Rebound ตามภูมิภาค

Rebound ตามภูมิภาค

ดัชนีวานนี้ปิดลดลง 2.57 จุด และแกว่งตัวในกรอบแคบบวกสลับลบตลอดช่วงการซื้อขาย คล้ายกับตลาดหุ้นภูมิภาค หลังไร้ปัจจัยใหม่เข้าหนุน

ประกอบกับนักลงทุนส่วนใหญ่จับตาผลการประชุม FOMC ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดที่ 1,338.35 จุด (-2.57 จุด) Volume 5.6 หมื่นลบ. ต่างชาติ +753.86 ลบ. TFEX Net +11,633 สัญญา ตราสารหนี้ +1,238 ลบ.

ปัจจัยบวก / ปัจจัยลบ

+ดัชนีดาวโจนส์ปิดเพิ่มขึ้น 160.29 จุด +0.61% หลังจากเฟดมีมติตามคาดคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับใกล้ 0% และยืนยัน ใช้มาตรการสนับสนุนให้ศก.ฟื้นตัวจากผลกระทบของไวรัสโควิด-19

+ราคาน้ำมันดิบ WTI ปิดเพิ่มขึ้น 23 เซนต์ +0.6% ปิดที่ 41.27 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังเปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐลดลงมากกว่าคาด

+ สศอ.เปิดดัชนี MPI มิ.ย.ขยายตัวเป็นเดือนที่ 2 สะท้อนภาคอุตฯเริ่มฟื้นตัวจากจุดต่ำสุด ด้านดัชนีเชื่อมั่น SME ปรับเข้าใกล้ค่าฐานกลางระดับ 50 สูงสุดตั้งแต่เกิดโรคระบาด

-จับตาสหรัฐเผย GDP Q2/63 พรุ่งนี้ คาดหดตัว 34.1% ทรุดหนักสุดรอบกว่า 70 ปี

-ม.หอการค้าฯ คาดส่งออกปีนี้ -9.6% หดตัวหนักสุดรอบ 10 ปี และคาดส่งออกครึ่งปีหลัง -12 ถึง -20% หนักกว่าครึ่งแรกเหตุโควิดยืดเยื้อ

+/-สศอ.เผยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม มิ.ย. หดตัว -17.66% YoY แต่เพิ่มขึ้น 4.18% MoM

+ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตปิดที่ 3,294.55 จุด +66.59 จุด หรือ +2.06%

-ทองคำปรับตัวขึ้นหลังเฟดคงการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่อง

-ดัชนีนิกเกอิปิดที่ 22,397.11 จุด ลดลง 260.27 จุด -1.15% เช้านี้เปิด +92.13 จุด ตามทิศทางดาวโจนส์ขานรับเฟดตรึงดอกเบี้ย

-Fund Flow ต่างชาติมีสถานะขาย YTD 2.26 แสนลบ. ค่าเงินบาท 31.40 บาท/US

*จับตาสหรัฐเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และ GDP ไตรมาส 2/2563

 

แนวโน้มตลาดหุ้นไทย

คาดดัชนีตลาดหุ้นไทย Rebound ตามทิศทางตลาดภูมิภาค หลังที่ประชุมเฟดมีมติคงอัตราดอกเบี้ยที่ 0.00-0.25% และแรงหนุนจากนายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด ที่ให้คำมั่นว่าจะใช้มาตรการสนับสนุนเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวจากผลกระทบของไวรัสโควิด-19 คาดดัชนีเคลื่อนไหวในกรอบ 1,330-1,350 จุด

หุ้นรายงานพิเศษ

หุ้นเริ่มซื้อขายวันนี้เป็นวันแรก

บริษัท ซิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) – SICT

ราคา IPO 1.38 บาท

      ปัจจุบันเป็นผู้นำในตลาดไมโครชิพสำหรับ RFID Animal Identification อยู่ในอันดับต้นๆ ของโลก มีโมเดลธุรกิจที่เป็นผู้ออกแบบไมโครชิพ และเป็นเจ้าของเทคโนโลยี จากนั้นจะว่าจ้างผู้ผลิตรายอื่นให้ผลิตไมโครชิพ ซึ่งข้อดีของโมเดลแบบนี้ คือ บริษัทจะมีความคล่องตัวในการดำเนินงาน และไม่มีค่าใช้จ่ายในการลงทุนและบริหารโรงงาน ความเสี่ยงจึงต่ำกว่า โดย SICT จะเน้นถือครองทรัพย์สินทางปัญญา

