“เอไอเอส”ปูพรม "5จี" ยกระดับอู่ตะเภาสู่ “สมาร์ทแอร์พอร์ต”

“เอไอเอส”ปูพรม "5จี" ยกระดับอู่ตะเภาสู่ “สมาร์ทแอร์พอร์ต”

อัดบริการดิจิทัลเต็มสูบ หนุนบรรยากาศท่องเที่ยว-ลงทุน

ล่าสุด เอไอเอส ขยายกรอบความร่วมมือโดยชู 5จี และไวไฟ 6 รวมถึง เน็ตเวิร์ค อินฟราสตรัคเจอร์ และเข้าร่วมศึกษาและทดลอง ทดสอบดิจิทัลโซลูชั่นในอนาคต ยกระดับการบริหารจัดการภายในท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา ระยอง-พัทยา ณ อาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 ให้มีความทันสมัย สะดวกรวดเร็ว สร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยให้กับผู้โดยสาร เพื่อนำร่องในการพัฒนาสนามบินอัจฉริยะ ช่วยฟื้นฟูประเทศ พร้อมรองรับนักท่องเที่ยวและนักลงทุนที่จะเดินทางกลับเข้ามาในประเทศ หลังจากสถานการณ์โรคโควิด-19 คลี่คลาย รวมทั้งจูงใจภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศให้ขยายการลงทุนมาสู่พื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ หรือ อีอีซี สอดรับนโยบายรัฐบาลที่ต้องการผลักดันให้สนามบินอู่ตะเภา เป็นท่าอากาศยานเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบแห่งที่ 3 ของกรุงเทพมหานคร ที่จะเชื่อมโยงการขนส่งผู้โดยสารและสินค้ากับสนามบินดอนเมืองและสนามบินสุวรรณภูมิ

สำหรับความร่วมมือที่จะมีการต่อยอดร่วมกัน ซึ่งจะเกิดขึ้นอนาคตอันใกล้ ประกอบด้วย 1.ศึกษารูปแบบการนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการสนามบิน เป็นแนวทางการพัฒนา และยกระดับสนามบินอู่ตะเภาในอนาคต และ 2.ทดสอบ ทดลอง ดิจิทัล โซลูชั่น เพื่อเสริมขีดความสามารถในการให้บริการของสนามบิน

“เราตั้งทีมศึกษาโซลูชั่น เพื่อทำให้สนามบินอู่ตะเภาฯ เป็นสนามบินอัจฉริยะ เช่น บริหารจัดการขยะ น้ำ และไฟฟ้าภายในสนามบิน โดยนำไอโอทีโซลูชั่นมามอนิเตอร์ การใช้อินเทลลิเจนซ์ โอเปอเรชั่น คอนโทรล หรือ IOC บริหารกระเป๋าผู้โดยสาร และร้านค้าในสนามบิน การใช้ Face ID ลงทะเบียนในสนามบินแทนพาสปอร์ต และศึกษายานพาหนะขับเคลื่อนอัตโนมัติ ขนคน และกระเป๋า” นายสมชัย กล่าว

รวมถึง การนำหุ่นยนต์อัจฉริยะมาใช้ภายในสนามบิน พัฒนาโดยทีมวิจัย เอไอเอส โรโบติก แล็บ ที่ช่วยคัดกรอง ตรวจวัดอุณหภูมิ ดูแลสุขอนามัยนักท่องเที่ยว มีความแม่นยำสูง

159732138628

พลเรือโท กฤชพล เรียงเล็กจำนงค์ ผู้อำนวยการการท่าอากาศยานอู่ตะเภา กล่าวว่า ตั้งแต่ปี 2561 การท่าอากาศยานอู่ตะเภาฯ ได้ร่วมมือกับบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด บริษัทในเครือของเอไอเอส นำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามายกระดับการให้บริการและการบริหารอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 ให้มีความทันสมัย อาทิ การพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับผู้โดยสาร และระบบวิเคราะห์ภาพวิดีโอ หรือ Video Analytics 

รวมทั้งพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารต่างๆ เพื่อขยายขีดความสามารถการให้บริการภายในท่าอากาศยานแห่งนี้ กระทั่งนำมาสู่การขยายความร่วมมือในครั้งนี้ ที่นำเอา 5จี ดิจิทัล อินฟราสตรัคเจอร์เข้ามาสนับสนุนการบริหารจัดการภายในสนามบิน เพื่ออำนวยความสะดวกและมอบประสบการณ์ที่เป็นเลิศให้แก่ผู้ใช้บริการท่าอากาศยาน

“โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบินภาคตะวันออก ถือเป็นหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานหลักสำคัญของอีอีซี ที่รัฐบาลให้ความสำคัญ และสนับสนุนให้มีการลงทุนในด้านต่างๆ ที่ครอบคลุมทุกมิติ ทั้งการให้บริการสนามบินเชิงพาณิชย์ การพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่องด้านธุรกิจ และอุตสาหกรรมการบิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับสนามบินอู่ตะเภาเป็นสนามบินนานาชาติเชิงพาณิชย์หลักแห่งที่ 3 ของกรุงเทพมหานคร”