เปิดรายละเอียด 'อัยการ' ชี้คดีบอส อยู่วิทยา ปมหลักฐานใหม่ ความเร็ว-โคเคน

เปิดรายละเอียด 'อัยการ' ชี้คดีบอส อยู่วิทยา ปมหลักฐานใหม่ ความเร็ว-โคเคน

ความคืบหน้า เปิดรายละเอียด "อัยการ" ชี้คดีบอส อยู่วิทยา ปมหลักฐานใหม่ ความเร็ว-โคเคน

คณะทำงานของอัยการสูงสุด แถลงผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงการพิจารณาสั่งคดี “นายวรยุทธ อยู่วิทยา” หรือ บอส ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดมีคำสั่งที่ พิเศษ/2563 ลงวันที่ 26 กรกฎาคม 2563 แต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบการพิจารณาสั่งคดี นายวรยุทธ หรือบอส อยู่วิทยา ซึ่งคณะทำงานประกอบด้วยคณะทำงานของอัยการ แถลงผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงการพิจารณาสั่งคดี “นายวรยุทธ อยู่วิทยา” หรือ บอส ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดมีคำสั่งที่ พิเศษ/2563 ลงวันที่ 26 กรกฎาคม 2563 แต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบการพิจารณาสั่งคดี นายวรยุทธ หรือบอส อยู่วิทยา ซึ่งคณะทำงานประกอบด้วย

159651993251

1.นายสมศักดิ์ ติยะวานิช รองอัยการสูงสุด (หัวหน้าคณะทำงาน) 2.นายสิงห์ชัย ทนินซ้อน อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีอาญา 3.นายชาติพงษ์ จีระพันธุ อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร 4.นายปรเมศวร์ อินทรชุมนุม อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีอาญาธนบุรี 5.นายชาญชัย ชลานนท์นิวัฒน์ รองอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีอาญา 6.นายอิทธิพร แก้วทิพย์ รองอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีอาญา และ 7.นายประยุทธ เพชรคุณ อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 3

โดยให้คณะทำงานดำเนินการตรวจสอบว่าการพิจารณาสั่งสำนวนคดีดังกล่าวเป็นไปตามหลักกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้อง และมีเหตุผลในการพิจารณาสั่งคดีอย่างไร โดยให้ดำเนินการโดยด่วนที่สุด

เกี่ยวกับคดีนี้ มีข้อเท็จจริงเบื้องต้น ดังนี้

1. คดีนี้พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 1 ได้รับสำนวนจากพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจทองหล่อ เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2556 คดีระหว่างพ.ต.ท.วิรดล ทับทิมดี ผู้กล่าวหา นายวรยุทธ หรือบอส อยู่วิทยา ผู้ต้องหาที่ 1 , ด.ต.วิเชียร กลั่นประเสริฐ ผู้ต้องหาที่ 2

นายวรยุทธ หรือบอส อยู่วิทยา ผู้ต้องหาที่ 1 ถูกกล่าวหาว่า (1) ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ชนรถอื่นเสียหาย (2) ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ชนผู้อื่นถึงแก่ความตาย (3) ขับรถในทางก่อความเสียหายแก่บุคคล ไม่หยุดรถและให้ความช่วยเหลือตามสมควรและไม่แจ้งเหตุต่อเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที (4) ขับรถในขณะเมาสุราเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และ(5) ขับรถเร็วกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด

ส่วน ด.ต.วิเชียร กลั่นประเสริฐ ผู้ต้องหาที่ 2 ถูกกล่าวหาว่า ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินผู้อื่นเสียหาย เหตุเกิด เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2555 เวลา 05.20 น. ที่ แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ

1596519968100

2. พนักงานสอบสวนส่งสำนวนคดีดังกล่าวให้พนักงานอัยการ พร้อมสรุปสำนวนเสนอความเห็นควรสั่งฟ้อง นายวรยุทธ หรือบอส อยู่วิทยา ผู้ต้องหาที่ 1 ในข้อหา (1) ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ชนรถอื่นเสียหาย (2) ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ชนผู้อื่นถึงแก่ความตาย และ(3) ขับรถไปในทางเสียหายแก่บุคคลไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือตามสมควรและ ไม่แจ้งเหตุต่อเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที

และเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง นายวรยุทธ หรือบอส อยู่วิทยา ผู้ต้องหาที่ 1 ในข้อหา (1) ขับรถขณะเมาสุรา เป็นเหตุให้ชนผู้อื่นถึงแก่ความตาย และ (2) ขับรถเร็วกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด

