สินค้าอุปโภค-บริโภคดิ่ง! รอบ 40 ปี โควิดทุบตลาดไตรมาส 2 ลบ 10%

สินค้าอุปโภค-บริโภคดิ่ง! รอบ 40 ปี โควิดทุบตลาดไตรมาส 2 ลบ 10%

โควิดทุบ! กำลังซื้อผู้บริโภคย่ำแย่ เศรษฐกิจถดถอย สะเทือนการจับจ่ายใช้สอยสินค้าจำเป็น ไตรมาส 2 ติดลบ 10% หนักสุดรอบ 40-50 ปี จับตาหนี้สาธารณะขาขึ้น ก่อหวอดใหม่กระทบตลาดสินค้าอุปโภคบริโภค 9 แสนล้านบาท

สถิติบางอย่างอาจไม่มีใครอยากให้ถูกทำลาย โดยเฉพาะเหตุการณ์ที่ขึ้นชื่อว่า วิกฤติ” ทว่า โรคโควิด-19 ได้สร้างผลกระทบอย่างใหญ่หลวงทั่วโลก ทั้งประชาชนป่วย เสียชีวิตจำนวนมาก เศรษฐกิจอยู่ในอาการร่อแร่ เพราะความเสียหายรุนแรงรอบ ร้อยปี ได้ ธุรกิจจำนวนมากขาดสภาพคล่อง ปลดคนงาน กระทั่งเจ๊ง!

เมื่อปรากฎการณ์ลบเกิดขึ้นทุกภาคส่วน อีกหนึ่งธุรกิจที่หนีไม่พ้นคือดีชนีค้าปลีกของสินค้าอุปโภคบริโภค(Fast Moving Consumer Goods : FMCG)ที่มีมูลค่า 9 แสนล้านบาท ของไทยยังผจญความท้าทายไม่แพ้เซ็กเตอร์อื่น เพราะช่องทางขายจำนวนมากที่ต้องปิดตัวลง และความตื่นตระหนกของผู้บริโภคทำให้สินค้าบางรายการขายดี แต่บางรายการตกแรง

สมวลี    ลิมป์รัชตามร    กรรมการผู้จัดการ บริษัท เดอะ นีลเส็น คอมปะนี (ประเทศไทย) จำกัด ฉายภาพดัชนีค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคในไตรมาส 2 อยู่ในภาวะติดลบกว่า 10% ตกต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบ 40-50 ปี ที่นีลเส็น ริเริ่มธุรกิจในไทย ทำลายสถิติการหดตัวที่รุนแรงสุดในอดีตคือตอนน้ำท่วมใหญ่ ทำให้ช่วงเดือนเม..-.. ปี 2554 ตลาดติดลบ 4.4%

สำหรับเหตุผลที่ตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคหดตัว ไม่เพียงเพราะโรคระบาด ทำให้เดือนมี.. ผู้บริโภคแห่ซื้อสินค้าตุนไว้จำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นเครื่องปรุงรส กระดาษชำระ ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ในครัวเรือนอื่นๆ เช่น น้ำยาล้างจาน ผลิตภัณฑ์ทำความอะอาดพื้น ข้าวสาร เป็นต้น 

นอกจากนี้ สินค้าที่ฉุดตลาดรวมค่อนข้างมาก คือสินค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากเป็นหมวดหมู่ใหญ่มีมูลค่าหลักแสนล้านบาทโดยที่ผ่านมาต้องหยุดขายในบางช่องทาง

ไตรมาส 2 ตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคติดลบ 10% มากสุดเป็นประวัติการณ์ แม้ภาพรวมอาจมีสินค้าที่การเติบโตติดลบจำนวนมาก แต่บางหมวดหรือแคทิกอรีสามารถฝ่าวิกฤติสร้างการเติบโตได้ 20-30%”

ส่วนแนวโน้มครึ่งปีหลัง การฟื้นตัวของตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคยังเป็นไปได้ยาก เพราะสภาวะเศรษฐกิจยังไม่ดี และสินค้าบางส่วนที่ผู้บริโภคยังสต็อกไว้ช่วงโควิดยังมีอยู่มาก จึงส่งผลต่อยอดขายสินค้าบางหมวด เช่น กระดาษชำระ เพราะช่วงโควิดเติบโตราว 40% ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ในครัวเรือน เป็นต้น และปัจจัยที่น่าเป็นห่วงภาวะหนี้ครัวเรือนของผู้บริโภคที่อยู่ในระดับสูงถึง 80% และยังมีแนวโน้มพุ่งขึ้นต่อเนื่อง จึงส่งผลต่อการจับจ่ายใช้สอยในการซื้อสินค้า

