"Bank" Sector (29 ก.ค.63)

"Bank" Sector (29 ก.ค.63)

สรุปผลประกอบการ 2Q63: ตั้งสำรองฯเตรียมรับมือ NPL ในอนาคต

Event

สรุปผลประกอบการ 2Q63 ปรับลดประมาณการกำไรและราคาเป้าหมายของ BBL, KKP

Impact

กำไรลดลง 32% YoY ใน 2Q63 และ 23% ใน 1H63

แม้ว่าจะมีรายได้พิเศษก้อนใหญ่ แต่กำไรสุทธิของ BBL, KBANK, KTB, KKP ก็ยังลดลงอย่างมาก และต่ำกว่าประมาณการเนื่องจากมีการตั้งสำรองก้อนใหญ่ แต่อย่างไรก็ตาม กำไรสุทธิของ SCB ออกมาดีเกินคาดเนื่องจากสามารถบีบค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลงมาได้ในขณะที่สำรองหนี้เสียยังทรงตัว ทั้งนี้
เมื่อดูไส้ในของผลการดำเนินงานใน 2Q63 ก็พบว่า 1.) สินเชื่อเร่งตัวขึ้นเนื่องจากมีการพักชำระหนี้ โดย margin ลดลงอย่างมากเนื่องจากมีเงินฝากไหลเข้ามาในระบบก้อนใหญ่ทำให้ภาระต้นทุนเพิ่มขึ้น 3.) รายได้ค่าธรรมเนียมลดลงอย่างมากในทุกประเภทธุรกรรม 4.) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่ลดลงช่วย
หนุนกำไรจากการดำเนินงาน ดังจะเห็นได้ในกรณีของ SCB TMB KBANK 5.) มีการบันทึกกำไรก้อนใหญ่จากการปรับมูลค่าเหมาะสมของเงินลงทุน โดยเฉพาะ BBL และ KBANK 6.) NPL เพิ่มเล็กน้อย แต่ตั้งสำรองฯสูงลิ่ว โดยเฉพาะในกรณีของ BBL KBANK KTB ซึ่งสูงกว่าระดับปกติถึง 3x

NPL ไม่ได้สะท้อนสถานการณ์จริง

ธนาคารส่วนใหญ่จัดชั้นหนี้มีปัญหาเป็นหนี้ที่เข้าร่วมโครงการผ่อนผันหนี้ ทำให้ NPLs ยังคงอยู่ระดับเท่ากับช่วงก่อนการระบาดของ covid-19 ทั้งนี้ SCB KBANK TMB KKP เปิดเผยว่าหนี้ที่เข้าโครงการผ่อนผันหนี้คิดเป็นประมาณ 40% ของสินเชื่อรวม โดยส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อ SME ทั้งนี้ เมื่อดูข้อมูลของ
TMB พบว่า 99% ของลูกหนี้ SME เข้าร่วมโครงการผ่อนผันหนี้ ในขณะที่ของ SCB เข้าร่วมประมาณ 60% และของ KBANK ประมาณ 70% ทั้งนี้ มีลูกหนี้ประมาณ 30% ที่เข้าร่วมโครงการและมีความเสี่ยงด้านกระแสเงินสด และต้องการให้มีการยืดมาตรการผ่อนผันออกไปอีก

การลดหนี้อาจจะกดดัน yield และ margin ใน 2H63

เนื่องจากการเปิดให้ลูกหนี้ที่ประสบปัญหาเข้าร่วมโครงการผ่อนผันหนี้ทำให้ธนาคารต้องบันทึกดอกเบี้ยค้างรับก้อนใหญ่ ซึ่งเพิ่มขึ้นถึงเกือบเท่าตัว QoQ เราคิดว่าในการช่วยเหลือลูกหนี้ ธนาคารต้องยอมเฉือน yield เพื่อรักษาคุณภาพสินทรัพย์เอาไว้ นอกจากนี้ เราคาดว่าธนาคารก็น่าจะต้องยอมลดอัตราดอกเบี้ยค้างรับให้กับลูกค้าที่กลับมาชำระหนี้ด้วย ดังนั้น การลดหนี้จึงจะกดดัน yield ของธนาคารตั้งแต่ 3Q63 ไปจนถึงปี 2564 ตามการสิ้นสุดโครงการผ่อนผันหนี้ ซึ่งจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับธนาคารทุกแห่ง

ปรับลดประมาณการกำไรและคำแนะนำ KBANK และ BBL

เราปรับลดประมาณการกำไร BBL ปี 2563/64 ลง 31%/8% จากการปรับเพิ่ม credit cost เป็น 117bps/100bps (จากเดิม 90bps/70bps) ทั้งนี้ เมื่ออิงจาก P/BV ที่ 0.6x ได้ปรับลดราคาราคาเป้าหมาย 12 เหลือ 135 บาท

Risks

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน NPL และตั้งสำรองเพิ่มขึ้น รายได้ค่าธรรมเนียมลดลง