การพัฒนา 'ที่อยู่อาศัย' รับโควิด-19

การพัฒนา 'ที่อยู่อาศัย' รับโควิด-19

เปิด "3 Mega Trend" ในวิถีชีวิตปกติใหม่ New Normal สำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะเป็นอย่างไรบ้าง? ดีเวลลอปเปอร์ต้องปรับหรือเปลี่ยนมากน้อยแค่ไหน?

ต้องยอมรับว่าการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตทุกอย่างแบบพลิกผันและรวดเร็ว ซึ่งเป็นสัญญาณที่ย้ำให้ตระหนักว่า เพียงวันรุ่งขึ้น ชีวิตหลังจากนี้อาจมีเหตุและปัจจัยอื่นๆ ที่อยู่ๆ ก็เข้ามาจู่โจมและ disrupt ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเราได้ตลอดเวลา

ทั่วโลกต่างศึกษาว่าควรปรับตัวเพื่อรับ วิถีชีวิตปกติใหม่” หรือ New Normal กันอย่างไร ในส่วนของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ก็จำเป็นต้องมองทุกเหตุปัจจัยรอบด้านที่จะกระทบการอยู่อาศัย พฤติกรรม และความต้องการของคนที่เปลี่ยนไป ทั้งในเรื่อง...

1.การให้ความสำคัญกับสุขภาพและสุขอนามัยมากขึ้น 2.การซื้อของบน Online Platform ที่มีแนวโน้มที่จะมากขึ้นเรื่อยๆ 3.ความต้องการที่อยู่อาศัยที่มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่ตอบโจทย์การทำงานที่บ้าน (Work from Home) 4.รูปแบบการทำงานที่ต้องการความยืดหยุ่น ทั้งสถานที่ เวลา การนำเสนอหรือประชุมผ่านออนไลน์ ซึ่งทุกสิ่งที่กล่าวมาต้องนำไปสู่ 

และ 5.การใช้ชีวิตที่ Work-life Balance ภายใต้งบในการซื้อที่อยู่อาศัยที่สามารถเข้าถึงได้ด้วย (Affordable Price) นับเป็นโจทย์ที่ยากและต้องมองในระยะยาวว่าการใช้ชีวิตหลังจากนี้จะมีเหตุให้ต้องเปลี่ยนแปลงอย่างไรอีกหรือไม่ และต้องครอบคลุมในเรื่องอะไรบ้าง

จากการศึกษาของ LPN มองว่าเทรนด์ที่เป็นที่ต้องการที่อยู่อาศัยในช่วงนี้ (จนกว่าเราจะหาทางรับมือกับเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้) จึงประกอบด้วย 3 Mega-Trend ในวิถีชีวิตปกติใหม่ ได้แก่

1.Better Wellness Living ได้แก่ การมีสุขอนามัยและความเป็นอยู่ที่ดี ทั้งกายและใจ

2.Better Balance Lifestyle คือความต้องการมีชีวิตที่ดีขึ้น โดยคำนึงถึงการใช้ชีวิตและการทำงานอย่างสมดุล เช่น มีพื้นที่ใช้สอยที่มากขึ้น พร้อมปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา รองรับความต้องการได้ทันที

3. Better Virtual Livable Community เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิต การอยู่อาศัยร่วมกันแบบพึ่งพา

ซึ่ง 3 Mega-Trend ดังกล่าว ต้องการปัจจัยที่จะมาตอบโจทย์ อธิบายเป็นคีย์เวิร์ดสั้นๆ ได้คือ 1.Touchless การสัมผัสที่น้อยที่สุด เพื่อตอบความต้องการด้านสุขภาวะและสุขภาพกายที่ดี 2.Affordless ด้วยฟังก์ชั่นที่พร้อมปรับเปลี่ยนรับทุกสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ซึ่งจะนำไปสู่ 3.Worryless ความมีสุขภาพใจที่ดี ไร้กังวล ที่นับเป็นเรื่องสำคัญที่สุด นำมาซึ่งความอบอุ่น ปลอดภัย ไม่ว่าจะต้องพบกับวิกฤติอะไรอีกก็ตามในอนาคต

