'การ์ทเนอร์' ชี้ 'คลาวด์' ไทยโตแรง มูลค่าพุ่ง ‘2.2หมื่นล.' ปี 64 

'การ์ทเนอร์' ชี้ 'คลาวด์' ไทยโตแรง มูลค่าพุ่ง ‘2.2หมื่นล.' ปี 64 

การใช้จ่ายคลาวด์ได้รับการคาดการณ์ว่าจะเติบโตอย่างรวดเร็วในหลายภูมิภาค

ขณะที่ ซอฟต์แวร์ แอส อะ เซอร์วิส (SaaS) ยังถือเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่สุด และคาดการณ์ว่าจะเติบโตแตะระดับ 104.7 พันล้านดอลลาร์ ภายในปี 2563 เป็นผลมาจากการเปลี่ยนรูปแบบการใช้ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์แบบติดตั้งที่เครื่อง (on-premises) มาเป็นแบบเช่าใช้ (subcribtion based) บวกกับความต้องการซอฟต์แวร์ใหม่ๆ ช่วงโควิด-19 เพื่อใช้ทำงานร่วมกัน ซึ่งได้ช่วยผลักดันให้ตลาด SaaS เติบโตไปด้วย  

สำหรับตลาดใหญ่รองลงมา คือ อินฟราสตรัคเจอร์ แอส อะ เซอร์วิส (IaaS) ซึ่งคาดว่าจะเติบโตราว 13.4% หรือคิดเป็นมูลค่าราว 50.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2563 ซึ่งเป็นผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ที่กำลังกระตุ้นให้องค์กรเร่งขยับตัวออกจากรูปแบบการดำเนินงานผ่านโครงสร้างพื้นฐานแบบเก่า

คลาวด์โตแรงจากกิจกรรมศก.ฟื้น

บริการคลาวด์สาธารณะเปรียบเสมือนแสงสว่าง หรือโอกาสการใช้จ่ายไอทีปี 2563 การใช้จ่ายคลาวด์ได้รับการคาดการณ์ว่าจะเติบโตอย่างรวดเร็วในหลายภูมิภาค เนื่องจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและกิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาดำเนินในแบบปกติมากขึ้นในหลากหลายภูมิภาค เช่น อเมริกาตอนเหนือที่คาดว่าจะมีการใช้จ่ายด้านคลาวด์ที่สูงขึ้นในปี 2565

“การใช้บริการคลาวด์สาธารณะช่วงการระบาดของโควิด-19 ช่วยสร้างความได้เปรียบสองประการแก่เหล่าผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ (หรือ ซีไอโอ) นั่นคือ สเกลต้นทุนตามการใช้งานจริงและยืดระยะเวลาการใช้จ่ายได้ ซีไอโอสามารถลงทุนล่วงหน้าโดยใช้เงินสดน้อยลงได้อย่างมีนัยสำคัญโดยเพิ่มศักยภาพให้กับเทคโนโลยีคลาวด์แทนการเพิ่มขนาดความจุของดาต้าเซ็นเตอร์แบบ on premises หรือการใช้ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ในแบบดั้งเดิม” นายซิด กล่าว

อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารการ์ทเนอร์ ระบุว่า การถกเถียงกันในเรื่องประโยชน์ของคลาวด์สาธารณะได้จบลงตั้งแต่การระบาดโควิด-19 ช่วงครึ่งปีหลังนี้องค์กรที่ให้พนักงานทำงานผ่านระบบทางไกลจะให้ความสำคัญกับซอฟต์แวร์การทำงานร่วมกัน การจัดการอุปกรณ์มือถือ โซลูชั่นการศึกษาผ่านระบบทางไกลและระบบความปลอดภัย เช่นเดียวกับเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับปริมาณการทำงานผ่านคลาวด์ที่จะเพิ่มขึ้น