“ดีแทค”หนุนคลื่น 3500 จุดเปลี่ยนสำคัญโลกยุค "5จี"   

“ดีแทค”หนุนคลื่น 3500 จุดเปลี่ยนสำคัญโลกยุค "5จี"   

“ดีแทค” มั่นใจประเทศไทยสามารถพลิกฟื้นเศรษฐกิจได้ผ่านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่ขับเคลื่อนด้วย 5จี ชูคลื่นความถี่ 3500 เมกะเฮิรตช์ จุดเปลี่ยนสำคัญสู่มาตรฐาน 5จี สอดรับทั่วโลก 

สิงคโปร์-มาเลย์ปักธงคลื่น3500 

อธิป ยกตัวอย่าง ประเทศสิงคโปร์ปัจจุบัน ”ไอเอ็มดีเอ" หรือหน่วยงานกำกับดูแล ตั้งข้อสังเกตว่าเครือข่าย 5จี เอ็นเอสเอ (5G Non-standalone) ถูกสร้างขึ้นบนเครือข่าย 4จี ที่มีอยู่ และจะส่งผลให้เกิดประโยชน์เพิ่มเติมแค่ความเร็วของอินเทอร์เน็ตบนมือถือเท่านั้น ควรที่ผู้ให้บริการต้องปรับใช้เครือข่าย 5จี เอสเอ (5G standalone) ตั้งแต่เริ่มต้นให้บริการ เพราะสามารถมอบความสามารถ 5จี ที่สมบูรณ์แบบ 

ส่วนมาเลเซีย มีคณะกรรมการที่กำกับดูแลรับผิดชอบ 5จี จะใช้งานคลื่นความถี่ 3500 เมกะเฮิรตช์เป็นคลื่นหลัก และคลื่น 700 เมกะเฮิรตช์ แม้ขณะนี้ไม่เปิดให้บริการ แต่มาเลเซียมีแผนใช้คลื่น 3500 เมกะเฮิรตช์ให้บริการช่วงปี 2564 โดยเฉพาะการพัฒนาสมาร์ทซิตี้ สมาร์ทเฮลธ์ และสมาร์ทเอ็ดดูเคชั่น

ปัจจุบัน บริษัทโทรคมนาคมทั่วโลกมากกว่า 70% ต่างใช้คลื่น 3500 เมกะเฮิรตช์ เป็นหลักสำหรับ 5จี รวมถึงสหรัฐ ยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ส่วนคลื่น 2600 เมกะเฮิรตช์ มีเพียงผู้ให้บริการไม่กี่ประเทศในโลก เช่น ไชน่าโมบายล์ หมายความว่า อุปกรณ์และระบบฮาร์ดแวร์ซอฟแวร์รวมถึงยูสเคสของ 5จี คลื่น 2600 จะถูกจำกัดให้แคบลงจากผู้ให้บริการไม่กี่ราย

ขณะที่ ดีแทค มองว่า ความล่าช้าการจัดสรรคลื่นความถี่ 3500 เมกะเฮิรตช์ จะมีค่าเสียโอกาสอย่างมาก เช่นเดียวกับที่ผ่านมาไทยต้องเผชิญในการจัดสรรคลื่น 2100 เมกะเฮิรตช์ สำหรับ 3จี เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ 3จี ในประเทศไทยช้ากว่าประเทศอื่นๆ ทั่วโลกราว 10 ปี

"ไทยต้องคำนึงถึงความต้องการคลื่นความถี่เพิ่มเติมสำหรับ 5จี ที่ยั่งยืน ซึ่งส่งผลให้เกิดความคุ้มค่า และทางเลือกที่หลากหลาย คลื่น 3500 เมกะเฮิรตช์ ควรเป็นย่านความถี่หลักสำหรับ 5จี เป็นส่วนหนึ่งของการประสานกันทั่วโลก ทำให้ไทยใช้ประโยชน์จาก economy of scale ที่ประหยัดการลงทุน นำศักยภาพของ 5จี มาใช้ได้เต็มที่ ซึ่งผู้ให้บริการแต่ละรายควรได้รับอนุญาตในการใช้งานคลื่นความถี่ 3500 ระหว่าง 80-100 เมกะเฮิรตช์"