‘โฮปเวลล์’ ย้อนรอยโครงการสวยหรู สู่วันที่รัฐต้องจ่ายค่าโง่ 2.5 หมื่นล้าน!

‘โฮปเวลล์’ ย้อนรอยโครงการสวยหรู สู่วันที่รัฐต้องจ่ายค่าโง่ 2.5 หมื่นล้าน!

ย้อนไทม์ไลน์โครงการแก้ปัญหาการจราจรติดขัดระดับชาติ "โฮปเวลล์" ที่ถูกพับโครงการไปเป็นระยะเวลานาน แต่เรื่องราวความขัดแย้งยังคงดำเนินอยู่จนถึงวันนี้กว่า 20 ปีแล้ว และที่สุดแล้วรัฐต้องจ่ายค่าโง่มูลค่าหลักหมื่นล้านบาท

โครงการก่อสร้างทางยกระดับเพื่อแก้ปัญหาการจราจรติดขัด ถือว่าเป็นเป็นอีกหนึ่งวาระแห่งชาติของไทย โดยโครงการที่กำลังเป็นที่ติดตามอยู่ในขณะนี้คือ โครงการระบบการขนส่งทางรถไฟและถนนยกระดับในเขตกรุงเทพมหานคร หรือที่หลายคนมักจะเรียกกันว่า โครงการโฮปเวลล์ เนื่องจากโครงการนี้เป็นโครงการสัมปทานที่มีการฝั่งของรัฐบาล และเอกชน หรือบริษัท โฮปเวลล์ โฮลดิงส์ (ฮ่องกง) จำกัด ที่ชนะการประมูลโครงการนี้ ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปี 2533 

จากภาพฝันวันนั้นดูสวยงาม ที่ประเทศไทยจะได้มีทางยกระดับเข้ามาช่วยลดปัญหารถติด วันนี้เหลือเพียงแต่ "ตอ" แนวเสาที่ทิ้งไว้ กลายเป็นซากปรักที่มีการเทงบหลักหมื่นๆ ล้านลงไป และจากการต่อสู้กันมาอย่างยาวนาน ในที่สุด เรื่องก็มาถึงวันที่ ศาลปกครองสูงสุดตัดสินให้รัฐต้องรับชดใช้ความเสียหาย จ่ายค่าโง่ให้เอกชนสูงถึง 2.5 หมื่นล้านบาท!

"กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" จะพาไปไล่เรียงไทม์ไลน์ของโครงการโฮปเวลล์ ดังนี้

  • 9 พฤศจิกายน 2533

พล..ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น และนายมนตรี พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ลงนามสัญญาสัมปทานก่อสร้างทางยกระดับเพื่อหวังแก้ไขปัญหาการจราจร ที่มีอายุสัมปทาน 30 ปี มูลค่า 8 หมื่นล้านบาท ระยะเวลาก่อสร้าง 8 ปี โดยรัฐบาลไม่ต้องจ่าย ซึ่งผู้ชนะการประมูลคือ บริษัท โฮปเวลล์ โฮลดิงส์ (ฮ่องกง) จำกัด

ทั้งนี้โครงการระบบการขนส่งทางรถไฟและถนนยกระดับในเขตกรุงเทพมหานคร หรือที่เรียกว่าโฮปเวลล์นั้น แบ่งเป็น 5 ช่วง คือ

ช่วงที่ 1 ยมราช-ดอนเมือง ระยะทาง 18.8 กิโลเมตร (กำหนดการก่อสร้างแล้วเสร็จปี 2538)

ช่วงที่ 2 ยมราช-หัวลำโพง-หัวหมาก และ มักกะสัน-แม่น้ำเจ้าพระยา ระยะทาง 18.5 กิโลเมตร (กำหนดการก่อสร้างแล้วเสร็จปี 2539)

ช่วงที่ 3 ดอนเมือง-รังสิต ระยะทาง 7 กิโลเมตร (กำหนดการก่อสร้างแล้วเสร็จปี 2540)

