‘ปรีดี ดาวฉาย’ 38ปี จากเส้นทางสายการเงิน สู่เก้าอี้ รมว.คลัง ป้ายแดง

‘ปรีดี ดาวฉาย’ 38ปี จากเส้นทางสายการเงิน สู่เก้าอี้ รมว.คลัง ป้ายแดง

“ปรีดี ดาวฉาย” 38 ปี จากเส้นทางสายการเงิน สู่เก้าอี้ รมว.คลัง ป้ายแดง

ชื่อ “ปรีดี ดาวฉาย” กลายเป็นชื่อ “ฮอตฮิต” ในแวดวงธุรกิจ “การเงิน” และ “การเมือง” ขึ้นมาทันที ตั้งแต่มีชื่อติดอยู่ในโผเก้าอี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง(รมว.คลัง) แม้ก่อนหน้าเจ้าตัวจะปฎิเสธมาตลอดว่า ไม่ได้สนใจเข้ารับตำแหน่งดังกล่าว

แต่หลังจาก “4 กุมาร” ยื่นใบลาออกจากรัฐมนตรีในตำแหน่งต่างๆ ชื่อของ “ปรีดี” ดังก้องขึ้นมาอีกครั้ง และสุดท้าย “ปรีดี” ก็ได้รับเลือกให้นั่งในตำแหน่งดังกล่าวตามกระแสข่าวที่ถูกปล่อยออกมาเป็นระยะๆ

คนที่รู้จัก “ปรีดี” จะเข้าใจดีว่า ไม่ใช่เรื่องแปลกที่ “ปรีดี” จะตบปากรับคำมานั่งในตำแหน่ง รมว.คลัง เพราะอุปนิสัยโดยส่วนตัวของ ปรีดี แล้วมักเห็นประโยชน์ส่วนรวมมาก่อนส่วนตัวเสมอ

ในแวดวงการเงินทราบดีว่า ปรีดี เป็นคนชอบช่วยเหลือคนอื่นเสมอ จึงไม่แปลกที่เขาจะยอมเสียสละตัวเองมารับใช้ชาติท่ามกลางมหาวิกฤติเศรษฐกิจที่กำลังเกิดขึ้น

การมานั่งในตำแหน่ง รมว.คลัง ด้วยคุณสมบัติของ ปรีดี แล้ว เรียกว่าไม่มีข้อกังขาใดๆ เพราะด้วยความรู้ความสามารถถือว่าครบเครื่อง ไม่ได้เป็นรองใครแน่นอน อีกทั้งประสบการณ์ที่สั่งสมมายาวนาน ผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านวิกฤตมาไม่รู้กี่หน ทำให้ ปรีดี มีคุณสมบัติเพียงพอที่จะเข้ามาช่วยขับเคลื่อนประเทศให้พ้นวิกฤติ

สำหรับประวัติการศึกษา “ปรีดี” จบปริญญาตรี จากนิติศศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตามมาด้วย เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฏหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา และจบปริญญาโท จากนิติศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์แบนา -แชมเปญจน์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เรียกว่าความรู้ด้านกฏหมายแน่น

ส่วนเส้นทางการทำงานของปรีดี เรียกว่ายาวเป็นหางว่าว สะท้อนการผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านประสบการณ์ทำงานมาอย่างโชกโชน เรียกว่าแทบจะคลุกคลี่ออยู่แทบทุกสายงาน โดยเริ่มต้นทำงานตั้งแต่ปี 2525 ที่สำนักกฏหมายธนาคารกสิกรไทย ก่อนขึ้นเป็นผู้อำนวยการฝ่ายกิจการสาขาต่างประเทศและวิเทศสัมพันธ์ ทำหน้าที่ Co-General manager สาขาฮ่องกง

ก่อนไต่ขึ้นมารับตำแหน่งสำคัญๆ ในช่วง 3ปีถัดมา ในช่วงยุคต้มยำกุ้ง ตั้งแต่ปี 2540-2542 ตั้งแต่การเป็นผู้อำนวยงานฝ่ายสินเชื่ออุตสาหกรรมการผลิตและบริหาร ผู้อำนวยการฝ่ายควบคุมงานสินเชื่อและหลักประกัน ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโสฝ่ายปรับโครงสร้างหนี้ หลังจากนั้นไม่กี่ปี ก็ขึ้นแทน รองกรรมการผู้จัดการธนาคาร

