ศธ. เดินหน้าลดเหลื่อมล้ำผู้พิการ ดึงเทคโนโลยียกระดับเข้าถึงการศึกษาพัฒนาตัวเอง

ศธ. เดินหน้าลดเหลื่อมล้ำผู้พิการ ดึงเทคโนโลยียกระดับเข้าถึงการศึกษาพัฒนาตัวเอง

"ณัฏฐพล" เดินหน้าลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาให้ผู้พิการ ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีพัฒนาตัวเอง สร้างโอกาสให้ทุกคนเสมอภาค เข้าถึงการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน ให้นักเรียนพิการและไม่พิการเรียนร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เมื่อวันที่ 20 ส.ค. 63 นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ว่าด้วยการจัดการเรียนร่วม และพิธีมอบทุนการศึกษา โดยมี นายขรรค์ ประจวบเหมาะ ประธานคณะกรรมการมูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์, นายอำนาจ วิชยานุวัติ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, นายอรรถพล ตรึกตรอง เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ผู้บริหารสถานศึกษา คณะครู และนักเรียน เข้าร่วมงาน ณ มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ถนนราชวิถี เขตราชเทวี

159790969690

นายณัฏฐพล กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการมีความมุ่งหมายให้เด็กทุกคน เข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ จึงให้ความสำคัญกับการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา เพื่อเป็นกลไกในการพัฒนาศักยภาพคน เพราะการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพจะทำให้มนุษย์เข้าสู่การพัฒนาและเติมเต็มศักยภาพสูงสุด โดยการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ระหว่างโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ กับโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ทั้ง 7 แห่ง จะเป็นแบบอย่างความร่วมมือในการจัดการศึกษาที่คิดและคำนึงถึงนักเรียน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง (No One Left Behind)

159790963789

นายณัฏฐพล กล่าวอีกว่า จากผลงานในนิทรรศการเห็นว่า นักเรียนที่มีความพิการทางสายตา สามารถนำเทคโนโลยีมาผสมผสา สามารถเรียนรู้สามารถเรียนร่วมกันกับนักเรียนที่ไม่พิการได้ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการลดความเหลื่อมล่ำในการศึกษา และต้องสนับสนันเพื่อให้เด็กพิการทางสายตาได้มีโอกาศนำเทคโลยีมาพัฒนาตัวเอง ที่ผ่านมาอาจจะมีปัญหาในส่วนของงบประมาณ แต่วันนี้ได้เห็นภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา ทำให้ทั้งโรงเรียนรัฐบาล และ โรงเรียนเอกชน รับนักเรียนที่พิการเข้าไปเรียนร่วมได้มากขึ้น สามารถพัฒนาการเรียนร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่กระทรวงศึกษาธิการ ต้องการขยายให้เกิดในกว้างให้มากขึ้น ที่ผ่านมาอาจจะยังไม่สารถทำให้กระบวนการเรียนรู้ลดความเหลื่อมสำหรับคนพิการลดลงได้มากเท่าที่ควร กระทรวงศึกษาธิการตั้งใจทำให้ช่องว่างนี้ลดลงให้มากที่สุดหรือหายไปเลย

นอกจากนี้ การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การศึกษา ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อร่วมกันดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี โดยเฉพาะยุทธศาสตร์ชาติ ข้อที่ 4 การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการมีแผนที่จะดำเนินการ อาทิ การพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ และใช้ดิจิทัลเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ที่นักเรียนทุกคน ทั้งที่มีความพิการและไม่มีความพิการสามารถเข้าถึง ร่วมเรียนรู้ และใช้ประโยชน์ได้

159790973123

สำหรับการสนับสนุนในการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในครั้งนี้ อันจะเป็นตัวอย่างของการจัดการศึกษาที่คำนึงถึงนักเรียนทุกคน รวมทั้งการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม (Inclusive Education) ที่มีความพร้อม ทั้งในโรงเรียนของรัฐและเอกชน โดยคำนึงถึงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ซึ่งรวมถึงความสำเร็จของนักเรียนที่มีความพิการ และนักเรียนที่ด้อยโอกาสอื่น ๆ เช่น นักเรียนยากจน และชนกลุ่มน้อยด้วย

นายขรรค์ ประจวบเหมาะ ประธานคณะกรรมการมูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ กล่าวว่า โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ ภายใต้การดำเนินงานของมูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ เป็นโรงเรียนเอกชนการกุศล มีนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสายตา จำนวนทั้งสิ้น 130 คน เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 2 ถึงประถมศึกษาปีที่ 6

1597909758100

ในส่วนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ได้ส่งนักเรียนไปเรียนร่วมกับเด็กนักเรียนที่ไม่มีความพิการ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จำนวน 4 โรงเรียน คือ โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย, โรงเรียนศรีอยุธยา ในพระอุปถัมภ์ฯ, โรงเรียนมัธยมวัดมกุฏกษัตริย์ และโรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคม รวมทั้งโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) จำนวน 3 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนเซนต์คาเบรียล, โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์ และโรงเรียนอัสสัมชัญ สมุทรปราการ

สำหรับพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงฯ ในครั้งนี้ เพื่อพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความรู้ มีทักษะในการสอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นในชั้นเรียนร่วม การร่วมกันสร้างสรรค์เทคโนโลยีอำนวยความสะดวก และนวัตกรรมสนับสนุนการเรียนร่วม รวมทั้ง การพัฒนาระบบการสนับสนุนนักเรียนพิการ (Disability Support System: DSS) ในโรงเรียนเรียนร่วม เพื่อเปิดโอกาสทางการศึกษาให้นักเรียนทุกคนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างแท้จริง

159790978199