โพลชี้ ประชาชน 35.14% เห็นควร 'แก้ไขรัฐธรรมนูญ' มาตรา 256

โพลชี้ ประชาชน 35.14% เห็นควร 'แก้ไขรัฐธรรมนูญ' มาตรา 256

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “แก้ไขรัฐธรรมนูญ แล้วการเมืองไทยจะดีขึ้น ?” ประชาชน 35.14% เห็นควร 'แก้ไขรัฐธรรมนูญ' มาตรา 256

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “แก้ไขรัฐธรรมนูญ แล้วการเมืองไทยจะดีขึ้น ?” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 3 – 4 สิงหาคม 2563 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,255 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แล้วการเมืองไทยจะดีขึ้น การสำรวจอาศัย การสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95

159695018155

         

จากการสำรวจเมื่อถามถึงการรับทราบของประชาชนเกี่ยวกับข้อเสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 เพื่อเปิดทางให้มีสภา ร่างรัฐธรรมนูญ จะต้องมีการทำประชามติด้วย พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 75.22 ระบุว่า ไม่ทราบ ขณะที่ ร้อยละ 24.78 ระบุว่า ทราบ

ด้านความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับข้อเสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 35.14 ระบุว่า ควรมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 เพื่อเปิดทางให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ รองลงมา ร้อยละ 33.94 ระบุว่า ควรมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ รายมาตรา ร้อยละ 13.87 ระบุว่า ไม่ควรมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และร้อยละ 17.05 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.84 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.74 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑล และภาคกลาง ร้อยละ 18.33 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.62 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.47 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 49.00 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.00 เป็นเพศหญิง

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความมั่นใจของประชาชนว่าหากแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วการเมืองไทยจะดีขึ้น พบว่า ร้อยละ 21.35 ระบุว่า มีความมั่นใจมาก เพราะ คิดว่าน่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น เพราะจะเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่มาจากประชาชนและได้รับการยอมรับจากประชาชนอย่างแท้จริง ร้อยละ 23.03 ระบุว่า ค่อนข้างมีความมั่นใจ เพราะ เป็นรัฐธรรมนูญที่มาจากการรับฟังความคิดเห็น เน้นการมีส่วนร่วม  ซึ่งจะสามารถช่วยลดความขัดแย้งได้ ร้อยละ 25.98 ระบุว่า ไม่ค่อยมีความมั่นใจ เพราะ เท่าที่เห็นทุกวันนี้ไม่ว่าจะเเก้ไขมาเเล้วกี่ครั้งก็ยังคงมีเเต่ปัญหา เนื่องจากปัญหาการเมืองมีการสะสมมานานแล้ว แก้ไขได้ยาก ขณะที่บางส่วนระบุว่า ขึ้นอยู่กับผู้นำประเทศด้วย ร้อยละ 27.33 ระบุว่า ไม่มีความมั่นใจเลย เพราะ มองว่าไม่มีทางที่การเมืองไทยจะดีขึ้น และเชื่อว่าเมื่อแก้ส่วนนี้แล้ว ก็จะให้แก้ส่วนอื่นอีกต่อไปเรื่อยๆ ขณะที่บางส่วนระบุว่า การเมืองไทยจะดีขึ้นนั้นไม่ได้เกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่มีปัจจัยอื่นเกี่ยวข้อง และร้อยละ 2.31 ระบุว่า  เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ตัวอย่างร้อยละ 7.65 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 15.62 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 22.15 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 33.46 มีอายุ 46 – 59 ปี และร้อยละ 21.12 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 94.10 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 4.06 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.88 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 0.96 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 21.27 สถานภาพโสด ร้อยละ 74.50 สมรสแล้ว ร้อยละ 3.35 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 0.88 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส

ตัวอย่างร้อยละ 30.12 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 29.80 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.33 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 26.06 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 5.42 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 1.27 ไม่ระบุการศึกษา ตัวอย่างร้อยละ 10.76 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 14.98 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 20.72 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 14.98 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 15.46 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 19.20 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 2.47 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 0.08 เป็นพนักงานองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร และร้อยละ 1.35 ไม่ระบุอาชีพ

ตัวอย่างร้อยละ 18.80 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 25.18 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 26.30 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 10.04 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 4.54 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 –  40,000 บาท ร้อยละ 6.77 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 8.37 ไม่ระบุรายได้