SINGER

SINGER

อยู่ในช่วงเร่งเติบโตเพื่อเป็ นผู้เล่นหลักในธุรกิจ

Event

อัพเดตมุมมองบริษัทอย่างคร่าว ๆ

lmpact

เปลี่ยนมาใช้สินเชื่อจำนำทะเบียนเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโต

เราพบว่าธุรกิจของบริษัทมีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 3 รอบ โดยรอบแรกเกิดขึ้นในปี 2559 ซึ่งเป็นการค่อย ๆ เปลี่ยนกระบวนการทำงาน อย่างเช่น ระบบการจ้างพนักงาน ระบบการติดตามหนี้ และ NPL และการเพิ่มระบบการชำระเงินผ่านระบบ รอบสองเกิดขึ้นในปี 2562 ในรูปของการเปลี่ยนโครงสร้างเงินทุน เพื่อลดสัดส่วน D/E ลงมาเหลือ 1.6x ในปัจจุบัน และรอบที่สามเป็นการเปลี่นตัวขับเคลื่อนการเติบโตโ ดยหันมาเน้นสินเชื่อจำนำทะเบียนเพิ่มขึ้น ซึ่งสินเชื่อกลุ่มนี้คิดเป็นสัดส่วน 50% ของสินเชื่อรวม

ผลประกอบการฟื้นเพราะได้อานิสงส์จากการรับรู้รายได้ส่วนต่างกำไรจากการขายเครื่องใช้ไฟฟ้า

SINGER มีมาตรฐานบัญชีที่เป็นเอกลักษณ์ในการบันทึกรายได้ดอกเบี้ย และ upfront margin จากการขายเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน โดยบริษัทจะแบ่งการรับรู้รายได้ออกเป็นสองส่วน ได้แก่ 1.) รายได้ส่วนต่างกำไรครั้งแรกประมาณ 40% ในงบกำไรขาดทุน เมื่อขายเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ และจากนั้นจะรับรู้รายได้
ดอกเบี้ยเมื่อขายสินค้าโดยทำสัญญาเช่าซื้ออายุ 3 ปี โดยบริษัทเร่งทำรายได้ในลักษณะนี้เพิ่มขึ้นจากการขายเครื่องปรับอากาศใน 1H63 ทำให้ส่วนต่างกไร เพิ่มขึ้น และคิดเป็น 65% ของรายได้รวมใน 1H63

ตั้งเป้าเพิ่มสินเชื่อจำนำทะเบียนเชิงรุกใน 2H63

พอร์ตสินเชื่อของ SINGER มีมูลค่ารวม 4.6 พันล้านบาทใน 1H63 แบ่งเป็นสินเชื่อจำนำทะเบียน 46%,เครื่องใช้ไฟฟ้า 46% และสินเชื่อประเภทอื่น ๆ อีก 8% โดยในส่วนของสินเชื่อจำนำทะเบียนโตถึง 42% YTD และ 76% YoY ในขณะที่สินเชื่อเช่าซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าโต 25% YTD และ 27% YoY การที่สินเชื่อจำนำทะเบียนเติบโตในอัตราสูงส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเติบโตของการปล่อยกู้รถยนต์เป็นกลุ่มแบบ fleet ในธุรกิจการขนส่งสินค้าและการปล่อยกู้รถไถเพื่อการเกษตร ซึ่งให้ yield ประมาณ 16-17%(ระยะเวลาการปล่อยกู้ 4-5 ปี ) อุปสงค์ของสินเชื่อประเภทนี้เพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งเป็นเพราะผู้ประกอบการรายย่อยขาดแคลนเงินทุน และเรามองแนวโน้มสินเชื่อกลุ่มนี้เหมือนกับของ THANI และ SAWAD ทั้งนี้ SINGER ตั้งเป้าจะเพิ่มสินเชื่อจำนำทะเบียนอีก 1 พันล้านบาทใน 2H63 จาก 2.1 พันล้านบาทในปัจจุบันและตั้งเป้าจะเพิ่มอีกเท่าตัวในปี 2564

บริการ leasing ของเครื่องใช้ไฟฟ้ามีความเสี่ยง NPL สูง

ถึงแม้ว่า NPL จะมีแนวโน้มลดลงเนื่องจากมีการเร่งตัดหนี้สูญ แต่ก็ยังคงอยู่ในระดับสูงที่ 6.5% (ลดลงจาก 9.4% ใน 4Q62) ทั้งนี้ สัดส่วน NPL ของสินเชื่อจำนำทะเบียนอยู่ที่ 1% (เพิ่มขึ้นจากศูนย์ใน 4Q63) และของสินเชื่อเช่าซื้อ เครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 11.8% (ลดลงจาก 17% ใน 4Q63) ถึงแม้ว่าสินเชื่อจำนำทะเบียนจะเติบโตสูง แต่เราก็เป็นห่วง NPL จากธุรกิจ leasing เพราะจะถูกกระทบจากอุปสงค์ในประเทศที่อ่อนแอ

Risk

ต้นทุนในการระดมเงินทุนสูงอยู่ที่ 6.9% ความผันผวนของการตั้งสำรอง และการ write-off หนี้เสีย ผลขาดทุนจากการขายสินค้าที่ยึดกลับคืนมา และ NPL เพิ่มขึ้น