BTS ยื่น รฟม.ค้านรื้อเกณฑ์ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม

BTS ยื่น รฟม.ค้านรื้อเกณฑ์ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม

“บีทีเอส”ทำหนังสือถึงขอความชัดเจนจาก รฟม.ถึงข้อเสนอค้านเปลี่ยนเกณฑ์ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ไม่ดูผลประโยชน์ทางการเงินสูงสุด ชี้ผู้ยื่นซองทุกรายมีประสบการณ์น่าเชื่อถือ

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทำหนังสือลงวันที่ 20 ส.ค.2563 เรื่องโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ถึงผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดยระบุถึงกรณีที่มีผู้ซื้อเอกสารข้อเสนอการร่วมลงทุนครงกรรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางชุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) รายหนึ่งทำหนังสือเพื่อให้พิจรณาปรับเปลี่ยนการประเมินและเปรียบเทียบผลประโยชน์ทางการเงินสูงสุดเป็นผู้ชนะการคัดเลือก แต่ควรพิจารณาปัจจัยและผลประโยชน์อื่น เช่น ข้อเสนอด้านเทคนิคร่วมด้วย 

จึงขอเรียนถาม รฟม.ว่า ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร เนื่องจากหากเป็นความจริง บริษัทฯ เห็นว่า ถ้าพิจารณาปรับเปลี่ยนวิธีการประเมินข้อเสนอดังกล่าว จะถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นสาระสำคัญและไม่เคยมีการดำเนินการลักษณะนี้กับโครงการโครงสร้างพื้นฐนขนาดใหญ่ที่เป็นโครการร่วมลทุนระหว่างรัฐและเอกชนมาก่อน

นอกจากนั้น บริษัทฯ เห็นว่า ผู้ที่จะเข้ายื่นข้อสนอในโครงการนี้ได้ต้องผ่านเกณฑ์ด้านต่างๆ ของ รฟม. ซึ่งต้องเป็นบริษัทหรือกลุ่มบริษัทที่มีศักยภาพและความเป็นไปได้ในการดำเนินงานสูง ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ที่บริษัทที่ผ่านเกณฑ์จะไม่ทำตามข้อเสนอที่ได้ยื่นต่อ รฟม. 

อีกทั้งบริษัทที่ยื่นข้อเสนอยังต้องมีภาระรับผิดชอบค้ำประกันต่อ รฟม.ด้วย และที่สำคัญการพิจรณาผู้ชนะการคัดเลือกโดยใช้ข้อเสนอทางเทคนิคทั้งๆที่ได้พิจาณากำหนดหลักเกณฑ์การพิจรณาผู้ชนะการคัดเลือกมาแล้ว จะเป็นช่องทางที่ส่อไปในทางไม่สุจริต ไม่เป็นธรรม หรืออาจเอื้อประโยชต่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดได้ การพิจารณาผู้เสนอผลประโยชน์ทางการเงินสูงสุด

กับรัฐให้เป็นผู้ชนะการประมูล จึงจะก่อประโยชน์สูงสุดแก่รัฐและมีความธรรมมากที่สุด บริษัทฯ จึงเห็นว่าเป็นการไม่สมควร ถ้หากจะปรับแก้วิธีการประเมินข้อเสนอดังกล่าว

นอกจากนี้ บริษัทฯ เห็นว่าการร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีสัมในครั้งนี้ จะมิใช่การจัดซื้อจัดจ้างกับหน่วยงานภาครัฐ แต่การยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการในข้อเท็จจริงข้างต้น เทียบเคียงได้ว่าเป็นการอุทธรณ์ ซึ่งแม้ไม่ได้มีกำหนดไว้ในกฎหมายร่วมลทุนก็ตาม คณะกรมการคัดเลือกควรต้องนำกฎกระทรวงการคลังกำหนดเรื่องการจัดซื้อจัตจ้างกับหน่วยงานของรัฐที่ใช้สิทธิอุทธรณ์ไม่ได้ พ.ศ.2560 มาใช้บังคับโดยอนุโลม และถือเป็นการอุทธรณ์ที่ไม่สามารถกระทำได้