ การทำงานเป็นทีมต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

รวมถึงสัมภาษณ์นักศึกษาปัจจุบันและบัณฑิตที่จบไปแล้ว ซึ่งกลยุทธ์ความเชี่ยวชาญและความชำนาญการของผู้ทรงคุณวุฒิจะมองออกว่าจากผลผลิตกับสิ่งที่มหาวิทยาลัยกำลังดำเนินการมีจุดเด่นหรือจุดด้อยอย่างไร เพราะฉะนั้นกระบวนการคัดเลือกสถาบันการศึกษา กสศ. ทำด้วยความรอบคอบ เพราะเรามีความเสี่ยงหลายอย่างในการทำงาน การลงทุนโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่นมีมูลค่าสูง กสศ. จึงต้องการบัณฑิตคุณภาพสูงเข้าไปทำงานตรงกับหน่วยงานด้วย

159860820162

รศ.ดร.ดารณี กล่าวเพิ่มเติมว่า หลังการลงนามความร่วมมือครั้งนี้ สถาบันผลิตครูทั้ง10แห่ง ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ , มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี , มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม , มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี , มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง, มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา , มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี , มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ต้องลงพื้นที่ไปค้นหาเด็กที่จะมาเรียนครูตามเกณฑ์ที่ กสศ. กำหนด

ตามปัจจัยขั้นพื้นฐาน คือ 1. ปัจจัยด้านความยากจน ต้องมีรายได้เฉลี่ยรายครอบครัวไม่เกิน 3,000 บาท/เดือน 2. เด็กทุนพร้อมกับผู้ปกครองต้องอยู่ในภูมิลำเนาอย่างน้อย 3 ปี 3. เกรดเฉลี่ยสะสม 5 เทมอ ไม่ต่ำกว่า 2.5 และ 4.ได้รับการค้นหาคัดเลือกโดยกระบวนการการมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น มีเป้าหมายปลายทางที่จะผลิตครูสู่โรงเรียนปลายทาง

ฉะนั้นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยต้องมีความเฉพาะเจาะจง นอกจากมาตรฐานกลางแล้ว ต้องมีสมรรถนะเฉพาะของครูรัก(ษ์)ถิ่น เป็นครูยุค 4.0 ที่ต้องเป็นผู้นำชุมชนได้ด้วย สอนได้ตั้งแต่ระดับปฐมวัยถึงระดับประถมศึกษา สอนได้แบบคละชั้นและทุกสาขาวิชา

กสศ. มีข้อระมัดระวังเป็นบทเรียนที่ได้จากการเรียนรู้รุ่นที่ 1 ถ่ายทอดไปยังรุ่นที่ 2 ว่ากระบวนการค้นหาอาจารย์มหาวิทยาลัยต้องลงไปค้นหาเด็กถึงพื้นที่ ไม่ใช่รออยู่มหาวิทยาลัยให้เด็กมาสมัคร โดยมีเป้าหมาย คือ 1.มหาวิทยาลัยต้องไปค้นหาผู้เรียนตัวจริงมา โดยการลงไปทำงานกับท้องถิ่น ผู้นำชุมชน กับครู

159860820862

2.เด็กต้องขาดแคลนจริง ต้องไปดูถึงบ้าน ไปสัมภาษณ์พ่อแม่ ศึกษาข้อมูลของเด็กจากชุมชน ให้ผู้นำชุมชน อย่างผู้ใหญ่บ้าน หรือผู้นำทางศาสนา มีส่วนร่วมในการพิจารณาคัดเลือก เพราะรู้จักคนในท้องถิ่นดี เพราะฉะนั้นเมื่อมหาวิทยาลัยลงไปค้นหาเด็ก มหาวิทยาลัยจะรู้บริบทของโรงเรียน รวมถึงครูในโรงเรียนที่เด็กต้องกลับไปบรรจุเป็นครู

เมื่ออาจารย์มหาวิทยาลัยรู้ว่าเราจะผลิตบัณฑิตของเราไปสอนเด็กแบบไหน อาจารย์ก็ต้องถอยมาออกแบบหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมตามบริบทของโรงเรียนและท้องถิ่น ซึ่งการสอนระดับปฐมวัยไม่ใช่สอนได้แค่อนุบาล โดยนิยามขึ้นถึงประถมต้น มหาวิทยาลัยก็ต้องปรับหลักสูตร หรือเพิ่มเติมวิชาต่างๆ เพื่อจะให้บัณฑิตที่จบออกไปมีองค์ความรู้ มีทักษะ หรือสมรรถนะที่จะสอนในชั้นประถมศึกษาได้ด้วย