Selective Buy

Selective Buy

คาด SET อ่อนตัวทดสอบ 1,340 จุดก่อนจะสลับดีดตัว เนื่องจากขาดปัจจัยใหม่กระตุ้นการลงทุน

ตลาดหุ้นวานนี้

SET Index ลดลง 6 จุด (-0.48%) ปิดที่ระดับ 1,348 จุด มูลค่าการซื้อขาย 4.78 หมื่นล้านบาท ดัชนีปรับลงในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นต่างประเทศตามความตึงเครียดระหว่างจีนกับสหรัฐหลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ลงนามบังคับใช้กฎหมายคว่ำบาตรจีนและลงนามในคำสั่งของฝ่ายบริหารเพื่อยุติการให้สถานะพิเศษแก่ฮ่องกง ขณะที่จีนประกาศจะใช้มาตรการคว่ำบาตรเพื่อตอบโต้องค์กรและบุคลากรของสหรัฐเช่นกัน ส่วนนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 1,979  ล้านบาท  แต่ Net Long TFEX 2,039 สัญญา และซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตร 3,566 ล้านบาท

แนวโน้มตลาดหุ้นวันนี้     

เรามีมุมมองเป็นกลาง-ลบคาด SET อ่อนตัวทดสอบ 1,340 จุดก่อนจะสลับดีดตัว เนื่องจากขาดปัจจัยใหม่กระตุ้นการลงทุน นอกจากนี้ยังมีแรงกดดันจากสถานการณ์ตึงเครียดระหว่างสหรัฐและจีน หลังสหรัฐจำกัดการออกวีซ่าให้กับพนักงานของบริษัทด้านเทคโนโลยีของจีนโดยอ้างเหตุผลว่าบริษัทเหล่านี้มีส่วนสนับสนุนรัฐบาลจีนในการละเมิดสิทธิมนุษยชน ประกอบกับตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของสหรัฐยังอยู่ในระดับที่สูงกว่า 1 ล้านรายซึ่งเป็นแรงกดดันต่อดัชนี อย่างไรก็ตามคาดว่าจะมีแรงซื้อเก็งกำไรในกลุ่มที่มีข่าวเฉพาะตัวรวมถึงกลุ่มที่คาดการณ์งบ 2Q20 เติบโตเข้ามาช่วยหนุนให้ดัชนีสลับดีดตัวขึ้น

** ติดตามการประกาศงบ 2Q20 ของกลุ่มธนาคารและไฟแนนท์ที่คาดว่าจะลดลงทั้ง QoQ และ YoY

กลยุทธ์การลงทุน: Selective Buy

  • กลุ่มอาหาร (TU CPF GFPT TFG ASIAN) และ กลุ่มอิเล็ค (KCE DELTA HANA SVI) ได้อานิสงส์เงินบาทอ่อนค่าลง
  • กลุ่มที่คาดว่างบ 2Q20 จะเติบโตขึ้น  (TOP PTTGC SPRC SCC BGRIM CKP CPF TU TASCO STA STGT SPALI PRM PTL AJ STARK CBG TQM)

หุ้นแนะนำวันนี้

  • TU (ปิด 13.9 ซื้อ/เป้า 15.3) ได้ Sentiment บวกจากค่าเงินบาทที่เริ่มอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐและเงินยูโร ขณะที่แนวโน้มผลประกอบการ 2Q20 คาดมีกำไรสุทธิ 1.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 32%qoq (ดีกว่าที่เคยคาดไว้ก่อนหน้าที่ 900-1000 ล้านบาท) นอกจากนี้ราคายังมี downside จำกัด เพราะมี P/E ต่ำเพียง 13 เท่า คิดเป็น -2SD
  • PTTGC (ปิด 47 ซื้อ/เป้า 50) ผลประกอบการผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว, คลาย lockdown ช่วยเพิ่มดีมานด์ทั้งฝั่งปิโตรฯและโรงกลั่น และยังได้เปรียบต้นทุนเพราะ PTTGC ใช้ก๊าซเป็นวัตถุดิบราคาจะปรับขึ้นช้ากว่าคู่แข่งที่ใช้นาฟทาซึ่งราคาจะปรับขึ้นตามราคาน้ำมันทันที