ช่วงที่ 4 หัวลำโพง-วงเวียนใหญ่ และยมราช-บางกอกน้อย ระยะทาง 6.7 กิโลเมตร (กำหนดการก่อสร้างแล้วเสร็จปี 2541)

ช่วงที่ 5 วงเวียนใหญ่-โพธินิมิตร และตลิ่งชัน-บางกอกน้อย ระยะทาง 9.1 กิโลเมตร (กำหนดการก่อสร้างแล้วเสร็จปี 2542)

  • 2534-2535

นายอานันท์ ปันยารชุน นายรัฐมนตรีในขณะนั้น และนายนุกูล ประจวบเหมาะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม สั่งตรวจสอบสัญญา สั่งเลิกโครงการ

  • 2535-2538

นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น และ ..วินัย สมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มีการผลักดันต่อ แต่ประสบปัญหาเงินทุนและแบบการก่อสร้าง เนื่องจากก่อสร้างไม่ได้มาตรฐานความปลอดภัยสากล

  • 2538-2539

นายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น และวันมูหะมัดนอร์ มะทา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเร่งรัดก่อสร้างให้ยืนยันผู้รับเหมาและแหล่งเงินทุน แต่ไม่คืบหน้า

  • 2539-2540

ในยุคพล..ชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรี และนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โฮปเวลล์หยุดก่อสร้าง เห็นชอบให้ยกเลิกสัญญา

  • 8 พฤศจิกายน 2551

คำวินิจฉัยคณะอนุญาโตตุลาการให้กระทรวงคมนาคม และ ... ชำระเงินให้โฮปเวลล์ 11,888 ล้านบาท

  • 13 มี..2557

คำพิพากษาศาลปกครองกลางให้เพิกถอนคำวินิจฉัยคณะอนุญาโตตุลาการ

  • 1 เมษายน 2557

โฮปเวลล์ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด

  • 20 มกราคม 2541

นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ครม.มีมติเลิกสัญญา หลังก่อสร้าง 7 ปี คืบหน้า 13.7% โฮปเวลล์ฟ้องเรียกค่าเสียหาย 5.6 หมื่นล้านบาท ...ฟ้องเรียกค่าเสียหาย 2 แสนล้านบาท

  • 30 กันยายน 2551

วันที่อนุญาโตตุลาการชี้ขาด

  • 21 มีนาคม 2562

ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ที่ให้ผู้ร้องทั้ง 2 คือ กระทรวงคมนาคม และ ... คืนเงินค่าตอบแทนที่ผู้คัดค้านชำระและใช้เงินในการก่อสร้างโครงการ พร้อมดอกเบี้ยให้บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด

  • 22 เมษายน 2562

คำพิพากษาของศาลปกครองสุงสุด ได้มีการประเมินวงเงินที่ ... ต้องจ่ายรวมดอกเบี้ยตามคำพิพากษาตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2551 ซึ่งเป็นวันที่อนุญาโตตุลาการชี้ขาด ถึงสิ้นเดือนเมษายน 2562 วงเงินรวม 25,411 ล้านบาท โดยประกอบด้วย

1.ค่าก่อสร้างรวม 16,130 ล้านบาท แบ่งเป็น เงินต้น 9,000 ล้านบาท และดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่อนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาด 7,130 ล้านบาท

2.ค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์ที่ดิน 8,728 ล้านบาท แบ่งเป็น เงินต้น 2,850 ล้านบาท และดอกเบี้ยตั้งแต่วันบอกเลิกสัญญา 5,878 ล้านบาท

3.ค่าธรรมเนียมการออกหนังสือค้ำประกัน 53.28 ล้านบาท แบ่งเป็น เงินต้น 38.75 ล้านบาท และดอกเบี้ย 14.53 ล้านบาท

4.หนังสือค้ำประกัน 500 ล้านบาท

5.ค่าธรรมเนียมศาลอุทธรณ์ 16.53 ล้านบาท

  • 18 กรกฎาคม 2562

กระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทย (...) ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลาง ขอให้ศาลพิจารณาคดีใหม่ โดยอ้างว่าศาลปกครองสูงสุดรับฟังข้อเท็จจริงผิดพลาด และมีพยานหลักฐานใหม่ที่ทำให้ข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงไป

ซึ่งศาลปกครองชั้นต้นพิเคราะห์แล้วว่า ประเด็นที่ผู้ร้องทั้ง 2 โต้แย้งเกี่ยวกับระยะเวลาการใช้สิทธิเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ และการกลับคืนสู่ฐานะเดิมของผู้ร้องทั้ง 2 และผู้คัดค้าน มีลักษณะเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการพิพากษาคดีและผลของคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด

รวมทั้งผู้ร้องทั้ง 2 โต้แย้งเรื่องความสามารถของผู้คัดค้านในขณะเข้าทำสัญญานั้น เป็นประเด็นที่ผู้ร้องมิเคยโต้แย้งมาก่อนทั้งในศาลปกครองชั้นต้นและศาลปกครองสูงสุด ซึ่งไม่อาจถือได้ว่าผู้ร้องทั้ง 2 ไม่ทราบถึงเหตุนั้นในการพิจารณา จึงถือมิได้ว่าเป็นพยานหลักฐานใหม่ ที่ทำให้ข้อเท็จจริงที่ฟังยุติแล้วเปลี่ยนแปลง ในสาระสำคัญ

และการที่ผู้ร้องอ้างว่ามีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 143/2562 เรื่องแต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบและรวบรวมพยานหลักฐานกรณีโฮปเวลล์ลงวันที่ 20 มิ..2562 ซึ่งเอกสารฉบับดังกล่าวผู้ร้อง มิได้แสดงต่อศาลแต่อย่างใด จึงมีคำสั่งไม่รับคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ไว้พิจารณา ผู้ร้องทั้ง 2 จึงยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด

  • 17 มิถุนายน 2563

...ได้ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลาง เพื่อขอให้ตรวจสอบการจดทะเบียนของบริษัท โฮปเวลล์ฯ โดยยื่นฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้นายทะเบียน คือ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ดำเนินการเพิกถอนการจดทะเบียนย้อนหลังของโฮปเวลล์ โดยขอให้เพิกถอนตั้งแต่ปี 2553 ที่มีการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท

ทั้งนี้เนื่องจากตรวจสอบพบโฮปเวลล์ขาดคุณสมบัติตามกฎหมาย โดยจดทะเบียนมีนิติบุคคลต่างชาติเป็นเจ้าของกิจการขัดกฎหมายของไทยขณะนั้น ซึ่งหากศาลมีคำสั่งให้กระทรวงพาณิชย์เพิกถอนการจดทะเบียนจะทำให้สัญญา ระหว่าง ... กระทรวงคมนาคม และโฮปเวลล์ เป็นโมฆะทันที และการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจะไม่เป็นผล โดยขณะนี้รอศาลนัดการไต่สวนคดี

  • 22 กรกฎาคม 2563

ศาลปกครองสูงสุด อ่านคำสั่งคดีหมายเลขดำที่ 107/2552, 2038/2551, 1379/2552 คดีหมายเลขแดงที่ 336-368/2557 ระหว่างผู้ร้อง คือ กระทรวงคมนาคม การรถไฟแห่งประเทศไทย (...) กับบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้คัดค้านคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ โดยศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งยืนตามศาลปกครองชั้นต้นไม่รับคำขอพิจารณาคดีใหม่ไว้พิจารณา

ทำให้รัฐต้องดำเนินการตามคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการตามที่ศาลปกครองมีคำสั่งเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2562 โดยรัฐต้องจ่ายเงินชดเชยให้บริษัท โฮปเวลล์ฯ เป็นจำนวนเงิน 11,888 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5% ภายใน 180 วัน นับจากที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่ง ซึ่ง ...ประเมินมูลหนี้รวมตามคำพิพากษา ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2551 ถึงสิ้นเดือนเมษายน 2562 วงเงินรวม 25,411 ล้านบาท