สำหรับ ด.ต.วิเชียร กลั่นประเสริฐ ผู้ต้องหาที่ 2 เสนอเห็นควรสั่งไม่ฟ้องในข้อหาขับรถ โดยประมาทชนรถอื่นได้รับความเสียหาย เนื่องจากผู้ต้องหาที่ 2 ถึงแก่ความตาย

3. ความเห็นและคำสั่งของพนักงานอัยการสำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ 3.1 สั่งฟ้องนายวรยุทธ หรือบอส อยู่วิทยา ผู้ต้องหาที่ 1 ในข้อหา (1) ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ชนรถอื่นเสียหาย (2) ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ชนผู้อื่นถึงแก่ความตาย (3) ขับรถไปในทางเสียหายแก่บุคคลไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือตามสมควรและ (4) ขับรถเร็วกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด (แย้งความเห็นพนักงานสอบสวน) สั่งไม่ฟ้องข้อหาขับรถขณะเมาสุรา เป็นเหตุให้ชนผู้อื่นถึงแก่ความตาย (ตามพนักงานสอบสวนเสนอ และ ผบ.ตร. เห็นชอบแล้ว)

3.2 สั่งยุติดำเนินคดี ด.ต.วิเชียร กลั่นประเสริฐ ผู้ต้องหาที่ 2 เสนอเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง ในข้อหาขับรถโดยประมาทชนรถอื่นได้รับความเสียหาย เนื่องจากผู้ต้องหาที่ 2 ถึงแก่ความตาย

4. ภายหลังจากพนักงานอัยการมีคำสั่งตามข้อ 3 แล้ว นายวรยุทธ หรือบอส อยู่วิทยา ไม่มาพบพนักงานอัยการตามกำหนดนัด ทำให้ไม่สามารถยื่นฟ้องได้ และต่อมาทำให้ข้อหา ขับรถโดยประมาท เป็นเหตุให้ชนรถอื่นเสียหาย ขับรถไปในทางเสียหายแก่บุคคลไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือตามสมควรและ ขับรถเร็วกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด ขาดอายุความ

5. ต่อมาเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2563 นายเนตร นาคสุข รองอัยการสูงสุด มีคำสั่งไม่ฟ้อง นายวรยุทธ หรือบอส อยู่วิทยา ผู้ต้องหาที่ 1 ในข้อหาขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ชนผู้อื่นถึงแก่ ความตาย ซึ่งเสนอ ผบ.ตร. แล้ว ไม่แย้งคำสั่งไม่ฟ้อง เป็นผลให้คำสั่งไม่ฟ้องเบ็ดเสร็จเด็ดขาด

159652000443

6. ผลการตรวจสอบของคณะทำงาน มีดังนี้ 6.1 การพิจารณาสั่งสำนวนคดีดังกล่าวเป็นไปตามหลักกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้องหรือไม่ อย่างไรคณะทำงานเห็นว่า ตามพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 7 วรรค 4 กำหนดให้มีการแบ่งหน่วยงานราชการและอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานราชการภายในสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจขององค์กร ต่อมาสำนักงานอัยการสูงสุดได้มีประกาศของคณะกรรมการอัยการ เรื่อง การแบ่งหน่วยงานและกำหนดอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานภายในสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ. 2554 โดยแบ่งหน่วยงานภายในสำนักงานอัยการสูงสุดแยกตามภารกิจรวม 60 ประเภทสำนักงาน เช่น สำนักงานคดีอาญา สำนักงานคดียาเสพติด สำนักงานคดีศาลแขวง สำนักงานชี้ขาดคดีอัยการสูงสุด เป็นต้น ซึ่งในการปฏิบัติราชการของหน่วยงานของสำนักงานอัยการสูงสุดดังกล่าว อัยการสูงสุดจะมีคำสั่งมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบและมอบอำนาจให้รองอัยการสูงสุดเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ ซึ่งการออกคำสั่งมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบให้ รองอัยการสูงสุดดังกล่าว อัยการสูงสุดทุกคนถือเป็นแนวทางปฏิบัติมา อย่างต่อเนื่อง

ล่าสุดเมื่อปี 2562 ถึงปี 2563 ได้มีคำสั่งสำนักงานสำนักงานอัยการสูงสุดที่ 1515/2562 เรื่อง การมอบหมายและมอบอำนาจให้รองอัยการสูงสุดปฏิบัติราชการแทนอัยการสูงสุด ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2562 โดยมอบอำนาจให้รองอัยการสูงสุดทั้ง 8 คน ปฏิบัติราชการแทนอัยการสูงสุด เช่น มอบอำนาจและมอบหมายให้นายสมศักดิ์ ติยะวานิช รองอัยการสูงสุด เป็นผู้รับผิดชอบงานคดีอาญา นายสมโภชน์ ลิ้มประยูร รองอัยการสูงสุดเป็นผู้รับผิดชอบงานชี้ขาดความเห็นแย้งของพนักงานอัยการ ภาค 1, 2, 3, 4, 5 และ 6 นายไพบูลย์ ถาวรวิจิตร รองอัยการสูงสุด เป็นผู้รับผิดชอบงานชี้ขาดความเห็นแย้งของพนักงานอัยการภาค 7, 8 และ 9