  • Better Wellness Living ได้แก่

Health & Hygiene : การดูแลพื้นที่ในชุมชนโดยคำนึงถึงสุขอนามัย และสร้างเสริมสุขภาวะที่ดีให้แก่ชุมชนและผู้อยู่อาศัย

Waste Management ด้วยปริมาณขยะ และประเภทขยะที่เพิ่มขึ้น เช่น หน้ากากอนามัยที่จำเป็นต้องใช้และเปลี่ยนใหม่ทุกครั้ง ซึ่งก่อให้เกิดขยะอันตราย จึงต้องการการบริหารจัดการขยะในชุมชนที่มีประสิทธิภาพและครอบคลุมมากกว่าเดิม

Clean and Care การดูแลเรื่องความสะอาดแบบ Deep Cleaning โดยคำนึงถึงสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อมที่ดี

  • Better Balance Lifestyle มีแนวคิดหลักมาจากการสร้างระยะห่าง ทั้งในสังคม และระหว่างบุคคล (Social and Physical Distancing) ที่ทำให้มุมมองและความต้องการของผู้บริโภคต่อที่อยู่อาศัยเปลี่ยนไป โดยเริ่มให้ความสำคัญกับ 3 ประเด็นหลัก ได้แก่

⁃ Privacy การออกแบบที่อยู่อาศัยให้มีความเป็นส่วนตัว ภายใต้แนวคิด Co-Seperate Space รองรับ Work from Home โดยพัฒนาทั้งส่วนที่อยู่อาศัยและพื้นที่ส่วนกลางให้มีความเป็นส่วนตัว แบบเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล (Physical Distancing)

⁃ Multifunction ออกแบบที่อยู่อาศัยให้สามารถปรับเปลี่ยนฟังก์ชั่นการใช้งานได้หลากหลายตามความต้องการ

⁃ Work and Life Balance การออกแบบพื้นที่ที่อยู่อาศัยและพื้นที่ส่วนกลางให้สามารถตอบโจทย์สมดุลการใช้ชีวิตและการทำงานในรูปแบบของ Anything, Anytime and Anywhere

  • Better Virtual Livable Community ได้แก่

⁃ Cashless Society การใช้เทคโนโลยีสังคมไร้เงินสด Platform ที่ใช้จึงต้องพร้อมรองรับทุก Transaction ได้ มีความปลอดภัยสูงสุด (User Friendly) ซึ่งต้องมองในทุกมุมของบริการต่างๆหลังลูกค้าเข้าอยู่อาศัยแล้ว

⁃ Work Live Learn and Play ด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อสร้างสมดุลการใช้ชีวิต การทำงาน การเรียนรู้ และการพักผ่อน ได้อย่างสมบูรณ์ภายในพื้นที่เดียวกัน

⁃ Touchless พัฒนาระบบไร้สัมผัส ที่รองรับกับระบบรักษาความปลอดภัย เพื่อลดการสัมผัสร่วมกับผู้อื่น

อย่างไรก็ตาม ด้วยการนำเทคโนโลยีต่างๆมาใช้ในการพัฒนาที่อยู่อาศัยให้ตอบโจทย์ในทุกด้าน นับเป็นต้นทุนที่สูงขึ้นและอาจส่งผลกระทบต่อราคาที่ผู้บริโภคต้องรับภาระ การบริหารจัดการต้นทุนเพื่อให้สามารถเข้าถึงได้ (Affordable House) จึงเป็นสิ่งที่ต้องเร่งศึกษา เพื่อ “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” หรือ “Leave no one behind” เพื่อสร้างโอกาสในการมีบ้านให้แก่ทุกคนในสังคม นำมาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดี ไร้กังวลใดๆ