Quantamental (4 ส.ค.63)

Quantamental (4 ส.ค.63)

มั่นใจ เกาะกระแสขาขึ้นต่อไป

เดือน ก.ค. หุ้น Sideway มีพักระหว่างเดือนตามคาด

ในบทวิเคราะห์เดือน ก.ค.เราคาด ตลาดหุ้นไทยจะผันผวนระหว่างเดือน แม้ภาพใหญ่ยังเป็นแนวโน้มขาขึ้น เนื่องจากผลการดำเนินงาน 2Q63 ที่อ่อนแอ โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ส่งผลให้เกิดการปรับลดประมาณการฯโดย Consensus ทั้งนี้ ข้อมูลจาก Bloomberg consensus ประมาณการฯ EPS ของ
SET index ถูกปรับลดลง -2.9% MoM

Valuation ของตลาดหุ้นไทย ไม่เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญจากเดือนก่อนหน้า

จากโมเดลด้านเชิงปริมาณที่เรานำเสนอในช่วงหลายเดือนผ่านมา อาทิ Implied Equity Risk Premium (iERP), Cyclical Adjusted PE (CAPE), and Modified Yield gap (M-yield gap) เป็นต้น ตัวเลขไม่แตกต่างจากเดือนก่อนหน้านี้มากนัก โดย iERP ล่าสุด 3.51% ลดลงเล็กน้อยจาก 3.59% ในเดือนก่อน (-1 เท่าของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานจากค่าเฉลี่ยในอดีตเท่ากับ 3.1%) ตัวเลข iERP สะท้อนว่าอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังจากการลงทุนในตลาดหุ้นไทยไม่สูงมากนัก แต่ยังพอรับได้สำหรับการลงทุน ขณะที่ CAPE ล่าสุดอยู่ที่ 16.13 เท่า ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่ 16.26 เท่า (ค่าเฉลี่ย CAPE และ +0.5 เท่าของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในอดีตเท่ากับ 13.5 เท่าและ 16.7 เท่า ตามลำดับ) นอกจากนี้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐาลไทยปรับลดลงเล็กน้อย โดยพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี และ 10 ปีมีอัตราผลตอบแทนเท่ากับ 0.78% และ 1.27% ตามลำดับ (ลดลงจาก 0.87% และ 1.28% ตามลำดับ จากเดือนก่อน) ผลจากอัตราผลตอบแทนที่ยังลดลง ส่งผลให้ Valuation ของพันธบัตรสูงขึ้น และจากแนวคิดเรื่อง Relative valuation ทำให้เป็นเหตุผลสนับสนุนให้ PE ของตลาดหุ้นไทยถูกปรับขึ้นตามไปด้วย เมื่อพิจารณาประเด็นดังกล่าว M-yield gap ล่าสุดเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น -0.19 จุด (จาก -0.59 จุด ในเดือนก่อน) การปรับขึ้นของตัวเลขดังกล่าวเข้าใกล้ค่าศูนย์ แสดงว่า Valuation ของตลาดหุ้นไทยเริ่มปรับตัวเข้าสู่จุดสมดุลย์ระหว่าง ตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตรมากขึ้น (เดือนก่อน ตลาดหุ้นไทยแพงกว่าตลาดพันธบัตรเล็กน้อย)

“Cross-Asset Class momentum”: โมเดลใหม่ สำหรับการพิจารณาแนวโน้มของตลาดฯ

เดือนก่อนเราแนะนำ Acceleration momentum หรือ ACC factor สำหรับการใช้เป็นสัญญาณเตือนถึงความร้อนแรงของตลาดฯที่อาจมากเกินไป ล่าสุด ACC factor เท่ากับ -0.1% ตัวเลขติดลบ สะท้อนว่าตลาดหุ้นไทยยังไม่ได้ปรับขึ้นร้อนแรงมากเกินไป ความเสี่ยงที่จะพักฐานแรงๆในเดือน ส.ค.ยังต่ำ สำหรับ
บทวิเคราะห์ฉบับนี้ เราจะนำเสนอโมเดลที่ใช้สำหรับกลยุทธ์ Momentum ใหม่ที่เพิ่งถูกตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ (Aleksi P. et al, Cross-Asset Signals and Time Series Momentum, Journal of Financial Economics, 2020) ที่จะเพิ่มการพิจารณา Momentum ของตลาดพันธบัตรเข้าไปด้วย (เดิมจะพิจารณาเฉพาะ Momentum ของตลาดหุ้น) จึงเรียกว่า Cross-Asset Class momentum หรือ “CAC factor” ซึ่งเราได้ทำการทดสอบจัดพอร์ตการลงทุนโดยใช้วิธี CAC ด้วยข้อมูลตั้งแต่ปี 2551 ถึงปัจจุบันพบว่าให้ผลตอบแทนที่ Outperform การลงทุนใน SET index ทั้งในด้าน อัตราผลตอบแทน และ Sharp ratio (อัตราผลตอบแทนที่พิจารณาความเสี่ยงด้วย)

โดยสำหรับตลาดหุ้นไทย เราพบว่า i) หากทำการซื้อหุ้นเมื่อผลตอบแทนจากการลงทุน 12 เดือนย้อนหลังของตลาดพันธบัตร (12M-Bond) เป็นบวก จะให้ผลตอบแทนที่ Outperform ในเดือนถัดไป และ ii) หากทำการซื้อหุ้นเมื่อผลตอบแทนจากการลงทุน 3 เดือนย้อนหลังของตลาดหุ้นไทย (3MEquity)
เป็นบวก จะให้ผลตอบแทนที่ Outperform ในเดือนถัดไป ผลของ CAC ถูกอธิบายว่าเป็นผลของการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างช้าๆระหว่างตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตร นอกจากนี้ หากนำโมเดลของเราทั้ง iERP, M-yield, ACC เข้าร่วมพิจาณาการจัดพอร์ตด้วยจะให้ผลตอบแทนเมื่อพิจารณาความเสี่ยงแล้ว
Outperform มากยิ่งขึ้น (ดูรูปที่ 5 - 7)

ล่าสุด 12M-Bond และ 3M-Equity เท่ากับ +0.6% และ +0.2% ขณะเดียวกันโมเดลอื่นๆทั้ง iERP, Myield gap, CAPE, ACC ไม่ได้ส่งสัญญาณที่เป็นลบต่อการลงทุนในตลาดหุ้นไทย ดังนั้นเราจึงคงคำแนะนำ "Buy and Hold" และหากมีการพักฐานระหว่างเดือน เนื่องจากการรายงานผลการดำเนินงาน
2Q63 เรามองเป็นโอกาสซื้อสะสม

Sideway หากตลาดฯ มีพักฐานระหว่างเดือน เป็นโอกาสสะสม

ในเชิงเทคนิค ประเมินกรอบแนวรับ SET index เท่ากับ 1300 จุด และ 1270 จุด / แนวต้าน 1340 จุด และ 1360 จุด ตามลำดับ หุ้นเด่น:

    i) เลือก KSL เป็นหุ้นเด่น จาก Valuation ที่ถูก PBV 0.49 เท่า และอัตราผลตอบแทนที่คาดหวัง +27% ขณะที่แนวโน้มราคา KSL ยังอยู่ในช่วงต้นของแนวโน้มขาขึ้น และแนะนำ "เก็งกำไร" THRE จาก Momentum ระยะสั้นที่เด่น

    ii) สำหรับหุ้นเด่นเดือน ก.ค. แนะนำ "ขายตัดขาดทุน" SUSCO (ขาดทุน 4.1%) และ "Let profit run" หุ้น ILINK (กำไร +13.9%)