รีบาวด์ตามปัจจัยภายนอก

รีบาวด์ตามปัจจัยภายนอก

คาด SET รีบาวด์ขึ้นทดสอบ 1,330 – 1,335 จุดก่อนจะสลับอ่อนตัว ตามปัจจัยบวกตัวเศรษฐกิจที่สำคัญในเดือนก.ค.ของฝั่งสหรัฐและยุโรปดีดตัวขึ้นหลังการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์

ตลาดหุ้นวานนี้

SET Index -7.30 จุด (-0.55%) ปิดที่ระดับ 1,321 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.47 หมื่นล้านบาท จากแรงเทขายหุ้น Big cap โดยเฉพาะ AOT ลดลงอีก 3.4% จากความกังวลงบ 3Q20 พลิกเป็นขาดทุน ขณะที่รายได้ระยะกลางถึงยาวมีแนวโน้มลดลงไปจากที่ตลาดคาดหลังมีการเปลี่ยนแปลงสูตรการคิดรายได้สัมปทานบนพื้นที่ duty free จาก Minimum Guarantee เป็น sharing per head กดดันให้ Valuation ของ AOT ลดลงประมาณ 4-5 บาทต่อหุ้น ส่วนนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 1,453 ล้านบาท  แต่ Net TFEX SET50  -15,984  สัญญา  และซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตร 2,847 ล้านบาท

แนวโน้มตลาดหุ้นวันนี้     

เรามีมุมมองเป็นบวกคาด SET รีบาวด์ขึ้นทดสอบ 1,330 – 1,335 จุดก่อนจะสลับอ่อนตัว ตามปัจจัยบวกตัวเศรษฐกิจที่สำคัญในเดือนก.ค.ของฝั่งสหรัฐและยุโรปดีดตัวขึ้นหลังการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ โดยตัวเลข PMI ภาคการผลิตของสหรัฐดีดตัวขึ้นสู่ระดับ 54.2 และ PMI ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายของยูโรโซนเพิ่มขึ้นมาที่ระดับ 51.8 ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบฟื้นตัวขึ้นและเป็นบวกต่ดทิศทางการลงทุนด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ยังได้แรงหนุนจากความคืบหน้ายาต้านไวรัส Covid-19 หลัง Eli Lilly & Co ซึ่งเป็นบริษัทยาของสหรัฐกำลังเริ่มต้นทดสอบยา LY-CoV555 ในเฟสสุดท้าย อย่างไรก็ตามความไม่แน่นอนของมาตรการเยียวยาเศรษฐกิจฉบับใหม่ของสหรัฐวงเงิน 1 ล้านล้านดอลล่าร์ รวมถึงความผันผวนจากผลการดำเนินงาน 2Q20 ของบริษัทฯจะกดดันให้ดัชนีสลับอ่อนตัวลง 

กลยุทธ์การลงทุน: Selective Buy

  • กลุ่มพลังงาน (PTT PTTEP TOP PTTGC IRPC SPRC IVL ) อานิสงส์ราคาน้ำมันดิบทรงตัวเหนือ 40 US/Barrel
  • กลุ่มอิเล็ค ( KCE DELTA HANA SVI ) ได้อานิสงส์ยอดขายอุปกรณ์อิเล็คทรอนิสท์ขยายตัวตามกระแส WFH และอุปกรณ์ 5G
  • กลุ่มที่คาดว่างบ 2Q20 จะเติบโตขึ้น  ( TOP PTTGC SPRC SCC BGRIM CKP CPF TU ASIAN TASCO STA STGT AP PRM PTL AJ CBG TQM JMT CHAYO TQM PTG BCH )

หุ้นแนะนำวันนี้

  • TASCO (ปิด 28.75 ซื้อ/เป้า สูงสุด IAA Consensus 32) เก็งกำไรงบ 2Q20 พลิกมีกำไร 1,400-1,500 ล้านบาทเทียบกับขาดทุนสุทธิ 784 ล้านบาทใน 1Q20 โดยมีแรงหนุนจากการบันทึกกลับ NRV ทั้งหมดหลังจากราคายางมะตอยกลับมาเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวจาก 1Q20 และ 3Q20 ยังมี Sentiment บวกจากดีมานด์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากจีนหลังจากปีนี้จีนเกิดน้ำท่วมหนักส่งผลให้รัฐจำเป็นต้องเร่งซ่อมแซมถนนหนทาง (TASCO ส่งออกยางมะตอยไปจีนคิดเป็น 40%)
  • SPRC (ปิด 6.85 ซื้อ/เป้า 8 บาท) คาดงบ 2Q20 พลิกมีกำไร 3.5 พันล้านบาท เทียบกับขาดทุนสุทธิ 8.3 พันล้านบาทใน 1Q10 จากกำไรจากสต๊อกน้ำมันดิบ 4.2 พันล้านบาท, ค่าการกลั่น (GRM) ดีขึ้นจาก 1.3$/bbl ใน 1Q20 เป็น 4$/bbl