      รายได้ 1Q20 เท่ากับ 95.21  ลบ. +30.7%YoY เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายสินค้ากลุ่มไมโครชิพสำหรับนะบบกุญแจสำรองอิเล็กทรอนิกส์ยานยนต์เป็นหลัก ขณะที่อัตรากำไรขั้นต้นปรับตัวดีขึ้นจาก 40.2% เป็น 48.6% ตามการจำหน่ายสินค้ากุญแจสำรองอิเล็กทรอนิกส์ยานยนต์มากขึ้น ซึ่งมีต้นทุนต่ำกว่าสินค้าอื่น ส่งผลให้บริษัทมีกำไรสุทธิ 1Q20 เท่ากับ 15.6 ล้านบาท +570.2%YoY

      ราคา IPO คิดเป็นอัตราส่วนราคาต่อกำไรสุทธิย้อนหลัง 12 เดือน (P/E) เท่ากับ 14.66 เท่า มีจำนวนการเสนอขายเท่ากับ 100,00,000 หุ้น ที่ราคาพาร์ 0.50 บาทต่อหุ้น โดยมีวัตถุประสงค์การใช้เงินเพื่อ 1. ลงทุนในเครื่องมือ อุปกรณ์ และซอฟต์แวร์ ด้านการออกแบบและทดสอบไมโครชิพ รวมถึงทรัพย์สินทางปัญญา เช่น สิทธิบัตร 2. ลงทุนหรือร่วมลงทุนในบริษัทอื่นที่ประกอบธุรกิจด้านออกแบบและพัฒนาวงจรรวม หรือมีนวัตกรรมที่ส่งเสริมการประกอบธุรกิจของบริษัท 3. เงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ

กลยุทธ์การลงทุน

  • หุ้น Defensive Stock (ADVANC INTUCH DIF TTW BEM BTS CHG BCH)
  • หุ้นที่คาดผลประกอบการ 2Q20 ดี (WICE TASCO CPF PTT TOP SPRC PTTGC)
  • หุ้นที่ได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่า (KCE SVI HANA DELTA TU TFG)

หุ้นมีข่าว

(+/-) PTTEP (Bloomberg Consensus 94.75) แจ้งงบวันนี้ (30 ก.ค.63) Bloomberg consensus คาด 6.4 พันล้านบาท -25%QoQ ถูกกระทบจากความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าลดลง  และราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับลดลง

ความเห็น หากราคาปรับตัวลงมองเป็นจังหวะซื้อสะสมเนื่องจากราคาน้ำมันใน 3Q63 สูงกว่าใน 2Q63 ซึ่งช่วยหนุนผลประกอบการ 3Q63 ให้เติบโตจาก 2Q63

(+/-) SCC (Bloomberg Consensus 390)  งบตามนัด กำไร Q2 แตะ 9.3 พันล้านบาท โต 33% ชี้โควิดกระทบน้อย เหตุปรับตัวทัน เดินหน้าทุ่มงบ 3.3-4.3 หมื่นล้านบาท อัพฐาน-เสริมแกร่งเพิ่ม ส่วน SCGP ก.ล.ต.ให้ผ่านแล้ว รอจังหวะเข้าตลาด ใจป้ำปันผลระหว่างกาลหุ้นละ 5.50 บาท กำหนด XD รับทรัพย์ช่วง 13 สิงหาคมนี้ (ที่มาทันหุ้น)

ความเห็น SCC รายงานกำไร 2Q63 ตามตลาดคาดโดยได้รับแรงหนุนจากส่วนต่างปิโตรเคมีที่ปรับตัวขึ้น เนื่องจากการฟื้นตัวของอุปสงค์หลังโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย ขณะที่ต้นทุนแนทาปรับตัวลงตามราคาน้ำมัน อย่างไรก็ตาม 3Q63 ส่วนต่างปิโตรเคมีมีโอกาสอ่อนตัวลงจากอุปสงค์ที่ลดลงจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 รอบ 2 และราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 40 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลกดดันกำไร หากราคาหลุดแนวรับ 377 บาทให้ระวังแรงขายเพิ่มเติม

 (+) EA (Bloomberg Consensus 52.38 บาท)   จับมือ 3 พันธมิตร เซ็นเอ็มโอยูกับรัฐบาลลาว เพื่อศึกษาการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำจากเขื่อนในลาว 2 โครงการ กำลังการผลิตรวม 3,000-3,500 เมกะวัตต์ คาดใช้เงินลงทุนกว่า 1 แสนล้านบาท และใช้เวลาศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนภายใน 2 ปี (ที่มา ข่าวหุ้น)

