จุฬาฯ เดินหน้า 5G for REAL ทดลอง/ทดสอบใช้จริง

จุฬาฯ เดินหน้า 5G for REAL ทดลอง/ทดสอบใช้จริง

วิศวะฯ จุฬาฯ ร่วมกับ กสทช. ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมชั้นนำ เดินหน้าโครงการวิจัยเทคโนโลยี 5G ทดลอง ทดสอบ เพื่อนำไปใช้จริง พัฒนาบุคลากรรองรับอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยี 5G สร้างสังคมคุณภาพ

วันนี้ (6 สิงหาคม) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) พร้อมด้วย ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมชั้นนำ จัดงานแสดงผลงานการทดลอง/ทดสอบ Use cases ต่าง ๆ เพื่อไปใช้งานจริง บนเครือข่ย 5G ภายใต้แนวคิด "5G for REAL" ณ 5G AI/IOT Innovation Center ชั้น M อาคาร จุฬาพัฒน์ 14

โดยโครงการดังกล่าว ภายใต้ความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ กสทช. ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) เพื่อจัดตั้งศูนย์ทดลองทดสอบ 5G ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดทำ Open Platform สำหรับทดสอบ/ทดลอง วิจัยเทคโนโลยี การใช้งานจริง พร้อมทั้งพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยี 5G

นอกจากนี้ จุฬาฯ ยังได้รับการอนุญาตจาก กสทช. ในการเป็นผู้ประสานพื้นที่กำกับดูแลเป็นการเฉพาะ ตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2562 ถึง 10 ธันวาคม 2567 เป็นเวลา 5 ปี ครอบคลุมพื้นที่ของจุฬาฯ เพื่อให้ใช้คลื่นความถี่ 5G ย่านต่างๆ เพื่อให้มีการพัฒนาและทดสอบนวัตกรรมเทคโนโลยี 5G ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ รวมถึงการทดสอบการรบกวนหรือการร่วมใช้คลื่นความถี่ระหว่างเทคโนโลยี 4G และ 5G เป็นต้น

ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า หัวใจสำคัญของ 5G คือ การนำมาใช้ประโยชน์สูงสุดได้อย่างไร ทั้งด้านการศึกษา และพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนและสังคม บทบาทของจุฬาฯ คือทำอย่างไรให้คนที่ผ่านการบ่มเพาะจากมหาวิทยาลัย มีศักยภาพ ส่วนนักศึกษา บุคลากรที่มีอยู่ ทำอย่างไรจะทำการวิจัยสร้างนวัตกรรม รับใช้สังคมได้ และ 5G จะเข้ามาช่วยเชื่อมโยงตรงนี้

"จุฬาฯ เราให้ความสำคัญกับการสร้างคน พัฒนาคน พัฒนางานวิจัย เราพยายามจะสร้างผลกระทบให้แก่สังคม อย่างไรก็ตาม การทำงานเราทำคนเดียวไม่ได้ ดังนั้น จึงต้องมีการร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ ทั้งภาครัฐและเอกชน ที่มีเครื่องมือพร้อม พัฒนาการเรียนการสอนให้ดีมากขึ้น นำความรู้ สร้างคน ออกไปรับใช้สังคมได้" อธิการบดี จุฬาฯ กล่าว

ด้าน ศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวเสริมว่า 5G เหมือนทลายกำแพง หลอมรวมการสื่อสาร 2 โลก ทั้งโลกกายภาพ และโลกเสมือนจริง เข้าด้วยกัน จุฬาฯ เห็นความจำเป็นในการนำ 5G เข้ามาติดปีกให้กับสิ่งต่างๆ 5G จะนำพาประเทศและนำพาการศึกษา ไปสู่การพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนและนำคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นสู่สังคมไทย

สำหรับ โครงการวิจัยทั้งหมดประกอบด้วย โครงการจัดตั้งศูนย์ทดสอบ 5G ที่สามารถทดสอบอุปกรณ์ไร้สาย และโครงข่ายของผู้ให้บริการ และงานวิจัยอื่น ๆ ใน 3 กลุ่ม คือ

ด้าน healthcare จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ โครงการส่งข้อมูลภาพการตรวจโรคตทางไกลผ่นระบบสื่อสารแบบไร้สายเพื่อการผ่าตัด และ โครงการพัฒนการสื่อสารและส่งถ่ยข้อมูลการตรวจวัดคุณภาพอากาศในโรงพยาบาล

ด้าน smart living และ connected society จำนวน 8 โครงการ ได้แก่ โครงการการพัฒนาและควบคุมหุ่นยนต์บริการผ่านโครงข่าย 5G , โครงการจัดสร้างระบบเครือข่ายเซ็นเซอร์ตรวจวัดสภาพฝุ่นละอองติดตั้งบน smart pole และรถ pop bus รวมถึงการติดตั้งและทดสอบระบบ CCTV บนรถประจำทาง เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและประสิทธิภาพการใช้งานของผู้โดยสาร CU Pop Bus

โครงการพัฒนการใช้เทคโนโลยีความจริงเสมือนในพื้นที่มหาวิทยาลัยบนเครือข่าย 5G , โครงการพัฒนาต้นแบบยานยนต์อัตโนมัติ และการเคลื่อนย้ายรถระหว่างจุดจอด , โครงการติดตั้งและทดสอบระบบการใช้งานเสาไฟยุคหน้าบนเทคโนโลยี 5G , โครงการสร้างมิเตอร์อัจฉริยะเฟสเดียวโดยใช้เทคโนโลยี NB-IoT, LORa และ 5G ,โครงการติดตั้งระบบควบคุมไฟถนนอัจฉริยะ และโครงการวิเคราะห์และประมวลภาพ VDO แบบเวลาจริงด้วย cloud computing

ประเภทอื่น ๆ จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ โครงการ PolluSmarcell การวิจัยที่อาศัยปรากฎการณ์ทางคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในโครงข่ายการสื่อสารเพื่อประเมินการเกิด Temperature Inversion ในชั้นบรรยากาศ และ โครงการอบรมให้ความความชำนาญในการทดลองทดสอบระบบเครือข่าย 5G และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างประเทศ