บทวิเคราะห์วันนี้

CKP (ปิด 5.55 ถือ/เป้าใหม่ 5.25 เดิม 4.5), Thailand Strategy (การเลือกตั้งสหรัฐกับการลงทุน)

ประเด็นสำคัญวันนี้

  • (+) ดัชนี PMI ภาคการผลิตของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลัก (จีน, ยุโรป, สหรัฐ) ส่วนใหญ่ออกมาดีกว่าที่ตลาดคาด: วานนี้กลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลักของโลกนำโดย จีน, กลุ่มประเทศในยูโรโซน และ สหรัฐ รายงานตัวเลขดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือน ก.ค. เพิ่มขึ้นตามคาด โดย จีน รายงานดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือน ก.ค. (จัดทำโดย Caixin) เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 52.8 จาก 51.2 ในเดือน มิ.ย.และ ดีกว่าที่ Consensus คาดจะอยู่ที่ระดับ 51.3 , ดัชนี PMI ของยูโรโซน เพิ่มขึ้นเป็น 51.8  จาก 47.4 ในเดือน มิ.ย. และดีกว่าที่ Consensus คาดไว้ที่ 51.1 และปิดท้ายด้วยสหรัฐซึ่งจัดทำโดยสถาบันจัดการด้านอุปทาน (ISM) ประกาศดัชนีภาคการผลิตเดือน ก.ค. เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 54.2 จาก 52.6 ในเดือน มิ.ย. มากกว่าที่ Consensus คาดไว้ที่ 53.6 และนับเป็นการเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 16 เดือน
  • (+) น้ำมันดิบ WTI ยังประคองตัวในกรอบ 40-41 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยมีปัจจัยหนุนมาจากตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐ: ราคาน้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น 74 เซนต์ (+1.8%) ปิดที่ระดับ 41 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เนื่องจากนักลงทุนตอบรับรายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐและกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลักอื่นๆ โดยเฉพาะดัชนี PMI ภาคการผลิตที่ออกมาดีเกินคาดบ่งชี้ถึงดีมานด์พลังงานที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้นักลงทุนยังเข้ามาซื้อเก็งกำไรคาดหวัง EIA รายงานตัวเลขสต๊อกน้ำมันดิบรายสัปดาห์ของสหรัฐลดลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 2 เบื้องต้น Consensus คาดสต๊อกน้ำมันดิบรายสัปดาห์ของสหรัฐจะลดลงประมาณ 3.267 ล้านบาร์เรล
  • (+/-) คาดแบงก์ชาติคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 0.5% ตามเดิมเป็นกลางกับกลุ่มธนาคารแต่เป็นบวกกับกลุ่มไฟแนนซ์: แม้ปัจจัยด้านเศรษฐกิจจะเอื้อให้แบงก์ชาติลดดอกเบี้ยแต่เราคาดว่าแบงก์ชาติจะเลือกคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 0.5% ตามเดิมเสียก่อนโดยมีอย่างน้อย 3 เหตุผล คือ 1) ต้องการเก็บเครื่องมือ หรือ (policy space) ไว้ในยามจำเป็นโดยเฉพาะหากเศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอนและหดตัวมากกว่าที่คาดไว้, 2) หากดอกเบี้ยต่ำเกินไป อีกด้านจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงจากการแสวงหาการลงทุน (Search for yield) แบบไม่ระมัดระวังทำให้แบงก์ชาติจะยังไม่ลดดอกเบี้ยสู่ระดับ 0.25% หรือ 0% และ 3) คาดคณะกรรมการส่วนใหญ่จะชะลอการตัดสินใจเพื่อรอความชัดเจนในเชิงนโยบายของผู้ว่าแบงก์ชาติคนใหม่ (คุณ เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ) การคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมช่วยลดแรงกดดันให้กับกลุ่มธนาคาร (ดอกเบี้ยขาลง) และเป็นบวกต่อหุ้นในกลุ่มไฟแนนซ์จากต้นทุนดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับต่ำ