บทวิเคราะห์วันนี้

TTW (ปิด 13.3 ซื้อ/เป้า 16.3)

ประเด็นสำคัญวันนี้

  • (-) ดาวโจนส์ปิดลบ 135 จุด ผิดหวังตัวเลขในตลาดแรงงาน และ กังวลความสัมพันธ์จีนสหรัฐตึงเครียดมากขึ้น : ดัชนีดาวโจนส์ลดลง 135 จุด (-0.5%) ปิดที่ระดับ 26,734 จุด จาก 3 ปัจจัยลบ คือ 1) กังความตึงเครียดจีนกับสหรัฐ หลังจากทั้ง 2 ประเทศยังเดินหน้าตอบโต้กันในเชิงนโยบาย โดยล่าสุดรัฐบาลสหรัฐได้จำกัดการออกวีซ่าให้กับพนักงานของบริษัทด้านเทคโนโลยีของจีน ซึ่งรวมถึงพนักงานของบริษัทหัวเว่ย เทคโนโลยี่ โดยอ้างเหตุผลว่าบริษัทเหล่านั้นมีส่วนสนับสนุนรัฐบาลจีนในการละเมิดสิทธิมนุษยชน, 2) ผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานรายสัปดาห์เพิ่มขึ้น 1.3 ล้านคน มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ 1.25 ล้านคน และ 3)กังวลจำนวนผู้ติดเชื้อ Covid-19 ที่เพิ่มขึ้นจะกดดันให้อีกหลายรัฐกลับมาประกาศใช้มาตรการ lockdown บางส่วนคล้ายกับรัฐแคริฟอร์เนีย
  • (+) ECB คงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 0% และวงเงิน QE ตามเดิม และวันนี้ติดตาม EU จัดตั้งกองทุนฟื้นฟูเศรษฐกิจมูลค่า 7.5 แสนล้านยูโร : วานนี้ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินยุโรป (ECB) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย หรืออัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ที่ระดับ 0% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ และคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ฝากไว้กับ ECB ที่ระดับ -0.50% ขณะที่คงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ระดับ 0.25% นอกจากนี้ ECB มีมติคงวงเงินในการซื้อพันธบัตรตามโครงการ Pandemic Emergency Purchase Program (PEPP) ที่ระดับ 1.35 ล้านล้านยูโร โดยจะซื้อพันธบัตรตามโครงการดังกล่าวจนถึงเดือนมิ.ย.2564 ขณะที่วันนี้ติดตามการประชุมของกลุ่มผู้นำ 27 ชาติสมาชิกยุโรป (EU) เพื่อจัดตั้งกองทุนฟื้นฟูเศรษฐกิจมูลค่า 7.5 แสนล้านยูโร หากสำเร็จจะช่วยหนุนบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นยุโรปในช่วงบ่ายและเย็นวันนี้
  • (+/-) ติดตามการประชกาศงบของกลุ่มธนาคารใน วันนี้และต้นสัปดาห์หน้าคาดภาพรวมออกมาหดตัวทั้ง qoq และ yoy (แนะติดตามแนวโน้ม NPLs) : ในวันนี้และต้นสัปดาห์ผู้ประกอบการกลุ่มธนาคารจะทยอยประกาศงบ 2Q20 เริ่มจากวันนี้ KTC และ TISCO ขณะที่สัปดาห์หน้า BBL KBANK KKP SCB และ TMB ประกาศงบในวันที่ 20 ก.ค. ส่วน KTB ประกาศงบวันที่ 21 ก.ค. เบื้องต้นเราคาดภาพรวมกำไรสุทธิของกลุ่มธนาคารจะออกมาหดตัวทั้ง QoQ และ YoY จากสินเชื่อที่ชะลอตัว NIM ลดลงจากดอกเบี้ยขาลง รายได้ค่าธรรมเนียมลดลง และสิ่งที่ต้องติดตามคือแนวโน้ม NPLs ว่าจะเร่งตัวมากขึ้นอย่างที่ตลาดกังวลกันหรือไม่ ปัจจัยนี้เรายังเชื่อว่าราคาหุ้นในกลุ่มธนาคารจะยังถูกกดดันต่อไป