background-default

วันพฤหัสบดี ที่ 18 เมษายน 2567

translatetranslate

'แรงงาน' ย้ำไม่ทิ้ง 'ต่างด้าวประมง' สั่งติดตามปัญหาขาดแคลนแรงงาน  

'แรงงาน' ย้ำไม่ทิ้ง 'ต่างด้าวประมง' สั่งติดตามปัญหาขาดแคลนแรงงาน  

"สุชาติ" ยืนยันไม่ทิ้งแรงงานต่างด้าวประมง สั่งติดตามปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ไม่ได้นิ่งนอนใจกับปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคประมง รวมทั้ง ปัญหาการค้ามนุษย์ โดยเร่งวางมาตรการขับเคลื่อนการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง โดยเฉพาะในกลุ่มแรงงานประมงทะเล 

เมื่อวันที่ 25 ส.ค. 63 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายสุทธิ สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงาน นายสุชาติ พรชัยวิเศษกุล อธิบดีกรมการจัดหางาน และผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงแรงงาน ลงพื้นที่จังหวัดระยอง สั่งติดตามปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคกิจการประมง ย้ำจะนำปัญหาที่ได้รับไปแก้ไขเพื่อให้เกิดความเหมาะสมและลดผลกระทบกับพี่น้องแรงงาน ให้มากที่สุด

"กระทรวงแรงงาน ไม่ได้นิ่งนอนใจกับปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคประมง รวมทั้ง ปัญหาการค้ามนุษย์ โดยเร่งวางมาตรการขับเคลื่อนการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง โดยเฉพาะในกลุ่มแรงงานประมงทะเล เพื่อให้การค้ามนุษย์หมดไปจากประเทศไทย รวมทั้ง ให้ความสำคัญกับการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในกลุ่มแรงงานต่างด้าวด้วย ซึ่งถึงแม้สถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศไทยจะเริ่มเบาบางลง แต่กระทรวงแรงงานจะยังคงคุมเข้มในมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในกลุ่มแรงงานต่างด้าวที่ทำงานในกิจการประมงทะเลอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยจะตรวจสอบแรงงาน ทั้งก่อนออกไปทำการประมงหรือหลังจากกลับจากการทำการประมง ณ ท่าเทียบเรือ ภายใต้การดำเนินการของ ศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้า-ออกเรือประมง (PIPO) จำนวน 30 แห่ง ใน 22 จังหวัดชายทะเล รวมทั้ง จัดเจ้าหน้าที่ลงตรวจสอบคัดกรอง เฝ้าระวังแรงงานต่างด้าว พร้อมประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้เกี่ยวกับโรคโควิด–19 เพื่อให้มีความรู้ และปฏิบัติตนตามคำแนะนำของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข โดยเจ้าหน้าที่จะคัดกรองเชื้อก่อนทำการตรวจใบอนุญาตทำงานของแรงงานต่างด้าว เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่น ซึ่งจากการตรวจสอบ ยังไม่พบการกระทำความผิด คนต่างด้าวมีใบอนุญาตทำงานถูกต้อง และยังไม่พบ แรงงานที่มีภาวะเสี่ยงและขอชื่นชมที่มีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในกลุ่มแรงงานช่วงที่ผ่านมาอย่างได้ผล และขอให้กำลังใจการปฏิบัติงาน เจ้าหน้าที่ที่มีความทุ่มเท ตั้งใจ เสียสละ และขอให้คงเข้มการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดเชิงรุกต่อไป เพื่อให้ทุกคนมีความปลอดภัยตามนโยบายของรัฐบาลที่จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง" นายสุชาติ ชมกลิ่น กล่าว

ด้าน นายสุชาติ พรชัยวิเศษกุล อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวเพิ่มเติมว่า จังหวัดระยองเป็นจังหวัดที่มีคนต่างด้าวเข้ามาทำงานมากเป็นลำดับต้นๆ ของประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานในจังหวัดระยอง ทั้งสิ้น 67,895 คน (นายจ้าง 12,024 ราย) โดยเป็น 1.แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ จำนวน 55,431 คน (กัมพูชา 39,582 คน เมียนมา 12,178 คน ลาว 3,671 คน) คิดเป็น ร้อยละ 81.64 จำแนกเป็น เข้าเมืองถูกต้องตามกฎหมาย (ตาม MOU) จำนวน 30,672 คน และ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2562 จำนวน 24,759 คน 2. คนต่างด้าวระดับฝีมือชำนาญการ จำนวน 11,109 คน คิดเป็นร้อยละ 16.36 และ 3. กลุ่มบุคคลพื้นที่สูง จำนวน 1,355 คน  คิดเป็นร้อยละ 2.00  ขณะที่มีแรงงานต่างด้าวในกิจการประมงทะเล จำนวน 6,835 คน มีความต้องการแรงงานประมง 3,580 คน

โดยประเภทกิจการที่คนต่างด้าวทำงานมากที่สุด 5 ลำดับแรก ได้แก่ 1. กิจการก่อสร้าง 10,728 คน 2. กิจการเกษตรและปศุสัตว์ 10,724 คน 3. กิจการต่อเนื่องการเกษตร 6,985 คน 4. กิจการต่อเนื่องประมง 5,305 คน 5. กิจการจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม 4,077 คน  สัญชาติที่เข้ามาทำงานมากที่สุด คือ กัมพูชา เมียนมา และลาว

ส่วนการนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานตามระบบ MOU ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2563 กรมการจัดหางานได้สั่งการให้ทุกจังหวัดงดการยื่นเรื่องนำเข้าแรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา  ทุกขั้นตอน จนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) สงบลง