และขึ้นมาเป็นกรรมการผู้จัดการธนาคารกสิกรไทย ตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นมา ตำแหน่งสำคัญๆที่ “ปรีดี”นั่งอยู่ในบทบาทสำคัญๆทั้งนั้น ทั้งการเป็นประธานสมาคมธนาคารไทย ติดต่อกันสองสมัย เพื่อขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์สมาคมธนาคารไทย ที่มีบทบาทสำคัญในการเป็นตัวแทน ของธนาคารพาณิชย์ ในการเป็นหัวหอก หารือ หาทางออกต่างๆ ร่วมกับผู้กำหนดนโยบายมากมาย ทั้งธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ สภาหอการค้า ฯลฯ“

ไม่เท่านั้น “ปรีดี”ยังรับตำแหน่งสำคัญๆ ทั้งในวงการเอกชน ภาครัฐ สำคัญอีกมาก ทั้งการเป็นที่ปรึกษาอยู่ในโครงการภาครัฐ อย่างคณะกรรมยุทธศาสตร์ชาติ ที่ทำหน้าที่กำหนดยุทธศาสตร์ชาติสำคัญๆในระยะข้างหน้า รวมถึงการเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ ในโครงการการลงทุนของภาครัฐหลายโครงการ ผ่านการเป็นกรรมการนโบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เป็นคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) และมีส่วนร่วมสำคัญ ในการกำหนดนโยบายระหว่างภาครัฐเอกชน ผ่านการนั่งเป็น คณะกรรมการนโบบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน

หรือในแวดวงแบงเกอร์ ปรีดี ก็ยังนั่งเป็น "กรรมการ ASEAN Bankers Association ที่ถือเป็นหัวหอกสำคัญ ในการแสดงแนวคิด นโยบายด้านการเงินต่างๆ ร่วมกับประเทศอาเซียนหลากหลายประเทศ

“ปรีดี” ยังมีบทบาทสำคัญ ที่เห็นบ่อยครั้งในระยะหลังๆนี้ ในวงประชุมสำคัญๆอีกมากมาย ที่เกี่ยวกับนโยบายด้านเศรษฐกิจสำคัญๆของประเทศ โดยเฉพาะในช่วง “โควิด-19” ที่ปรีดี มักเป็นอีกเสียง ที่ร่วมออกเสียง ในการคิดนโยบาย แก้วิกฤตร่วมกับภาครัฐ เช่นการถูกแต่งตั้งเป็น กรรมการในคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านธุรกิจภาคเอกชนในศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และการมีส่วนสำคัญ ในการพิจารณานโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจสำคัญๆในช่วงโควิด-19 เพื่อแก้ไขปัญหาปากท้องของประชาชนในช่วงที่ได้รับผลกระทบ

ซึ่ง การทำงานของ “ปรีดี”ที่ผ่านมาก็เรียกได้ว่า มักคุ้นเคย คุ้นชิน ในการกำหนดนโยบาย โครงการสำคัญระดับประเทศ ทั้งในแวดวงการเงิน ภาครัฐ การลงทุน ด้านเศรษฐกิจ อยู่แล้ว ดังนั้นการมานั่งในตำแหน่ง “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง” ครั้งนี้ ก็เรียกว่า คงไม่ยากเกินไปสำหรับ “ปรีดี” น่าจะผ่านไปได้ไม่ยาก แม้ว่า “เก้าอี้”นี้จะมีทั้งความท้าทาย ความเครียม ตามมาไม่จบ แต่เชื่อว่า ด้วยสติปัญหา ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ทำงานที่สั่งสมมาตลอดชีวิต ของ “ปรีดี” จะหนุนให้ปรีดี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้อย่างราบรื่น

ยิ่งลักษณะนิสัยของ “ปรีดี” ที่โด่ดเด่น เรื่องการ เป็นคน อ่อนน้อมถ่อมตน พูดจาไพเราะ ควบคุมอารมณ์ได้ดี และระมัดระวังคำพูดจาเสมอ ในทางกลับกัน แม้จะดูเรียบร้อย ไม่เกรียวกราดง่ายๆ แต่ “ปรีดี”ก็ เฉียบขาด สำหรับเรื่องที่ต้องการความเด็ดขาด และมีความเป็นผู้นำสูงมาก และเป็นคนใช้หลักการ เหตุผล มาก่อนอารมณ์ หรือความรู้สึกส่วนตัวก่อนเสมอ ดังนั้นเหล่านี้ก็เชื่อว่าจะ ยิ่งหนุน “ปรีดี” ได้รับการสนับสนุน และได้รับการรักใคร่จากทุกฝ่ายได้ไม่ยากในตำแหน่งนี้