ทิศทางแผนการศึกษาชาติ 7 เรื่อง 28ประเด็น

ทิศทางแผนการศึกษาชาติ 7 เรื่อง 28ประเด็น

ขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีความตั้งใจที่จะปรับปรุงร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2562 ให้มีความครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น เรื่องของการปรับการเรียนการสอนในทุกภาคส่วน

เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของการจัดการศึกษาที่เกิดขึ้นในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มีการปรับการเรียนการสอนที่เน้นการเรียนออนไลน์มากขึ้น หรือการปรับแนวทางของอาชีวศึกษาเพื่อที่จะทำหน้าเป็นกลไกหลัก ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีฝีมือให้เข้ามาเป็นแรงงานรองรับการขยายตัวของประเทศ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

เพราะหลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย น่าจะมีการย้ายฐานการลงทุน และจะมีการเกิดธุรกิจใหม่ ๆ  โดยเฉพาะเรื่องของสาธารณสุข  โดยแผนปฏิรูปการศึกษาที่นำมาปรับปรุงนั้นเป็นแผนการปฏิรูปการศึกษาที่ทางคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา (กอปศ.) ซึ่งมี “นพ.จรัส สุวรรณเวลา”เป็นประธาน ได้เสนอไว้ 7 เรื่องหลัก 28 ประเด็น  159655214873

อาทิ การปฏิรูประบบการศึกษาและการเรียนรู้โดยรวมของประเทศมีข้อเสนอทางด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการศึกษา  การปฏิรูปการพัฒนาเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน ซึ่งพ.ร.บ.การพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ.2562 ได้มีข้อเสนอกฎหมายลำดับรอง เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการ การปฏิรูปเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา 

การปฏิรูปกลไกและระบบการผลิต คัดกรอง และพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพครูและอาจารย์ การปฏิรูปหลักสูตร การเรียนรู้ และการประเมินผลการศึกษา เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ การปรับโครงสร้างของหน่วยงานในระบบการศึกษา คือ โครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานในต่างจังหวัด ตลอดจนความเป็นอิสระของโรงเรียน เป็นต้น 

รวมกับข้อเสนอคณะอนุกรรมการสภาการศึกษาเฉพาะกิจ เพื่อการจัดทำข้อเสนอการปรับปรุงแผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ที่มี “ศรีราชา วงศารยางค์กูร” เป็นประธานนั้น ชัดเจนสอดคล้องปี 2563-2565

ล่าสุดสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ได้ประชุมสภาการศึกษาโดยมี “ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานพิจารณาแผนปฏิรูปการศึกษา ที่ประชุมได้มีการหารือถึงการพัฒนาเทคโนโลยี ระบบไอที ซึ่งสภาการศึกษาได้ทำงานร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)ในการสร้างแพลตฟอร์มเพื่อทำให้เป็นมาตรฐานการศึกษาชาติ 

159655234255

โดยจะมีการจัดทำเนื้อหา สื่อ ที่หลากหลาย ทั้งสื่อเดิมที่สพฐ.ทำไว้ให้ ตรงกับมาตรฐานชาติเพื่อเป็นเครื่องมือในการช่วยพัฒนาครูรวมถึงต้นแบบ จะมีการเปิดโอกาสให้ครู และนักเรียนที่มีความสามารถในการจัดทำสื่อ เนื้อหาเก่งๆ ส่งตัวอย่าง ส่งสื่อ เนื้อหาที่ผลิตขึ้น เข้ามาประกวด เป็นส่วนหนึ่งในการให้คะแนนวิทยฐานะแก่ครู และการพัฒนาเด็ก เพื่อให้ครูต้องแข่งขันกันผลิตสื่อ จัดทำเนื้อหา จะทำให้เกิดการพัฒนากระบวนการเรียนการสอน สื่อ นวัตกรรมที่นำมาใช้จัดการศึกษา

ณัฏฐพล” กล่าวว่าการเตรียมบุคลากรเพื่อรองรับการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ นอกจากสถาบันอุดมศึกษาจะเป็นหลักสำคัญแล้ว การอาชีวศึกษาก็ต้องเป็นหลักสำคัญในการเพิ่มบุคลากรเหล่านี้ด้วย

นอกจากนั้น การวางแผนเรื่องการจัดทำฐานข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศ (บิ๊กดาต้า) และการจัดสร้างแพลตฟอร์ม เพื่อให้การพัฒนาผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความเข้มข้นและพร้อมในการเลื่อนวิทยฐานะหรือระดับชั้นต่างๆ เป็นต้น เป็นการบูรณาการทั้งของ ศธ.และ สกศ.เข้าด้วยกัน 

ส่วนการจัดทำบิ๊กดาต้า ของกระทรวงศึกษาธิการ “สุภัทร จำปาทอง” ลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวว่า ขณะนี้ได้มีการปรับปรุงมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งสกศ.ก็จะไปดูในส่วนของหน่วยงานที่ดำเนินการอยู่ ว่าจะต้องเพิ่มเติมไอเท็มในการจัดเก็บ เป็นการทำบนฐานที่มีอยู่แล้ว และต่อยอดมากขึ้น คาดว่า 3 เดือนจะเสนอรมว.ศธ.ได้

159655222667

ขณะที่  “สมพงษ์ จิตระดับ” อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  มองว่า  เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมและถึงเวลาที่ต้องนำแผนปฎิรูปการศึกษาที่จะทำให้เกิดการพัฒนาเด็ก ประเทศมาใช้โดยเร็ว เพราะระบบการศึกษาเดิม โครงสร้างแบบเดิม ความคิดเดิมๆไม่ได้เหมาะกับการสร้างคนรุ่นใหม่ ที่มีความคิดเป็นของตัวเอง แผนการปฎิรูปการศึกษาที่ดีต้องดึงภาคประชาสังคม เอกชน และคนรุ่นใหม่เข้ามีมาส่วนร่วม เนื่องจากได้รับผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบการศึกษา

อย่างไรก็ตาม คาดว่าแผนปฎิรูปการศึกษาจะมีการประชุมหารือร่วมกันในแต่ละคณะอนุกรรมการฯ ให้แล้วเสร็จภายใน 2-3 สัปดาห์นี้ ก่อนที่จะสรุปและเสนอในการประชุมสภาการศึกษา วันที่ 25 กันยายนต่อไป