กรมศิลป์ เร่งฟื้นฟูลายบานประตูวิหารวัดหมื่นล้าน

กรมศิลป์ เร่งฟื้นฟูลายบานประตูวิหารวัดหมื่นล้าน

กรมศิลป์ เร่งฟื้นคืนสภาพลายบานประตูวิหารวัดหมื่นล้าน ให้คืนสภาพเดิมให้ได้มากที่สุด

นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า ตามที่มีข่าวกรณีวัดหมื่นล้านทาสีแดงลบลายบานประตูวิหารซึ่งบานประตูบริเวณอกเลามีการจารึกอักษรธรรมล้านนาว่า "พระพุทธศักราช 2460 แลจุลศักราช 1279 เดือน 7 ขึ้น 15 ค่ำวัน 4 ได้ฉลองหน้ามุกวิหารหลังนี้นิพพานปจฺจโยโหนตุโนนิจจํ" ปีพุทธศักราชที่ระบุในจารึกตรงกับสมัยรัชกาลที่ 6 หรือ 103 ปี มาแล้ววัดหมื่นล้านเป็นโบราณสถานที่ไม่ได้ประกาศขึ้นทะเบียนตามประวัติ ระบุว่าสร้างโดยหมื่นโลกสามล้านหรือหมื่นด้งนครผู้เป็นขุนศึกคู่พระทัยของพระเจ้าติโลกราชกษัตริย์ล้านนาราชวงศ์มังรายในปีมะเส็ง จุลศักราช 822 หรือตรงกับ พ.ศ. 2002 ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 มีบันทึกระบุว่าหลวงโยนะการพิจิตรซึ่งเป็นคหบดีได้สร้างขึ้นมาทดแทนของเดิมที่เสียหายช่วงปี จ.ศ. 1279 ตรงกับ พ.ศ.2460

วิหารวัดหมื่นล้านเป็นศิลปกรรมแบบล้านนาประยุกต์โดยมีการบูรณะซ่อมแซมต่อเติมมาหลายยุคหลายสมัยตามการใช้ประโยชน์ของอาคารซึ่งในส่วนของกรณีการทาสีทับลายรดน้ำบนบานประตูวิหารเป็นการซ่อมแซมบูรณะจากผู้มีจิตศรัทธาที่เข้ามาด้วยเจตนาดีแต่ขาดความเข้าใจในหลักการอนุรักษ์

อย่างไรก็ตามสำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ ได้ประสานกับทางวัดให้ระงับการดำเนินการซ่อมบูรณะทั้งหมดไว้ก่อนแล้วโดยในวันพุที่29กรกฎาคม2563กรมศิลปากรได้มอบให้สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ เข้าสำรวจเก็บข้อมูลโดยละเอียดเพื่อหารือร่วมกันในแนวทางการดำเนินการบูรณะที่เหมาะสมต่อไป โดยจะมอบให้ผู้เชี่ยวชาญจากกลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ฯ และกลุ่มอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังฯ กรมศิลปากรร่วมตรวจสอบ และหาวิธีการลอกสีที่ทาทับบานประตูนี้ออกเพื่อฟื้นคืนสภาพให้ได้มากที่สุดต่อไป

กรมศิลป์ เร่งฟื้นฟูลายบานประตูวิหารวัดหมื่นล้าน

กรมศิลป์ เร่งฟื้นฟูลายบานประตูวิหารวัดหมื่นล้าน

กรมศิลป์ เร่งฟื้นฟูลายบานประตูวิหารวัดหมื่นล้าน