5 เหตุผลที่ 'ภูเขาไฟ' ระเบิด เชื่อมโยงกับ 'โลกร้อน'

5 เหตุผลที่ 'ภูเขาไฟ' ระเบิด เชื่อมโยงกับ 'โลกร้อน'

เชื่อไหมว่า "ภูเขาไฟ" กับ "โลกร้อน" มีความเชื่อมโยง และส่งผลกระทบถึงคนเรามากกว่าที่คิด กระทั่งมีการเชื่อมโยงถึงว่า เถ้าถ่านที่ออกมาจากการปะทุของภูเขาไฟนั้น เป็นตัวกระตุ้นหลักให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในปัจจุบัน?

ตลอดเวลาที่ผ่านมามีตำนานมากมายเล่าขานเกี่ยวกับภูเขาไฟ ทั้งในแง่ของเรื่องเล่าปรำปรา และข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ กระทั่งการเชื่อมโยงปฏิกิริยาเกี่ยวกับภูเขาไฟกับปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในปัจจุบัน 

โดยเฉพาะ คำกล่าวอ้างที่ว่า "เถ้าถ่านที่ออกมาจากการปะทุของภูเขาไฟนั้น เป็นตัวกระตุ้นหลักให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในปัจจุบัน" ที่มีการพิสูจน์ข้อเท็จจริงกันมาแล้วว่า ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด 

อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่า อิทธิพลของภูเขาไฟที่มีต่อโลกของเรา หรือผู้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่แถบนั้นจะไม่มีอะไรสลักสำคัญ เพราะ นี่คือ 5 เหตุผลที่ทำให้เรื่องภาวะโลกร้อน กับภูเขาไฟ เชื่อมโยงถึงกันอย่างแยกไม่ออก 

1. ในประวัติศาสตร์โลก มีความเชื่อมโยงมากมายระหว่างภาวะโลกร้อนกับภูเขาไฟ ทั้งเรื่องของพื้นที่วงแหวนแห่งไฟบนมหาสมุทรแปซิฟิก ที่มีผลการศึกษาตีพิมพ์ในวารสารสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐ เมื่อเดือนกันยายน 2560 พบว่า การลดขนาดลงของธารน้ำแข็งในทวีปแอนตาร์กติกา (ขั้วโลกใต้) ในช่วง? 17,700 ปีที่ผ่านมา เชื่อมโยงกับการระเบิดของภูเขาไฟหลายครั้งในช่วงระยะเวลา 200 ปี

159558303484

2. ภูเขาไฟทำให้เกิดภาวะโลกร้อนในระยะยาว และทำให้โลกเย็นลงในระยะสั้น โดยสำนักสำรวจธรณีวิทยาของสหรัฐ (ยูเอสจีเอส) ระบุว่า เมื่อภูเขาไฟระเบิด มันจะพ่นเถ้าถ่านและละอองขนาดเล็กขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ สิ่งเหล่านี้สามารถทำให้โลกเย็นลงได้ เพราะอนุภาคที่ถูกปล่อยออกมาคือก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ที่จะสร้างละอองขนาดเล็กสะท้อนรังสีดวงอาทิตย์ออกจากโลก อุณหภูมิโลกลดลง แต่ก็ไม่ช่วยเราให้รอดพ้นจากภาวะโลกร้อนที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์

3. ภูเขาไฟกระตุ้นความเปลี่ยนแปลงใหญ่ในระยะสั้นต่อสภาพอากาศในอดีต ศาสตราจารย์มังกา ระบุว่า การปะทุของภูเขาไฟในอดีตระดับที่ไม่เคยปรากฏในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมากต่อโลก รวมไปถึงการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต และการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโลกจากการประทุของภูเขาไฟ

4. การพยากรณ์สภาพอากาศ ไม่ควรมองข้ามปัจจัยภูเขาไฟ เพราะการปะทุบางส่วน ทำให้การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลกแปรปรวนมากขึ้น แต่เนื่องจากผลกระทบจากภูเขาไฟปะทุเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว จึงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงไปจนกระทั่งลดผลกระทบภาวะโลกร้อนจากก๊าซเรือนกระจกในศตวรรษหน้าได้

5. คำกล่าวอ้างว่าภูเขาไฟเป็นตัวกระตุ้นหลักของภาวะโลกร้อน "ไม่จริง" โดยยูเอสจีเอสระบุว่า ภูเขาไฟปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์คิดเป็นไม่ถึง 1% ของก๊าซคาร์บอนที่เกิดจากมนุษย์ และเคยมีการบันทึกไว้ว่า การระเบิดของภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์ในรัฐวอชิงตันเมื่อปี? 2523 ส่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 10 ล้านตันสู่ชั้นบรรยากาศ แต่ 10 ล้านตันนั้นเทียบเท่ากับกิจกรรมมนุษย์ที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกไปในเวลาเพียง 2 ชั่วโมงครึ่งเท่านั้น!

159558365065

159558366198