ดีมาร์ทมือถือ-อุปกรณ์พุ่งไม่หยุด หนุนราคาหุ้นขึ้นยกกลุ่ม

ดีมาร์ทมือถือ-อุปกรณ์พุ่งไม่หยุด   หนุนราคาหุ้นขึ้นยกกลุ่ม

ตั้งแต่ปัจจัยไวรัสโควิด-19 เข้ามามีอิทธิผลกับการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้ประชาชนให้ความสนใจเรื่องอุปกรณ์และเทคโลโนยีเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว

เพื่อให้สอดคล้องกับวิธีชีวิตรูปแบบใหม่ หรือ นิว นอล มอล และมีโอกาสจะกลายเป็นเทรนระยะยาวต่อไปหลังพฤติกรรมประชาชนคุ้นเคยกับเทคโยโลยีมากขึ้น

จากสิ้นปี 2562 ฐานข้อมูล กสทช. มูลค่าตลาดสื่อสารทั้งหมดเม็ดเงินสะพัดกว่า 629,673 ล้านบาท โตจากปี 2561 ราว 2.57% รวมทั้งตลาดดีไวซ์ และเซอร์วิส ชี้ได้แรงหนุนจากเน็ตชายขอบ -เน็ตประชารัฐ ด้านผู้ใช้อินเทอร์เน็ตปี 2562 คาดทะลุ 50.8 ล้านคน ขณะที่ผู้ใช้งานมือถือพุ่ง 121.53 ล้านเลขหมาย

หลังเกิดการระบาดไวรัสโควิด-19 ปี 2563 มีการใช้แอพพลิเคชั่นออนไลน์จำนวนมากและหลากหลายโปรแกรมจนมียอดผุ้ใช้งานเพิ่มสูงอย่างชัดเจน จากรายงาน Digital 2020 Global Digital Overview โดย WeAreSocial x Hootsuite

ระบุว่า คนไทย 75% ของจำนวนประชากรในประเทศใช้โซเซียลมีเดีย ซึ่งค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 49%   ต่อจำนวนประชากรในประเทศ  

โดยใช้เวลา 2 ชั่วโมง 55 นาทีต่อวัน ค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 2 ชั่วโมง 24 นาที

ส่วนใหญ่ 54% ของคนไทยใช้สำหรับทำงาน สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 43% และแฟนบุ๊กป ( Facebook ) มีคนไทยใช้งานมากที่สุดเป็นอันดับ 8 ของโลก อยู่ที่ 47 ล้านบัญชี ซึ่ง98% ใช้งานผ่านมือถือ

ผลบวกจากประเด็นดังกล่าวทำให้หุ้นที่อยู่ในธุรกิจโทรศัพท์ และ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ซอฟแวร์ต่างๆ ได้รับความสนใจจากประชาชนจำนวนมากที่หันมาเลือกซื้อสินค้าในกลุ่มนี้ นำไปใช้ในการทำงาน ครอบครัว และชีวิตประจำวัน ให้เข้ากับพฤติกรรมลดการพบปะ

หรือการใช้งานทำธุรกรรมทางการเงินสุดฮิต อย่างโมบายแบงกิ้ง แบงก์ชาติ พึ่งประกาศห้ามมือถือเวอร์ชั่นต่ำ ระบบปฏิบัติการล้าสมัย และอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่เปิดสิทธิให้เข้าถึงระบบปฏิบัติการ (rooted/jailbroken)เข้าใช้งานแอพพลิเคชั่น เริ่มมีผล31ธ.ค. 2563 นี้ จนทำให้ธนาคารพาณิชย์ออกมารับลูกให้ลูกค้าเปลี่ยนคุณภาพของโทรศัพท์ใหม่

ผลดีจึงตกไปที่หุ้นในธุรกิจเหล่านี้จึงถูกมองว่ามีความต้องการบริโภคสินค้าในระดับที่สูงต่อเนื่อง สวนทางกับทิศทางเศรษฐกิจ จนราคาหุ้นบวกยกกลุ่มในช่วงนี้ ซึ่งผู้ค้าส่งรายใหญ่ บริษัท ซินเน็ค (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)  หรือ SYNEX มีรายได้ในไตรมาสแรกได้รับผลกระทบ แต่ในช่วงไตรมาส 2 หลังมีการปลดล็อกดาวน์มีความต้องการสินค้าไอที เพิ่มอย่างรวดเร็ว ทั้งสินค้าแท๊บเล็ต โน๊ตบุ๊ค อุปกรณ์ไวไฟ รวมไปถึงอุปกรณ์เกมก็ได้รับความนิยมมียอดขายเพิ่มขึ้น

ถัดมาธุรกิจค้าปลีกในตลาดเดียวกันทั้ง บริษัท คอมเซเว่น จำกัด (มหาชน) หรือ COM7 โดยเป็นผู้ได้รับอนุญาตจากแอปเปิ้ล อิงค์ ในการจำหน่ายสินค้าผ่านหน้าร้าน COM 7 มี Studio 7 มีถึง 100 สาขาทั่วประเทศ และยังเป็นผู้จัดจำหน่ายสินค้าให้กับพันธมิตรกว่า 200 ราย โดยมีจุดเด่นอยู่ที่การกระจายสินค้าไปยังแบนด์อื่นเพื่อลดความเสี่ยงจากสินค้าประเภทเดียว

ช่วงครึ่งปีแรกจากสถานการณ์ในประเทศกลับทำให้บริษัทขยายช่องทางขายสินค้าผ่านออนไลน์ และแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ชมากขึ้น การทำการตลาดที่แหวกแนวด้วยการเปิดให้เช่าอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในช่วงกักตัวอยู่บ้าน ทำให้กำไร 6 เดือนแรกของปี อยู่ที่ 562 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันปีก่อน 544 ล้านบาท

จุดเด่นอย่างหนึ่งคือการได้สิทธิขายสินค้าของแอปเปิ้ล และศูนย์ซ่อมอย่างเป็นทางการ ทำให้ลูกค้าสนใจเข้ามาใช้บริการซื้อสินค้ามากยิ่งในช่วงเปิดตัวสินค้าใหม่ๆ ซึ่งเดือน ต.ค. จะมีการเปิดตัวไอโฟน 12 เป็นครั้งแรก

และ บริษัท เจมาร์ท จำกัด (มหาชน) หรือ JMART ขายอุปกรณ์โทรศัพท์ และอุปกรณ์เสริมได้รับผลกระทบยอดขายหน้าร้านหายไป ด้วยจุดเด่นที่กลายเป็นจุดแข็งให้กับหุ้นคือซินเนอร์ยีธุรกิจในเครือ ทั้งบริษัทเจ เอ็มที เน็ทเวอร์ค จำกัด (มหาชน) หรือ JMT เป็นธุรกิจทวงหนี้ถือสัดส่วน 52.6 % และบริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SINGER ถือสัดส่วน 30 % ซึ่งทั้งสองบริษัททำกำไรทุบสถิติจนหนุนหุ้นแม่ และทั้ง 2 บริษัทยังได้ตั๋วเข้าไปคำนวณในดัชนีฟุตซี่ มี 18 ก.ย. นี้