(+) TVD (Bloomberg Consensus - บาท) รุกหนักกระตุ้นกำลังซื้อช่วงครึ่งปีหลัง พร้อมส่งซิกผลงานไตรมาส 2/63 ได้ตามเป้าหมาย โชว์ขยายฐานลูกค้าใหม่เพิ่ม วางกลยุทธ์เพิ่มไลน์ผลิตภัณฑ์ใหม่กลุ่มอาหารและแพ็กเกจที่พัก รวมถึงจับมือกับธนาคารสนับสนุน SMEs นำสินค้าทำตลาดช่องทางทีวีโฮมช้อปปิ้ง-ออนไลน์ (ที่มา ข่าวหุ้น)

(+) GPI (Bloomberg Consensus 12.91 บาท) ปลื้มผลตอบรับงาน บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ 2020” ดี เผยจำนวนผู้เข้าชมงานตลอด 14 วัน ทะลุ 1.04 ล้านคน ดันยอดจองรถแตะ 22,791 คัน เชื่อช่วยกระตุ้นภาพรวมอุตสาหกรรมยานยนต์ครึ่งปีหลังฟื้นตัว (ที่มา ข่าวหุ้น)

(+) TPOLY (Bloomberg Consensus - บาท)   ติดเครื่องลุยชิงงานรับเหมาก่อสร้างมูลค่ารวมมากกว่า 1 หมื่นล้านบาท คาดภายในช่วงที่เหลือของปี 2563 โกยงานได้เพิ่ม 1-2 โครงการ มูลค่าไม่น้อยกว่า 2 พันล้านบาท อวดแบ็กล็อกและอยู่ระหว่างการเซ็นสัญญาอีกมากกว่า 2.1 พันล้านบาท เล็งเป้าตุนแบ็กล็อกทะลุ 4 พันล้านบาท (ที่มา ทันหุ้น)

(+) SPLAI (Bloomberg Consensus 16.29 บาท)   ประกาศความร่วมมือผนึกยักษ์ใหญ่ Stockland เดินหน้าลงทุนพัฒนาโครงการ Katalia ถือเป็นโครงการลำดับที่ 11 ใน Melbourne เขตรัฐวิคทอเรีย ประเทศออสเตรเลีย เพื่อขยายโอกาสทางธุรกิจในต่างแดน (ที่มา ทันหุ้น)

(+) CBG (Bloomberg Consensus 115.33 บาท) ปลื้มซี+ล็อคติดลมบน เริ่มส่งออกไป ลาว เมียนมา กัมพูชา อินเดีย แล้ว พร้อมมองหาโอกาสเพิ่ม มั่นใจปีนี้โกยยอดตามเป้า 100 ล้านขวด ด้านเครื่องดื่มชูกำลังฟื้นดี คาดโตต่อ ตลาดจีนไปได้ดี มั่นใจรายได้ตามเป้าไม่ต่ำกว่า 25% ฟากโบรกส่องกำไร Q2 นิวไฮที่ 817 ล้านบาท ปรับเป้ากำไรปีนี้ 3.32 พันล้านบาท เคาะเป้าใหม่ที่ 144 บาท (ที่มา ทันหุ้น)

 

KTC (Bloomberg Consensus 32.91) 2Q63 มีกำไรสุทธิ 1,149 ล้านบาท -12% 1H63 มีกำไรสุทธิ  2,790 ล้านบาท -4%  ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรลดลง 9.6% แต่ดีกว่าอุตสาหกรรมที่ลดลง 14.1% ในช่วง 5M63

และผลจากมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ในการปรับลดเพดานดอกเบี้ยธุรกิจบัตรเครดิต 2% และธุรกิจสินเชื่อบุคคล 3%

ผู้บริหารประเมินว่าในช่วงครึ่งปีหลังยังต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากสถานการณ์เศรษฐกิจที่ชะลอตัว และอาจมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นหากมีการแพร่ระบาดอย่างรุนแรงของเชื้อโควิด-19 อีกครั้ง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการจ้างงาน ความสามารถในการชำระหนี้ หรือการเพิ่มขึ้นของ NPL อีกทั้งการประกาศใช้มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ในการปรับลดเพดานดอกเบี้ย ธุรกิจบัตรเครดิต 2% และสินเชื่อบุคคล 3% ยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อผลการดำเนินงาน

ความเห็น มองแนวโน้มกำไรในช่วง 2H63 ยังถูกกดดันจาก loan yield ที่ต่ำและผลกระทบจากกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ลดลง