และนายเนตร นาคสุข รองอัยการสูงสุด เป็นผู้รับผิดชอบงานคดีอัยการสูงสุด งานคดีกิจการอัยการสูงสุด เฉพาะงานคดีร้องขอความเป็นธรรม และงานคดีศาลสูง เป็นต้น และตามพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ.2553 มาตรา 27 กำหนดให้อัยการสูงสุดมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย และรับผิดชอบการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด ซึ่งอาจมอบหมายให้รองอัยการสูงสุด หรือข้าราชการฝ่ายอัยการปฏิบัติแทนก็ได้ ซึ่งการที่อัยการสูงสุดมอบหมายให้รองอัยการสูงสุดแต่ละท่านปฏิบัติราชการแทนดังกล่าวเป็นไปตามกรอบและบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว และตามมาตรา 15 ของ พระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ.2553 ยังบัญญัติให้อัยการสูงสุดเป็นผู้มีอำนาจดำเนินคดีในทุกศาล ทั่วราชอาณาจักร

นอกจากนี้ตามระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ. 2547 ข้อ 51, 52 ยังได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการแต่ละชั้นให้มีอำนาจหน้าที่สั่งคดีไว้โดยชัดเจนซึ่งพนักงานอัยการแต่ละคนจะมีความเป็นอิสระในการสั่งคดีภายใต้ระเบียบ ซึ่งกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ดังกล่าว ทั้งนี้เป็นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปีพุทธศักราช 2560 มาตรา 248 ที่บัญญัติรับรองให้พนักงานอัยการมีอิสระในการพิจารณาสั่งคดีและปฏิบัติหน้าที่โดยเที่ยงธรรมและปราศจากอคติทั้งปวง

159652004620

เกี่ยวกับคดีนี้ เมื่อนายวรยุทธ หรือบอส อยู่วิทยา ผู้ต้องหาที่ 1 ร้องขอความเป็นธรรมซึ่งมีข้อเท็จจริงและพยานบุคคลที่ระบุแจ้งชัด กรณีจึงเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 131 ซึ่งกำหนดให้พนักงานสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานทุกชนิด เท่าที่สามารถจะทำได้ เพื่อประสงค์จะทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่าง ๆ อันเกี่ยวกับความผิดที่ถูกกล่าวหา เพื่อที่จะรู้ตัวผู้ที่กระทำความผิดและพิสูจน์ให้เห็นความผิดหรือความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหา และยังเป็นไปตามระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ.2547 ข้อ 48 ที่ให้ผู้ต้องหาหรือผู้เกี่ยวข้องในคดีสามารถร้องขอความเป็นธรรมได้ พนักงานอัยการจึงมีการสอบสวนเพิ่มเติมตามที่ร้องขอความเป็นธรรม และการที่นายเนตร นาคสุข รองอัยการสูงสุด ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุดในการกำกับดูแลและรับผิดชอบงานคดีร้องขอความเป็นธรรม การพิจารณาสั่งสำนวนคดีนี้ของนายเนตร นาคสุข จึงเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องดังกล่าว

6.2 ผู้สั่งคดีมีเหตุผลในการพิจารณาสั่งคดีอย่างไรคณะทำงานพิจารณาข้อเท็จจริง และพยานหลักฐานในสำนวนการสอบสวน จากนั้นได้พิจารณาความเห็นและคำสั่งของนายเนตร นาคสุข แล้วมีความเห็นว่า นายเนตร นาคสุข ได้มีความเห็นและคำสั่งคดีนี้ ไปตามพยานหลักฐานที่พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนและสอบสวนเพิ่มเติมซึ่งปรากฏอยู่ในสำนวน ไม่ได้นำพยานหลักฐานนอกสำนวนหรือที่ไม่ได้ปรากฏในสำนวนการสอบสวนมาสั่งคดี หรือเป็นการใช้ดุลพินิจสั่งคดี

ไปตามอำเภอใจรวมทั้งมีเหตุผลประกอบตามสมควร และภายหลังที่มีคำสั่งไม่ฟ้องแล้ว ได้มีการเสนอสำนวนให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เพื่อพิจารณาอันเป็นการตรวจสอบและถ่วงดุลการสั่งคดีของพนักงานอัยการ ซึ่งต่อมาผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติได้มีความเห็นไม่แย้งคำสั่งไม่ฟ้องดังกล่าว

