‘ชไนเดอร์’ แนะ ปฏิวัติดิจิทัล ปฏิรูปธุรกิจรับมือวิกฤติ

‘ชไนเดอร์’ แนะ ปฏิวัติดิจิทัล ปฏิรูปธุรกิจรับมือวิกฤติ

โควิดไม่ได้เปลี่ยนปัจจัยพื้นฐาน แต่ย้ำถึงความจำเป็นเรื่องการปรับตัว

นอกจากนี้ ประสิทธิภาพนับเป็นเรื่องสำคัญสำหรับอุตสาหกรรม และช่วงวิกฤติก็ยิ่งมีความเกี่ยวพันกันมากขึ้น เพื่อมองหาวิธีใหม ๆ ในการลดต้นทุน การเปลี่ยนสู่ระบบดิจิทัล คือ การสร้างประสิทธิภาพ และการบรรลุถึงประสิทธิภาพ 

โดยสามารถทำได้จากการผสานรวมสี่แกนเข้าด้วยกัน แกนแรก คือ การรวมพลังงานและระบบออโตเมชั่น เพื่อบรรลุรากฐานหลักของประสิทธิภาพใน 2 ประการ คือ พลังงาน และกระบวนการ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุน อีกทั้งยังช่วยควบคุมการใช้ทรัพยากรและการปล่อยคาร์บอน แกนที่สอง คือ การผสานรวมจุดเชื่อมต่อปลายทางไปยังคลาวด์ ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อในทุกจุดที่มีการวางระบบตั้งแต่ส่วนผลิตในโรงงานตลอดทั้งสายงาน ซึ่งจะทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างชัดเจนแบบเรียลไทม์

ภัยคุกคามขั้นพื้นฐาน

ขณะที่ แกนที่สาม คือ การผสานรวมวงจรการทำงานทั้งหมด ตั้งแต่การออกแบบและการสร้าง ไปจนถึงการดำเนินงานและการบำรุงรักษา เพื่อขจัดความไม่ต่อเนื่อง ความไร้ประสิทธิภาพในการเปลี่ยนจากต้นทุนเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ส่วนแกนที่สี่ คือ การเปลี่ยนการบริหารงานแบบเดิมจากที่แยกส่วนจัดการ ไปสู่แบบศูนย์การดำเนินงานแบบรวม เพื่อให้มีมุมมองในภาพใหญ่ในด้านการใช้พลังงานและทรัพยากร

ตริคัวร์ ชี้ว่าวิกฤตินี้ทำให้ตระหนักว่า กำลังเผชิญหน้ากับภัยคุกคามขั้นพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นโควิด-19 หรือการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ต่างเป็นภัยคุกคามหลักของสังคมที่เกิดขึ้นจากการเติบโตทางประชากร ซึ่งส่งผลให้เกิดการขยายตัวของเมืองและการกระจุกตัวอยู่ที่ศูนย์กลาง

"การเดินทางสู่ความยั่งยืน ต้องเริ่มจากการเปลี่ยนสู่ระบบดิจิทัล เพราะทุกสิ่งจำเป็นต้องอาศัยการประเมินเพื่อให้ทำงานได้อย่างเหมาะสมเต็มประสิทธิภาพ นำข้อมูลมาใช้เพื่อบริหารจัดการ พัฒนากลยุทธ์ตามความเหมาะสม

ขณะเดียวกัน วิกฤติสอนให้เรารู้ว่าความไว้วางใจและความร่วมมือเป็นรากฐานสำคัญของความยืดหยุ่น ความเสี่ยงด้านสุขอนามัยสร้างความกลัวและความวิตกกังวล แต่ในหลายๆ ประเทศ หลายสังคมและหลายบริษัทที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในช่วงวิกฤติ คือกลุ่มที่ทำงานด้วยความเชื่อมั่นในมาตรฐานสูงสุด 

โดยความเชื่อมั่นดังกล่าวเกิดจากการพัฒนาเพื่อสร้างศักยภาพให้กับคนในพื้นที่ เพื่อให้สามารถตัดสินใจในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ของตนได้ โควิด-19 ไม่ได้เปลี่ยนปัจจัยพื้นฐาน แต่เน้นย้ำถึงความจำเป็นในเรื่องของความคล่องตัวและการปรับตัว ภายใต้สภาวะเศรษฐกิจที่มีความกดดัน