ในวิกฤติย่อมมีโอกาส ซึ่งนักการตลาดต้องมองให้เห็น ทั้งปีนี้ไทยเผชิญภัยแล้ง ผู้บริโภคอยู่บ้านมากขึ้น หรืออนาคตทำงานที่ออฟฟิศน้อยลง ทำงานที่บ้านถาวร แบรนด์ต้องอ่านเกมให้เฉียบขาด แหลมคม เพื่อนำเสนอสินค้าและบริการตอบโจทย์สถานการณ์ดังกล่าว 

นอกจากนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) คาดการณ์จำนวนผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วไปจะเพิ่มเป็น 9.7 ล้านราย จากปัจจุบันอยู่ระดับ 4.7 ล้านราย อัตราการเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวต้องประเมินว่าผู้บริโภคกลุ่มนี้ห่วงอะไร แบรนด์อาจต้องกลับมาผลักดันสินค้าแพ็คใหญ่เพื่อตอบโจทย์ให้ผู้บริโภครู้สึกถึงความคุ้มค่าอีกมุมอาจต้องผลิตสินค้าขนาดเล็ก หรือเป็นซองซาเช่อาจกลับมา เพราะเป็นการช่วยบริหารเงินสดในกระเป๋าของลูกค้า เพื่อให้สามารถจับจ่ายใช้สอยได้ทุกวัน ส่วนสินค้าเซ็กเมนต์พรีเมี่ยมจับกลุ่มเป้าหมายกำลังซื้อสูงยังคงขยายตัวได้

ตลาดสินค้าประหยัดหรืออีโคโนมีเติบขึ้นเท่าตัว ตอนนี้อยู่ที่แบรนด์แล้วจะทำแพ็คเกจจิ้งและราคาสินค้าแบบไหน

แม้กำลังซื้อผู้บริโภคจะมั่งคั่งหรือเงินน้อยลง แต่สิ่งที่มองหาเสมอคือ สินค้าคุณภาพ” แต่ตอนนี้เพิ่มมาคือสินค้าท้องถิ่นไทยมีบทบาท เปิดรับมากขึ้น เพราะกลุ่มเป้าหมายรู้ที่มาที่ไป การนำเทคโนโลยีมาเชื่อมการค้าขายสำคัญ เพราะผู้บริโภคหลังโควิด พฤติกรรมจะเปลี่ยนถาวร” ช้อป หาข้อมูลผ่านสื่อออนไลน์เพิ่มขึ้น ด้านการผลิตต้องนำเทคโนโลยีมาใช้เช่นกัน โดยเฉพาะยุคที่ผู้คนห่วงสุขภาพ กระบวนการผลิตสัมผัมเป็นศูนย์หรือ Zero touch เพิ่มความมั่นใจให้ลูกค้าในด้านความสะอาด สุขอนามัยได้

นอกจากนี้ การจำหน่ายสินค้าอาหารแห้ง อาหารสด(Grocery)ผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซ ซึ่งในไทยยังมีสัดส่วนน้อยเพียง 2% ของตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคโดยรวม ควรให้น้ำหนักมากขึ้นและแก้จุดอ่อนด้านการส่งสินค้าจากต้นจนจบต้องจัดการให้ดี เช่น เข้าเว็บไซต์ แล้วทำตลาดเจาะบุคคล ตบด้วยโปรโมชั่น คลิกดูสินค้าแล้วต้องตัดสินใจซื้อใน 3 คลิก ส่งสินค้าต้องตรวจสอบได้ รับสินค้าต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์ การมีสินค้าที่หลากหลาย(Product mix) จากปัจจุบันน้อยกว่าห้างค้าปลีก เป็นต้น

คาดการณ์กันมากถึงวิถีปกติใหม่ (New Normal) ในมุมผู้บริโภค สมวลี ย้ำว่า สามัญสำนึกของผู้บริโภคไม่เคยเปลี่ยน เพราะทุกคนต้องการให้ผู้ผลิตๆสินค้าคุณภาพ คุ้มค่าเงินที่จ่าย

อย่างไรก็ตาม ภาพรวมตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคปีนี้คาดว่าหดตัว 4-6% การฟื้นตัวกลับมาจะเห็นช่วงครึ่งปีหลัง 2564 จากฐานปีนี้ต่ำติดลบ

การที่สินค้าจำเป็นต่อการดำรงชีพหดตัวต่ำขนาดนี้ ค่อนข้างน่ากลัว