โต้คลื่นผันผวนกับ ‘กองหุ้นยุโรป’

โต้คลื่นผันผวนกับ ‘กองหุ้นยุโรป’

สำหรับ“ตลาดหุ้นยุโรป” ในช่วงที่ผ่านมา เริ่มมีแรงหนุนจากการบรรลุข้อตกลงกองทุนฟื้นฟูเศรษฐกิจ(Recovery Fund) 7.5แสนล้านยูโร

เพื่อช่วยเหลือประเทศที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ในยุโรปรวมถึงมาตรการทางการเงินผ่านการเข้าซื้อพันธบัตรโครงการ PEPP วงเงิน 1.35 ล้านล้านยูโร ที่จะมีอย่างต่อเนื่องไปจนถึงอย่างน้อยเดือน มิ.ย. 2564 ช่วยหนุนสภาพคล่องในระบบ

พร้อมทั้งตัวเลขทางเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวสอดคล้องกับประเทศแกนหลังอื่นจะทำให้หุ้นขนาดใหญ่ได้ประโยชน์จากการกลับมาฟื้นตัวของเศรษฐกิจมากกว่าและก่อนหุ้นขนาดเล็กนอกจากนี้ราคายังอยู่ในระดับที่น่าสนใจ โดยซื้อ-ขายที่ระดับถูกกว่าหุ้นสหรัฐฯ และ Earning Growth ยังเติบโตได้อยู่

จากปัจจัยเชิงบวกดังกล่าวหนุนให้“กองทุนหุ้นยุโรป”ที่ยังทำผลตอบแทนถือได้ว่า “ดีที่สุด” ในทุกช่วงเวลา คือกองทุนเปิดเคยูโรเปียน(K-EUROPE )เมื่อพิจารณาผลตอบแทนหลัง ณ 30ก.ค. 2563(YTD)เฉลี่ยที่ -0.07% ,ช่วง 3 เดือนย้อนหลังเฉลี่ยที่12.85%,ช่วง6เดือนย้อนหลังที่ 0.6%,ช่วง 1 ปีย้อนหลังที่ 12.76%, ช่วง 3ปีย้อนหลังเฉลี่ยที่ 6.96% ช่วง 5 ปีย้อนหลัง เฉลี่ยที่ 5.19 %และตั้งแต่จัดตั้งกองทุน (ส.ค. 2556) เฉลี่ยที่8.49 %

ผลตอบแทนดังกล่าวสามารถเอาชนะดัชนีชี้วัด (ดัชนีS&P Europe Large Mid Cap Growth Net Total Return) ที่มีผลตอบแทน YTD เฉลี่ยที่ -2.99% หรือช่วง 1ปีย้อนหลัง เฉลี่ยที่5.71% ขณะที่ตั้งแต่จัดตั้งกองทุน ดัชนีชี้วัดมีผลตอบแทนเฉลี่ยที่7.58%

จุดเด่นของกองทุน K-EUROPEเป็น Feeder Fund เน้นลงทุนใน Allianz Europe Equity Growth, Class AT-EUR ซึ่งทีมจัดการกองทุนของAllianz Global Investorsมีประสบการณ์ในหุ้นยุโรปและทีมGrassroots Researchมีบทบาทสำคัญต่อการตัดสินในการลงทุนและได้รับการยอมรับในผลการดำเนินงานที่โดดเด่นจากทั่วโลก

นโยบายการลงทุนให้ความสำคัญกับการคัดเลือกหุ้นแบบ Bottom-up โดยการให้น้ำหนักของหุ้นแต่ละตัวขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัยหลัก มากกว่าการจับจังหวะตลาด คือ 1.ศักยภาพในการเติบโต (Structural Growth) 2.คุณภาพ (Quality) และ3.มูลค่า (Valuation) ขณะที่กลยุทธ์การลงทุนเน้นลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพเติบโตสูงและกองทุนหลักมีมุมมองการลงทุนระยะยาว 3-5 ปี และมุ่งเฟ้นหาบริษัทที่มีความสามารถเติบโตได้ในอนาคตที่จะสามารถผ่านพ้นวิกฤติต่างๆ ในปัจจุบันได้ และจะกลายเป็นหุ้นที่สร้างผลตอบแทนต่อกองทุนในระยะยาว ทำให้กองทุนหลักสามารถเอาชนะดัชนีชี้วัดได้อย่างสม่ำเสมอ

ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมาแม้จะมีวิกฤติต่างๆ กองทุน K-EUROPE สามารถปรับตัวได้ดี ด้วยปัจจัยสนับสนุนจากหุ้นกลุ่ม Semiconductor ที่เริ่มฟื้นตัว การลดค่าใช้จ่ายของบริษัทลงเพื่อสร้างกำไรที่มากขึ้น สำหรับสัดส่วนการลงทุน 5 อันดับแรก (ณ 19 ส.ค.2563 ) ในกองทุนหลัก ได้แก่ ASML HOLDING 6.61% , SAP 6.13% , NOVO Nordisk 5.33%, DSV 4.96% และ Infineon 4.43%

อย่างไรก็ตาม กองทุน K-EUROPE เหมาะกับนักลงทุนที่มีประสบการณ์การลงทุนในหุ้นต่างประเทศมาก่อน และเห็นศักยภาพการเติบโตในหุ้นยุโรป รวมถึงยอมรับความเสี่ยงได้สูง เนื่องจากกองทุนนี้ ยังมีความเสี่ยงที่ต้องระมัดระวัง จากที่เน้นลงทุนในภูมิภาคยุโรป จึงมีความเสี่ยงจากประเด็นต่างๆ ภายในภูมิภาค อาทิ สถานการณ์ระบาด หากเกิดการล็อกดาวน์รอบสองในวงกว้าง การที่ไม่สามารถจัดสรรเงินกองทุนฟื้นฟูได้ตามที่ตกลงกันไว้ (คาดจะตกลงกันแล้วเสร็จในเดือน ต.ค.นี้) และ Brexit ที่ยังไม่สิ้นสุด เป็นต้น

รวมทั้งความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (Exchange Rate Risk) เนื่องจากมีการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนไม่เต็มจำนวน (ไม่น้อยกว่า 75% ของมูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศ)

สำหรับค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจริงจากกองทุน K-EUROPE แบ่งเป็นค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายรวมทั้งหมด 1.07% ต่อปี และค่าธรรมเนียมการขายหน่วยลงทุน1.50 % ต่อปี ปัจจุบันมูลค่าสินทรัพย์สุทธิต่อหน่วยลงทุน (NAV) ของกองทุน อยู่ที่ 12.1095 บาทต่อหน่วย มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 2,721 ล้านบาท(ณ 19 ส.ค. 2563 )นโยบายของกองทุนมีการจ่ายปันผล

โดยสรุปแล้ว K-EUROPE เป็นหนึ่งในกองทุนที่ยังมีแนวโน้มการเติบโตดี และในจังหวะนี้สามารถทยอยเข้าลงทุนตามปัจจัยหนุนในอนาคต เชื่อว่าการลงทุนในระยะยาว 3 ปีขึ้นไป โดยมองข้ามความผันผวนในระยะสั้น น่าจะช่วยให้เงินลงทุนงอกเงยขึ้นได้อย่างสถิติที่ผ่านมา