คณะทำงานเห็นว่าการสั่งคดีของนายเนตร นาคสุข รองอัยการสูงสุด เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องแล้ว


7. ข้อเสนอแนะของคณะทำงาน แม้คดีนี้จะมีคำสั่งเสร็จเด็ดขาดไม่ฟ้อง นายวรยุทธ หรือบอส อยู่วิทยา ในข้อหาขับรถ โดยประมาทเฉี่ยวชนผู้อื่นถึงแก่ความตายแล้วก็ตาม แต่มิได้หมายความว่าจะไม่สามารถทำอะไรได้อีกแล้ว คณะทำงานตรวจพบว่า คดียังไม่ถึงที่สุด กล่าวคือ เมื่อมีพยานหลักฐานใหม่อันสำคัญแก่คดี ซึ่งน่าจะทำให้ศาลลงโทษผู้ต้องหานั้นได้ ก็สามารถสอบสวนต่อไปได้ โดยคณะทำงานมีความเห็นว่า

7.1 คณะทำงานตรวจพบว่า ในสำนวนการสอบสวนมีการตรวจเลือดของนายวรยุทธ หรือบอส อยู่วิทยา ผู้ต้องหาที่ 1 ในวันเกิดเหตุ และพบสารประเภท Cocaine (โคเคน) ในเลือด แต่พนักงานสอบสวน ยังไม่ได้แจ้งข้อกล่าวหาและสอบสวนผู้ต้องหาที่ 1 ในข้อหาเสพยาเสพติดให้โทษประเภท 2 Cocaine (โคเคน) ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 58 ประกอบกับมาตรา 91 ซึ่งมีอัตราโทษจำคุก 6 เดือนถึง 3 ปี (อายุความตามกฎหมาย 10 ปี)

7.2 ในข้อหาขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย แม้พนักงานอัยการจะมีคำสั่งไม่ฟ้อง นายวรยุทธ หรือบอส อยู่วิทยา ผู้ต้องหาที่ 1 และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติไม่แย้งคำสั่งไม่ฟ้องดังกล่าว อันเป็นผลให้คำสั่งไม่ฟ้องเสร็จเด็ดขาดตามกฎหมาย และห้ามมิให้ทำการสอบสวนอีกก็ตาม แต่ปรากฏพยานหลักฐานสำคัญ คือ ดร.สธน วิจารณ์วรรณลักษณ์ อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ได้ให้ข้อเท็จจริงผ่านสื่อว่า ขณะเกิดเหตุ ดร.สธนฯ ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาด้านวิชาการให้กับกองพิสูจน์หลักฐานกลาง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมื่อเกิดเหตุคดีนี้ได้รับการประสานงานจาก พ.ต.ท.ธนสิทธิ แตงจั่น ให้ไปร่วมตรวจที่เกิดเหตุ และดูกล้องวงจรปิด

159652012192

วัตถุพยาน ที่บันทึกภาพรถของผู้ต้องหาที่ 1 พร้อมกับคิดคำนวณความเร็วของรถที่แล่นไปขณะเกิดเหตุ โดย ดร.สธนฯ ได้ทำรายงานการคิดคำนวณส่งให้กับกองพิสูจน์หลักฐานเพื่อใช้ประกอบคดีโดยยืนยันว่า ขณะเกิดเหตุรถของผู้ต้องหาที่ 1 แล่นไปด้วยความเร็วประมาณ 170 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่ข้อเท็จจริงดังกล่าวไม่ปรากฏในสำนวนการสอบสวน นอกจากนี้ยังปรากฏข้อเท็จจริงผ่านสื่อ จากการให้สัมภาษณ์ของดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ ให้ข้อเท็จจริงผ่านสื่อว่าเป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้าน คิด คำนวณ หาความเร็วของรถ และตนได้คิด คำนวณ พร้อมกับให้ความเห็นทางวิชาการว่า ขณะเกิดเหตุ รถที่ผู้ต้องหาขับขี่ไปน่าจะมีความเร็วไม่ตำกว่า 126 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่ง ข้อมูลดังกล่าวถือเป็นพยานหลักฐานใหม่ และเป็นพยานสำคัญที่จะทำให้ศาลลงโทษผู้ต้องหาที่ 1 ได้ ตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 147

ทั้งสองประเด็นดังกล่าว คณะทำงานจึงมีความเห็นและนำกราบเรียนอัยการสูงสุดเพื่อพิจารณา แจ้งพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีนายวรยุทธ หรือ บอส อยู่วิทยา ต่อไป

159652297610

159652298951

159652300082

159652300941

159652301714